ผักหูเสือ..ผักพื้นบ้าน คุณค่าที่ไม่ธรรมดา!!
advertisement
หูเสือ (COLEUS AMBOINICUS LOUR )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : lectranthusamboincus (Lour.) Spreng
อยู่ในวงศ์ : LABIATEAE
ชื่ออื่นๆ : ผักหูเสือ หูเสือ(ไทย) อีไหล หลึง หูเสือจีน โฮหิเช้า (จีน) หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ) และ หูเสือ (ภาคอีสาน)หอมด่วนหลวง (เหนือ), ผักหูเสือ, เนียมอีไหลหลึง, โฮว้หีเช่า (จีน)
advertisement
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว 2-4.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน[ads]
หูเสือ เป็นผัก รสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย รูปทรงของใบมีหยัก ชาวอีสานกับชาวเหนือ นิยมรับประทานใบสดของ “หูเสือ” เป็นผักแกล้มกับน้ำพริกชนิดต่างๆ และต้มลาบ รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม ส่วนในบ้านคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ
ขยายพันธุ์โดยการ : ปักชำยอดหรือต้น
สรรพคุณ
แก้หวัด แก้ไอ แก้คออักเสบ แก้หอบหืด ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ตำพอกแก้ปวดข้อ ใช้ขยี้ทาเพื่อห้ามเลือด ใช้คั้นน้ำทาแผลเรื้อรัง ใช้คั้นน้ำหยอดหูเพื่อรักษาหูน้ำหนวก ใช้ดับกลิ่นปาก ใช้แก้ไข้ในเด็ก ใช้ขยี้ทาท้องเด็กเพื่อแก้ท้องอืด ป้องกันฟันผุ ใช้ขยี้ทารักษาหิด แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง ปัจจุบัน มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า หูเสือมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และรา อีกด้วย
ส่วนที่ใช้ : ยอดและใบอ่อน, ลำต้น
ส่วนที่ใช้/สรรพคุณทางยา
ใบ และต้น : มีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน นำมาคั้นเอาน้ำหยอดแก้ฝีในหู แก้ปวดหู พิษฝีในหู หูน้ำหนวก ปิดห้ามเลือด ขยี้ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้หวัดในเด็ก และแก้โรคหืด
ใบ : บำรุงร่างกาย แก้ไอเรื้อรัง หืดหอบ แก้ลมชักบางประเภท ต้มน้ำกินแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กินหลังคลอดขับน้ำคาวปลา
ยางจากใบ : ผสมกับน้ำตาลกินขับลม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ใช้ภายนอกเป็นยาพอกศีรษะแก้ปวด ลดไข้ แก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด แก้หิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ตำพอกแก้ปวดข้อ ขยี้ทาห้ามเลือด คั้นน้ำทาแผลเรื้อรัง หรือนำไปทำยานัตถุ์เพราะมีกลิ่นหอม ใส่ยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง และอมดับกลิ่นคาวอาหาร
ยอดอ่อนและใบอ่อน : รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ลาบ หรือใส่แกง
advertisement
ตำรับยาและสรรพคุณรักษาโรค
แก้ไอ แก้เจ็บคอ
ตำรับที่ 1: ใช้ใบจำนวน 4 หรือ 5 ใบ ฉีกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำประมาณ 1 ลิตร กินวันละ 3 เวลา ครั้งละครึ่งแก้ว อาจใส่น้ำผึ้งและเกลือเล็กน้อย กินก่อหรือหลังอาหารก็ได้ อุ่นเช้า – เย็น สัก 2 วัน ต้มดื่มเรื่อยๆ จะช่วยให้อาการไอ เจ็บคอดีขึ้นและหายได้
ตำรับที่ 2 : ใช้ใบหูเสือสด จำนวน 4 – 5 ใบ สับกับหมูไม่ติดมันให้ละเอียด ต้มกินแบบแกงจืด ใส่เกลือป่น กินทั้งน้ำและเนื้อ 2 มื้อ เช้า – เย็น
ตำรับที่3 : ใช้ใบหูเสือสด กินกับแจ่ว น้ำพริก แก้ไอ แก้หวัด แก้หอบหืด ทำให้หายใจโล่ง
แก้ไอในเด็ก : ใช้ใบหูเสือนวดกับเกลือ คั้นเอาน้ำใส่ช้อนทองเหลืองอุ่นให้เดือด แล้วนำไปให้เด็กกิน
แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก: เมื่อถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เอาใบหูเสือมาล้างให้สะอาดตำ แล้วนำไปโปะตรงที่เป็นแผล จะช่วยให้แผลไม่เปื่อย ไม่พอง ไม่ลุกลาม
ดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ: นำรากหูเสือมาแช่น้ำธรรมดา กิน และอบบ่อยๆ
แก้ไข้ ตัวร้อนในเด็ก : นำใบหูเสือมาตำแล้วโปะหน้าผาก หรือกระหม่อมเด็ก จะทำให้ลดไข้ตัวร้อน
บำรุงเลือด : ใช้รากต้มกิน แก้ไข้ รักษาเลือดลมให้ปกติ
แก้ปวดหู หูเป็นน้ำหนวก :นำใบสดจำนวนตามล้างให้สะอาด นำมาตำละเอียดคั้นเอาน้ำหยอดลงในรูหูวันละครั้งติดต่อกัน 3-5 วัน จะถอนพิษฝีในรูหู แก้ปวดในรูหูและแก้หูเป็นน้ำหนวกได้เด็ดขาดมาก
เจ็บคอและต่อมทอนซิลอักเสบหาย : นำใบสด 5 ใบ ล้างให้สะอาด สับรวมกับหมูไม่ติดมันจำนวนพอประมาณไม่ต้องแต่งรสชาติหรือใส่อะไร ปั้นเป็นก้อนต้มกับน้ำจนเดือด กินทั้งน้ำและเนื้อวันละครั้งตอนไหนก็ได้ติดต่อกัน 4-5 วัน จะทำให้คนที่มีอาการเจ็บคอและต่อมทอนซิลอักเสบหายได้
เรียบเรียงข้อมูลโดย : Kaijeaw.com