ผักกวางตุ้ง..ช่วยบำรุงสายตา สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย!!
advertisement
ผักกวางตุ้งหรือผักกาดเขียวกวางตุ้ง หรือที่ชาวเหนือเรียกว่าผักกาดจ้อนหรือผักกาดดอก เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพ่อบ้านแม่บ้านที่ชื่นชอบการทำกับข้าว และทำอาหารรับประทานในครัวเรือนกันบ่อยๆ โดยสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนูด้วยกัน ที่นิยมมากๆ และใช้ผักกวางตุ้งนี้เป็นส่วนประกอบหลักเลยก็ว่าได้ ก็คือเมนูต้มจับฉ่าย นอกจากนั้นก็นำมาลวกจิ้มน้ำพริก ผัด แกงต่างๆ ได้เช่นเดียวกับผักทั่วไป ส่วนในเรื่องของประโยชน์นั้นก็มีมากไม่แพ้ผักชนิดอื่นๆ เลยนะคะ มาดูกันเลยค่ะ
ลักษณะของพืชผักกวางตุ้งหรือผักกาดเขียวกวางตุ้ง : เป็นพืชล้มลุก มีก้านใบยาวและหนา สีขาวอมเขียว ใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยสีเหลืองสด ผักกวางตุ้งมีหลายพันธุ์ แต่ที่คนไทยกินกันมากก็คือ ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบ โดยใช้ส่วนใบและก้านใบมาประกอบอาหาร
[ads]
สารอาหารที่สำคัญของผักกวางตุ้ง : ผักกวางตุ้งมีสารอาหารที่สำคัญคือ ในผักกวางตุ้ง 100 กรัม มีเส้นใยอาหารอยู่ 1.6 กรัม ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม มีวิตามินซีถึง 25 มิลลิกรัม แคลเซียมสูงถึง 8.5 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม สารเบต้าแคโรทีนมากถึง 225 ไมโครกรัม1. ช่วยบำรุงสายตา ด้วยสารอาหารเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ สารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงสายตา และการมองเห็น
2. บำรุงผิวพรรณ นอกจากสารอาหารที่สำคัญต่างๆ ช่วยบำรุงเซลล์ในร่างกายรวมถึงเซลล์ผิว อีกทั้งกากใยอาหารที่สูงช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ ก็จะช่วยให้ภายในสะอาดแสดงออกถึงผิวที่ดูสดใส
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
4. มีแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันความเสื่อม และโรคกระดูกกร่อน กระดูกพรุน
5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
6. ป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
7. มีใยอาหารสูง ช่วยในการขับถ่ายที่ดี ช่วยให้ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก อีกทั้งมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง นับเป็นผักที่ดีต่อการลดความอ้วน
8. มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
9. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว ด้วยสารอาหารแคลเซียมสูง
10. มีธาตุเหล็ก ที่ดีต่อระบบเลือด การสร้างและการหมุนเวียนของเลือด ดีสำหรับแม่ท้องและมีส่วนสำคัญต่อความสมบูรณ์ของลูกน้อยในท้องอีกด้วย
11. มีส่วนช่วยกระตุ้นให้สารฟีโรโมน (Pheromone) หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวหอม
แนะนำเคล็ดลับในการปรุง
การปรุงกวางตุ้งให้อร่อย เวลาผัดหรือต้มอย่าปิดฝา เพราะหากปิดฝาแล้วสารไธโอไซยาเนตในผักกวางตุ้งจะไม่สามารถระเหยตามไอน้ำออกไปได้ สารชนิดนี้มีในผักกะหล่ำ ผักกาด และผักกวางตุ้ง มีข้อเสียต่อร่างกายคือ หากทานในปริมาณมากๆ จะทำให้ท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย จึงต้องเปิดฝาให้ไอน้ำระเหยพร้อมสารดังกล่าว
[yengo]
หากต้องการได้รับประโยชน์จากวิตามินซีและเบตาแคโรทีนอย่างเต็มที่ แม้ไม่กินสดจะนำไปปรุงก็ไม่ควรลวกหรือผัดนานนะคะ
ผักกวางตุ้ง เป็นผักที่หาทานได้ง่ายนะคะ มีวางขายตามตลาดสดทั่วไป มีกินเกือบตลอดปี ด้วยปัจจุบันนิยมปลูกกันเพราะขายได้ดี ราคาก็ถูก ปกติทั่วไปจะกำมือละ 10 บาทเท่านั้นเอง สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูด้วยนะคะ ไม่ว่า ต้มจับฉ่าย แกงจืด ผัดผักกวางตุ้ง ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ ประโยชน์ดีๆ ที่มาในคราวเดียวกันเช่นนี้ ไม่กินผักกวางตุ้ง ไม่ได้แล้วนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com