ผักพาย..ช่วยเจริญอาหารคุณค่าทางอาหารเพียบ!!

advertisement
ผักพาย หรือผักก้านจอง และยังมีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นอีกมากมายค่ะ ส่วนมากเราจะมักพบผักพายได้ตามบริเวณที่มีน้ำขังทั่วไป เช่น หนอง คลอง บึง หรือตามทุ่งนา ซึ่งคนส่วนมากคิดว่าผักพาย เป็นวัชพืชน้ำที่ไม่มีประโยชน์ ตามชนบทมักจะกำจัดทิ้ง หรือปล่อยให้สูญพันธุ์ หารู้ไม่ว่า ผักพายเป็นผักพื้นบ้านที่มากด้วยคุณประโยชน์ ฉะนั้นแล้ว วันนี้ไข่เจียว จึงจะพาทุกคนมารู้จักผักพายและจะพาทุกคนไปดูสรรพคุณของเจ้าผักพายกันค่ะ
มารู้จักผักพายกันเถอะ
ผักพาย , ก้านจองตาลปัตรฤๅษี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnocharisflava Buch.
ชื่อพ้อง : Alismaflavum Linn., Damasoniumflavum (Linn.) Miller, Limnocharisemarginata Humboldt &Bonpland
ชื่อวงศ์ : Limnocharitaceae
ชื่ออื่นๆ : ผักคันจอง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) คันช้อน (นครราชสีมา) นางกวัก บัวค้วก บัวลอย ตาลปัตรยายชี บอนจีน ผักพาย ผักตบใบพาย
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักพายเป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง เซ่น หนองน้ำ สระ คู ห้วย ผักพาย เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเป็น เหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น ใบขึ้นเหนือผิวน้า บางครั้งมีไหลสั้นๆ จำนวนมากใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลมรี ยาว15-18 ซม.กว้าง12 ชม.มีก้าน ใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้า ก้านใบยาวประมาณ 30 ซม. ก้านใบสีเขียวอ่อน เป็นเหลี่ยมอวบน้ำพองลม (คล้ายก้านใบผักตบ) เมื่อหักก้านใบจะพบมียาง สีขาวซึมออกมา แผ่นใบใหญ่และแผ่คล้ายใบตาลแตร ดอกเป็นดอกช่อแบบ ร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหลุดร่วงง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ของดอกย่อ ประมาณ 1.5ซม
เพาะขยายพันธุ์ : หัว เหง้า หน่อ หรือใช้เมล็ด และต้นอ่อนที่เกิดจากช่อดอก[ads]
advertisement
คุณค่าทางอาหาร
ผักพาย 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 18 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน501 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.08 มิลลิกรัม ไนอะซีน1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม
ประโยชน์ทางยา
ผักพายช่วยเจริญอาหารและมีสรรพคุณป้องกันไข้หัวลม
ประโยชน์ทางอาหาร
ต้นอ่อนก้านใบอ่อนและดอกอ่อนของผักพาย นิยมนำมาสามารถรับประทานดิบ กับอาหารพวกส้มตำ ต้ม ลาบก้อย นำผักพายมาลวกให้สุกทานคู่กับน้ำพริก[ads]
advertisement
สรรพคุณ
ตำรายาไทย
ใบ : ช่วยเจริญอาหาร และป้องกันไข้หัวลม
ใบอ่อน ก้านใบอ่อน ช่อดอก: เป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริก ลาบ
ทั้งต้น : เป็นอาหารสัตว์ และทำปุ๋ย
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร :
ผักพายเป็นพืชล้มลุกประเภทไม้น้ำ สามารถนำมากินได้ ทั้งต้นอ่อน ก้านใบ และดอก นอกจากจะให้รสชาติ หวานมันอร่อยแล้ว กินเป็นผักสดแกล้ม ลาบก้อย น้ำพริก และยังทำเป็น ผักสุกโดยการลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผักพาย ทำให้รสชาติของผักพายอร่อยมากขึ้น
โอ้โห..จะเห็นได้ว่า ผักพาย จะประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากมีทั้งเส้นใย ที่ช่วยในการขับถ่าย และยังมีสารอาหารอย่าง แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก ที่ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง อีกด้วย
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก References:
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก phargarden.com
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก rspg.svc.ac.th