6 พฤติกรรมทำร้ายตับ..รู้แล้วควรเลิกซะ!
advertisement
ในทุกๆ วันคนเราต้องเผชิญกับปัญหาสารพิษ มลภาวะมากมาย ทุกอย่างเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ย่อมส่งผลเสีย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่โชคดีที่ร่างกายของคนเรามีวิธีการในการกำจัดสารพิษเหล่านั้นออกไป โดยตับมีหน้าที่หลักที่สำคัญมากๆ นอกจากจะผลิตพลังงานแล้วยังกำจัดสารพิษในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นในแต่ละวันตับจึงต้องทำงานหนัก ยิ่งเผชิญสารพิษมาก ตับก็ต้องทำงานหนักมากขึ้น แต่ก็เป็นอวัยวะที่ถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง เพราะพฤติกรรมบางอย่างที่เราทำอยู่บ่อยๆ โดยไม่รู้ตัว นานวันเข้าตับย่อมเสื่อม เช่นนี้ตับจะทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร สารพิษสะสมในร่างกายและตับ ส่งผลให้สุขภาพย่ำแย่ เกิดโรคร้ายตามมามากมาย ดังนั้นหากไม่อยากจะทำร้ายตับอีกต่อไป ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ค่ะ
advertisement
1. นอนดึก ตื่นสาย
ช่วงเวลาของการนอนหลับนั้น เป็นเวลาที่ร่างกายได้พักผ่อน ฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอ รวมถึงอวัยวะอย่างตับก็เช่นเดียวกัน และที่สำคัญร่างกายจะทำการกำจัดของเสียจากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยกระบวนการจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลา 3 ทุ่ม ถึง 7 โมงเช้า ซึ่งถ้าเราไม่นอนหลับ ระบบก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ จนเกิดสารพิษสะสมในร่างกายมาก จนทำให้เคมีในร่างกายผิดปกติได้เลยทีเดียว[ads]
advertisement
2. กินอาหารทอดๆ มันๆ
โดยปกติแล้วการทานอาหารครั้งมากๆ จะทำให้ตับเราทำงานหนักอยู่แล้วเพราะได้รับสารอาหารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอาหารทอดๆ มันๆ นั้นเต็มไปด้วยไขมัน ตับจึงต้องทำงานหนักขึ้นมากตามปริมาณอาหาร และนอกจากนี้ไขมันพวกนี้จะแปรสภาพเป็นไตรกลีเซอไรด์ และทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้
advertisement
3. ดื่มเหล้าหนัก
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หากดื่มหนัก ดื่มเป็นประจำ ถือเป็นสาเหตุหลักของการทำลายตับ เพราะพิษมากมายจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปสะสมอยู่ที่ตับ แต่ไม่เพียงเท่านั้นการดื่มแต่ละครั้งมักเลิกดึกเสมอ กว่าจะได้นอนก็ดึกมากแล้ว แถมด้วยการกินอาหารจุบจิบอีกมากมาย เป็นการรวมสาเหตุการทำร้ายตับคุณไว้ด้วยกัน พฤติกรรมเช่นนี้ยังนำไปสู่อาการไวรัสตับอักเสบ ไขมันสะสมในตับหรือไขมันพอกตับ และอาการตับแข็ง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ตับต้องรับบทหนักในการขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายนั้นด้วย
advertisement
4. ใช้ยาเกินจำเป็น
การใช้ยาเกินความจำเป็น ทำให้ตับทำงานหนักกว่าปกติ เพราะยาก็คือสารสังเคราะห์ สารเคมีชนิดหนึ่ง อีกทั้งยาที่จำเป็นบางชนิดมีผลข้างเคียงต่อตับ โดยเฉพาะพาราเซตามอล และยารักษามะเร็งส่วนใหญ่ สารสังเคราะห์หลายชนิดในยาอาจกลายเป็นพิษต่อตับได้ แม้จะเป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อย แต่เคยมีกรณีที่คนไข้เกิดอาการตับวายจนถึงแก่ชีวิต หลังจากได้รับยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
advertisement
5. สูบบุหรี่
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในควันบุหรี่ เต็มไปด้วย นิโคติน (สารเสพติด), สารเคมี 7,000 ชนิด, สารพิษ มากกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็ง มากกว่า 70 ชนิด ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร สารพิษที่และควันบุหรี่นั้นก็จะเข้าสู่ตับมากขึ้นๆ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานหนักขึ้น และนำไปสู่การกีดขวางกระบวนการทำงานของร่างกายโดยรวม เสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บที่บั่นทอนชีวิตของคุณให้สั้นลงเท่านั้น
advertisement
6. ความเครียด
เมื่อเกิดความเครียด ตับของเราก็จะทำงานผิดปกติทำให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนความเครียด โดยฮอร์โมนชนิดนี้เป็นต้นเหตุทำให้ตับผลิตน้ำตาลกลูโคสมากขึ้น ซึ่งน้ำตาลชนิดนี้ให้พลังงานสูง แม้ว่าจะสามารถดูดซึมกลับได้โดยไม่เกิดความเสียหายใดๆ ในร่างกาย แต่มันก็เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกันค่ะ แต่ก็ไม่เพียงเท่านั้นเพราะความเครียดอาจทำให้คุณนอนไม่หลับ หรือทานอาหารมากขึ้นได้ ความเครียดที่เกิดขึ้นจึงส่งผลเสียต่อตับมากมาย[ads]
advertisement
เคล็ดลับวิธีในการดูแลตับ แนะนำให้ปฏิบัติตามช่วงเวลา ดังนี้
– ช่วงเวลากลางคืน 3-5 ทุ่ม เป็นระยะเวลาที่ร่างกายจะกำจัดสารพิษต่างๆ โดยระบบต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย (ระบบหมุนเวียนของน้ำเหลืองในร่างกาย) ดังนั้นเวลานี้ต้องเข้านอน และนอนให้หลับ
– ช่วงเวลากลางคืน 5 ทุ่ม-ตี 1 เป็นเวลาที่จะเกิดกระบวนการกำจัดสารพิษในตับ ซึ่งควรจะต้องอยู่ในช่วงการนอนหลับสนิท ในช่วงเช้าระหว่างเวลาตี 1-ตี 3 นั้น กระบวนการกำจัดสารพิษในน้ำดี ก็ควรจะเป็นช่วงแห่งการนอนหลับสนิทเช่นกัน
– ช่วงเวลาตี 1-ตี 3 การกำจัดสารพิษในปอด เพราะฉะนั้นอาจจะมีอาการไออย่างรุนแรงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการไอในช่วงเวลาดังกล่าว ตอนนี้กระบวนการกำจัดสารพิษจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแล้ว (ไม่จำเป็นที่จะใช้ยา แก้ไอเพื่อที่จะได้ไม่ไปขัดขวางขั้นตอนการกำจัดสารพิษในร่างกาย)
– ช่วงเช้า ตี 5-7 โมงเช้า จะเป็นช่วงที่ร่างกายกำจัดสารพิษในปลายลำไส้ใหญ่ ดังนั้น เราจึงควรขับถ่ายในช่วงเวลาดังกล่าวนี้
– ช่วงเช้า 7-9 โมงเช้า เป็นเวลาที่สารอาหารจะถูกดูดซึมสู่ลำไส้เล็กได้ดี ดังนั้น เราจึงควรทานอาหารเช้าในช่วงนี้
การถนอมตับไว้ไม่ให้สึกหรอก่อนวัยนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นกับตับ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่การกิน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายตับดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น รู้แล้วเริ่มต้นปฏิบัติกันเลยค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com