พลับพลึง..แก้พิษ เป็นยาบำรุงกำลัง!!
advertisement
“พลับพลึง” พืชชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันดีนะคะ นิยมนำมาปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้าน แต่งสวน ปลูกตามริมตลิ่งจะดูเข้ากันได้ดีกับแหล่งน้ำ ด้วยเอกลักษณ์ที่โดเเด่นเฉพาะตัวในเรื่องกลิ่นหอม ออกดอกสดใสสวยงาม เป็นที่ชวนมองชวนชมของผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก และมักมีการนำดอกมาใช้ประโยชน์ สามารถนำมาตกแต่งแจกัน จัดช่อดอกไม้ต่างๆ ที่สำคัญพลับพลึงยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรตามตำราไทยแผนโบราณช่วยแก้พิษ เป็นยาบำรุงกำลัง ที่สำคัญคือมีงานวิจัยที่ค้นพบสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในต้นพลับพลึง นั่นก็คือ สารไซโคลพามีน โดยสามารถสกัดเพื่อช่วยยับยั้งการทำงานของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ถือเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ น่าสนใจมากเลยทีเดียวนะคะ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับสมุนไพร “พลับพลึง” ให้มากขึ้นกันนะคะ
advertisement
ชื่อพรรณไม้พลับพลึง : ตามชื่อเรียกแต่ละพื้นที่ ลิลัว (ภาคเหนือ), ว่านชน (อีสาน), วิรงรอง (ชวา), พลับพลึงขาว และ พลับพลึงดอกขาว
ลักษณะของพืชพลับพลึง : ไม้ล้มลุกที่ขึ้นเป็นกอและมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-15 เซนติเมตร และมีความสูงประมาณ 90-120 เซนติเมตร
ใบ : มีสีเขียวโดยออกรอบๆ ลำต้น มีลักษณะของใบแคบและเรียวยาว ขอบใบจะเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ใบค่อนข้างหนาอวบน้ำ มีความกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร และความยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
[ads]
advertisement
ดอก : ออกเป็นช่อใหญ่ ดอกมีกลิ่นหอม ตรงปลายจะเป็นกระจุก ในแต่ละช่อมีดอกประมาณ 12-40 ดอก ก้านดอกชูขึ้นจากตรงกลางลำต้น มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร และสูงราว 90-120 กลีบดอกมีสีขาวแคบเรียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร หนึ่งดอกมีกลีบ 6 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งเข้าหาด้านดอก มีเกสรตัวผู้มี 6 ด้าน ชูสูงขึ้นจากดอกที่ปลายเกสรมีลักษณะเรียวแหลมยาวและมีสีแดง และจะทยอยออกดอกเรื่อยๆ โคนเป็นสีขาว ส่วนอับเรณูนั้น จะเป็นสีน้ำตาล
advertisement
ผล : ลักษณะของผลค่อนข้างกลม มีสีเขียวอ่อน
พลับพลึงเป็นพืชที่ปลูกง่ายมากชนิดหนึ่ง มีความแข็งแรงทนทานต่อดินฟ้าอากาศเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง ขอเพียงมีความชุ่มชื้นบ้างเท่านั้นก็พอ การขยายพันธุ์ก็ทำได้ง่าย โดยการแยกหน่อหรือหัวใต้ดิน พลับพลึงขึ้นในที่ร่มเงาหรือมีแสงรำไรได้ดี
advertisement
สรรพคุณของสมุนไพรพลับพลึง
1) พอกแผลรักษาพิษ นำรากมาตำแล้วนำมาพอกแผลหรือรักษาพิษ
รักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ คลายเส้น แก้อาการฟกช้ำปวดบวมยา
2) บำรุงกำลัง ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและน้ำดีต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโปลิโอและโรคหัด นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
3) ช่วยให้มดลูกเข้าที่อยู่ตัว น้ำคาวปลาแห้ง ขจัดไขมันส่วนเกิน และขับของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย นำใบมาประคบหน้าท้องเหมาะกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอด หรืออยู่ไฟ
4) ขับเลือดประจำเดือน นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
5) รักษาอาการปวดเมื่อยคอ ที่เกิดจากการนอนตกหมอน หรือภาวะความเครียด ใช้ใบพลับพลึงลนไฟให้ร้อนจนใบนิ่ม นำมาพันบริเวณที่ปวดคอ ทำวันละ 1-2 ครั้ง ด้วยสรรพคุณทางยาของใบพลับพลึง จึงช่วยแก้ อาการปวดเมื่อยและเคล็ดขัดยอกได้
6) ยาพันแก้ปวดหัว นำใบมาลนไฟ พันรอบศีรษะ แก้ปวดหัว
7) ตำรับยาประคบ แก้ปวดเมื่อย บำรุงผิว แก้วิงเวียน แก้เคล็ดขัดยอก ยาประกอบด้วยว่านชนไพล ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือแกง การบูร ใบเปล้า ใบหนาด ตำแล้วนำไปทำเป็นยาประคบ
8) ตำรับยาย่างรักษาอาการ ตกต้นไม้ วัวควายชน เลือดตกใน ช้ำใน ยาประกอบด้วยว่านชน ใบหนาด ใบเปล้าใหญ่ ใบชมชื่น (เขยตาย) ใบส้มป่อย ให้หั่น ตำแล้วนำไปทำยาย่าง
9) ตำรับยาประคบเส้น ประกอบด้วยเทียนดำ เกลือ อบเชย ไพล ใบพลับพลึง ใบมะขาม ตำห่อผ้า นึ่งให้ร้อน ประคบเส้นตึงให้คลาย
10) ช่วยแก้อาการปวดกระดูก ด้วยการใบพลับพลึง ตำผสมกับข่า และตะไคร้ นำไปหมดไฟแล้วนำมาพอกบริเวณที่ปวดกระดูก
11) ใบพลับพลึงมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า Lycorine ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโปลิโอและโรคหัด
[ads]
advertisement
ประโยชน์ใช้งานของพลับพลึง
– ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมสดชื่น
– กาบใบมีสีขาวอวบหนา นิยมนำมาทำกระทงใส่ธูปเทียนลอยในวันลอยกระทง
– ดอกพลับพลึงซึ่งมีช่อใหญ่ ก้านช่อยาว มีกลิ่นหอม เหมาะนำไปจัดแจกัน กระเช้าดอกไม้ หรือมอบให้เป็นช่อเดี่ยวๆ เช่นเดียวกับดอกลิลลี่ที่นิยมกัน
ต้นพลับพลึง ปลูกได้เป็นไม้ดอกไม้ประดับตามบริเวณต่างๆ ของบ้าน ให้ความสวยงาม ส่งกลิ่นหอมสดชื่น เป็นที่ชื่นชมของผู้ที่ได้พบเห็น อีกทั้งมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ได้จริง เรียกได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่า คู่ควรแก่การปลูกประดับที่บ้านเราและนำมาใช้งานกันได้บ่อยๆ เลยทีเดียวนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com