พระภิกษุพายเรือเข็มออกบิณฑบาต กับความเป็นมาที่น่าทึ่ง
advertisement
สำหรับคนรุ่นใหม่อาจจะรู้จักเรือไม่กี่ชนิดที่เคยได้เห็นวิ่งตามแม่น้ำลำครอง เพราะทกวันนี้ เรือไม่ใช่ยานพาหนะหลักในการเดินทาง ถ้าเทียบกับรถ แตกต่างจากในอดีตที่ส่วนใหญ่ผู้คนจะเดินทางด้วยเรือซะส่วนใหญ่ ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ เรือเข็ม เรือขนาดเล็กรูปร่างเพรียวคล้ายเข็ม ที่สามารถพายได้อย่างรวดเร็ว โดยคุณ เหมือนวาด มารีอา ได้ออกมาโพสต์แชร์ไว้ว่า
advertisement
เรือเข็มนี้ เหมาะสำหรับแม่น้ำลำคลองที่ไม่มีคลื่น มักใช้เป็นเรือสำหรับพระออกบิณฑบาต เพราะจากรูปทรง ทำให้เรือมีความเร็ว พระภิกษุผู้ชำนาญ จึงไปโปรดญาติโยมได้ในระยะไกล นัยยะในทางธรรม นั่นคือการฝึกอารมณ์และสมาธิของพระภิกษุในสมัยนั้น ให้มีสมาธิแน่วแน่กับการควบคุมเรือ อีกทั้งยังมีความยากลำบาก
advertisement
เพราะด้วยเครื่องแต่งกายของพระ ที่ไม่ได้รัดกุมเหมือนชาวบ้าน ตามชนบทสมัยนั้นหลายที่ ก่อนที่จะมีงานบวชของลูกชาย พวกเขาจะช่วยกันต่อเรือเข็มนี้ ไว้เพื่อหัดพายให้คล่องนั่นเอง หากภิกษุรูปใด พายเรือเข็มไปรับบาต แล้วเกิดล่มหลายครั้ง ก็จะถูกตำหนิได้ว่ายังมีสมาธิไม่ดีพอ การออกบิณฑบาตของภิกษุสมัยนั้น หลายที่ก็ต้องเดินทางๆเรือ เนื่องจากบ้านเรือนผู้คนนิยมปลูกสร้างอยู่อาศัยกันริมแม่น้ำลำคลองครับ [ads]
จากความคิดเห็น
advertisement
อดีตเด็กวัดแชร์ประสบการณ์
advertisement
เดี๋ยวนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว
advertisement
เรือเข็ม มีน้ำหนักเบาสามารถยกได้ด้วยมือข้างเดียว พายสำหรับที่ใช้พายเรือเข็มมีทั้งแบบใบพายเดียวกับใบพายคู่ พายเดี่ยวมีใบพายเพียงใบเดียวส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะเป็นด้ามยาวประมาณ 2 เมตร พายมีขนาดเล็กเรียวน้ำหนักเบา เครดิตข้อมูล : ชวนเที่ยวพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านวัดยาง ณ รังสี จ.ลพบุรี
ขอขอบคุณที่มาจาก : เหมือนวาด มารีอา