สังเกตตัวเองให้ดี!! ปัสสาวะเป็นฟอง อันตราย แพทย์แนะวิธีเลี่ยง อย่าชะล่าใจเด็ดขาด!!
advertisement
เวลาเข้าห้องน้ำขับถ่าย เราต้องหมั่นสังเกต สีหรือกลิ่นของปัสสาวะกันด้วยนะคะ ถ้าหากว่ามีความผิดปกติแตกต่างไปจากเดิมก็ระวังและอย่าชะล่าใจเป็นอันขาด โดยวันนี้ ไข่เจียวมีเรื่องราวดีๆที่อยากแชร์มาใช้ทุกท่านได้อ่านกัน
การปัสสาวะเป็นฟอง นั้นแตกต่างจากน้ำปัสสาวะปกติที่จะมีสีเหลืองฟางข้าวค่ะ สาเหตุในเบื้องต้นนั้น อาจเกิดขึ้นจากภาวะที่ร่างกายขาดน้ำเพียงเล็กน้อย หรือจากน้ำปัสสาวะที่มีอยู่เต็มกระเพาะปัสสาวะถูกขับอย่างแรงออกมาชนน้ำ หรือพื้นผิวของโถชักโครกจนเกิดเป็นฟอง หรืออาจเป็นผลจากการขับโปรตีนและผลึกหรือตะกอนในปัสสาวะจำนวนมากออกมาด้วย โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำปัสสาวะเกิดการเปลี่ยนลักษณะและสีมีอยู่หลากหลาย ทั้งการใช้ยา อาหารที่รับประทาน รวมถึงโรคต่าง ๆ เป็นต้น
advertisement
ปัสสาวะเป็นฟองอาจมีสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
– การขับปัสสาวะอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำปัสสาวะตกสู่น้ำในชักโครก แรงกระแทกอาจทำให้เกิดเป็นฟองขึ้น จากสาเหตุนี้ น้ำปัสสาวะที่เป็นฟองมักอยู่ได้ไม่นาน ก่อนจะกลับกลายไปเป็นน้ำปัสสาวะปกติดั่งเดิม และไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด [ads]
– ปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอจนเกิดภาวะขาดน้ำ
– ภาวะโปรตีนมากเกินไปในปัสสาวะ เกิดจากภาวะไข่ขาวในปัสสาวะ ที่มักพบในโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รวมถึงการใช้ยาบางชนิด ภาวะบาดเจ็บ การได้รับสารพิษ การติดเชื้อ หรือการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ทั้งนี้ภาวะไข่ขาวในปัสสาวะเกิดจากความเสียหายที่ไต ส่งผลให้โปรตีนแอลบูมิน ที่สร้างปฏิกริยาให้น้ำปัสสาวะกลายเป็นฟองเมื่อถูกอากาศ ถูกกรองผ่านไตออกมาในปัสสาวะด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วไตจะทำหน้าที่กรองของเสียและของเหลวส่วนเกินเพียงเท่านั้น
– การหลั่งอสุจิย้อนทาง เป็นการหลั่งน้ำอสุจิไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะของผู้ชาย แทนที่จะถูกปล่อยออกมาจากอวัยวะเพศ โดยอาจเกิดจากโรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโต การใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการบาดเจ็บของเส้นประสาทจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และการผ่าตัดรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่ท่อปัสสาวะหรือต่อมลูกหมาก
– ยาบรรเทาอาการปวดโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ เช่น ยาฟีนาโซไพริดีน เป็นต้น [ads2]
– นอกจากนี้ อาการที่อาจขึ้นร่วมกับปัสสาวะเป็นฟองนั้นได้แก่ มือเท้า ท้อง และใบหน้าบวม ปัสสาวะมีสีขุ่น คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ และรู้สึกเบื่ออาหาร เป็นต้น
รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในว่า จากข้อมูลสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่า คนไทยเป็นโรคไตมากถึงร้อยละ 17 หรือประมาณ 10 ล้านคน จำนวนนี้เป็นผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรัง จำเป็นต้องฟอกเลือด ล้างไตผ่านช่องท้องมากถึงร้อยละ 5 หรือราว 1-2 แสนคน
advertisement
สาเหตุเกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากที่สุดประมาณ 60-70% นอกจากนี้ เกิดจากโรคไตอักเสบ และโรคนิ่ว เป็นต้น แต่ที่น่ากังวลคือร้อยละ 5-10 นั้น เกิดจากการกินอาหารเสริม ยา และยาบำรุงต่าง ๆ มากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่ายิ่งกินยิ่งดีต่อสุขภาพ แต่จริง ๆ แล้วมีผลต่อไตด้วย ทำให้ไตเสื่อมด้วย
วิธีการสังเกตอาการโรคไตนั้น รศ. นพ. เกรียงศักดิ์ ได้กล่าวว่า วิธีที่ง่ายที่สุดและได้ผลชัดเจนที่สุดคือ การเจาะเลือดตรวจ โดยเฉพาะคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเช็กสภาพของไต แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ขอให้รีบไปพบแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไตคือ ใบหน้าบวมหลังตื่นนอน ปัสสวะมีฟอง ปัสสาวะบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน เป็นต้น [ads3]
นอกจากนี้ ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า ยาที่มีผลกระทบต่อโรคไตโดยตรงคือ
– ยาแก้ปวดข้อ เช่น ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ หรือยากลุ่ม NSAID หรือยาต้านการอักเสบ เพราะจะทำให้เลือดเกิดอาการคั่ง บวม เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง ทำให้ไตเสื่อม
– ยาไข้หวัด ลดน้ำมูก ซึ่งกินแล้วง่วง น้ำมูกแห้ง จะส่งผลให้ความดันขึ้น ทำให้ไตแย่ลง
– ยาโรคความดัน ก็มีผลให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงเช่นกัน
ดังนั้น อย่าลืมสังเกตตัวเองและคนรอบข้างกันให้ดีนะคะ ถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวละก็ อย่านิ่งเฉยค่ะ ให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งจะดีที่สุด
ขอขอบคุณที่มาจาก : amarinbabyandkids.com