ผักเสี้ยน ผักพื้นบ้าน..เป็นยาต้านสารพัดโรค!!
advertisement
ผักเสี้ยน เป็นผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในทุกพื้นที่ ทั่วทุกภาคของไทย เป็นพืชที่ขึ้นง่ายๆ ในทุกสภาพอากาศ ทนฝนทนแล้ง การรับประทานส่วนมากจะนิยมนำมาดอง ไม่นิยมรับประทานแบบสดๆ ค่ะ และวันนี้ ไข่เจียว ขออนุญาต หยิบยกเอาสรรพคุณของผักเสี้ยน ผักพื้นบ้านที่มากด้วยคุณประโยชน์ มาฝากทุกๆคนค่ะ
เรามารู้จักผักเสี้ยนกันเถอะ!!
advertisement
ผักเสี้ยน
มีชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome gynandra L.
ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ : spider weed หรือ spider flower
วงศ์ : Cleomaceae
ชื่ออื่นๆ : ภาษาไทยเรียก ผักเสี้ยน ผักเสี้ยนขาว (ภาคกลาง) ผักส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผักเสี้ยนเป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน สูงไม่เกิน ๑ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง
ลำต้นและกิ่งก้าน : มีต่อมขนอ่อนปกคลุม
ใบ : เป็นแบบมือ ประกอบด้วยใบย่อย ๓-๕ ใบ ก้านใบยาว ออกสลับกันบนกิ่ง
ดอก : ออกเป็นช่อปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือเหลือบม่วง ดอกมีลักษณะเป็นเส้นยาวเล็กคล้ายเสี้ยน จึงชื่อผักเสี้ยน หรือคล้ายขาแมงมุม จึงเรียกในภาษาอังกฤษว่า spider flower ผลเป็นลักษณะฝักยาวทรง กระบอกปลายแหลม มีจงอยตรงปลาย เมล็ดสีน้ำตาลดำขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
[ads]
advertisement
ประโยชน์ของผักเสี้ยน
คนไทยโบราณบอกว่าผักเสี้ยนเป็นยาร้อน กินแล้วเลือดลมดี มีกำลัง แก้ปวดเมื่อย ตาจะดี ผิวจะสวย คล้ายกับความเชื่อของชาวเคนยาที่ว่า ผักเสี้ยน คืออาหารเป็นยา ช่วยบำรุงและให้พลังงาน ซึ่งน่าจะเป็นความจริงเพราะในด้านคุณค่าทางโภชนาการพบว่า ผักเสี้ยนมีวิตามินเอและวิตามินซีสูงมาก รวมทั้งแคลเซียม และเหล็ก เมื่อผ่านการดองวิตามินและสารต่างๆ จะไม่สูญสลายง่าย ยกเว้นวิตามินซีซึ่งอาจสูญเสียไปบ้าง แต่วิธีการดองซึ่งทำให้เกิดสภาพความเป็นกรด จะช่วยรักษาวิตามินซีได้มากกว่าการต้มหรือการใช้ความร้อน โดยเฉพาะการดองเร็ว คือ การดองที่ใช้เวลาไม่นาน พอผักเริ่มมีรสเปรี้ยวพอดีๆ ก็รับประทาน จะได้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือโปรไบโอติกส์มาก การดองจึงเป็นความรู้พื้นบ้านในการถนอมสารอาหารได้อย่างดี
advertisement
สรรพคุณและวิธีใช้
ต้น:กลิ่นฉุนร้อน ปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอดแก้ขับหนองในร่างกาย หรือให้หนองแห้ง แก้ฝีในลำไส้ ในตับ ขับพยาธิในลำไส้ได้ แก้เลือด ระดูเน่าเสียที่ทำให้จับสั่นสะท้าน โรคข้ออักเสบ ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง
ใบ: นำมาพอกแก้ปวดหัวบดกับเกลือทาแก้ปวดหลัง และแก้ปัสสาวะพิการ
ราก: แก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรและอยู่ไฟไม่ได้
เมล็ด:นำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิในลำไส้
รากผสมกับเมล็ด:เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟันและเป็นยากระตุ้นหัวใจ ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์ แก้ปวดเป็นยาชาเฉพาะที่ เสริมฤทธิ์การนอนหลับ ยับยั้งเชื้อ HIV
[yengo]
advertisement
ผักเสี้ยนทั้งห้า (ต้น ใบ ดอก เมล็ด ราก) : รสร้อน แก้ปวดท้อง ลงท้อง แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ในตำราแพทย์แผนไทยมีคำเรียกผักเสี้ยนทั้งสอง หมายถึง ผักเสี้ยนกับผัก เสี้ยนผีรวมกัน ในอินเดียใช้เมล็ดผักเสี้ยน สกัดทำเป็นยากำจัดแมลง ในแอฟริกาใช้ยอดและใบอ่อนของผักเสี้ยนปรุงรสและกลิ่นซอสในอินโดนีเซียใช้เลี้ยงสัตว์ และใช้เมล็ด เป็นอาหาร ผักเสี้ยนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากของธรรมดาสามัญที่มีอยู่ทั่วไป หาได้ง่าย ให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคนธรรมดาหรือสามัญชน แนวทางดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ ทั้งด้านการเกษตร อาหาร ยารักษาโรค หรือปัจจัยสำหรับชีวิตด้านอื่นๆ
โอ้โห… ผักพื้นบ้าน แต่สรรพคุณไม่บ้านๆ เลยนะคะ รู้อย่างนี้แล้วอย่ามองข้ามผักพื้นบ้านนะคะ เพราะนี่แหละค่ะ คือสุดยอดยาชั้นดีที่อยู่ไกล้ตัวเรานี่เอง
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงเนื้อหาจาก: ศูนย์ข้อมูลกลางกระทรวงวัฒนธรรม (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก m-culture.in.th
มูลนิธิหมอชาวบ้าน (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก doctor.or.th
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก komchadluek.net