พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ข้อห้าม และ ข้อปฏิบัติ ที่ประชาชนควรรู้
advertisement
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อจัดการโรคระบาดโควิด-19 โดยจะมีผลในวันที่ 26 มีนาคมนั้น ทำให้มีประชาชนหลายท่านเกิดความข้องใจถึงแนวทางการปฏิบัติตัว วันนี้เราเลยมีข้อสรุปแบบเข้าใจง่ายมาฝาก
อย่างแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะถูกใช้ในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที มาตรการของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะแบ่งเป็น
advertisement
ระดับที่ 1 สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วไป
– ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกระแสข่าวระบุว่า จะระบุ เคอร์ฟิว เวลา 19.00-07.00 น. อย่างไรก็ตาม ต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง [ads]
– ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ
– ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
– ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
-ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด
advertisement
ระดับที่ 2 สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
– ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวผู้ใดซึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อระงับความรุนแรงโดยไม่ชักช้า
– ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงาน ตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเรียกมาให้ถ้อยคำ
– ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใดได้
-ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็น
– ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราช อาณาจักรได้
– ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อเข้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับ เหตุการณ์ร้ายแรงหรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วนได้
advertisement
ข้อปฏิบัติตนที่ประชาชนสามารถทำได้ และไม่สามารถทำได้ คือ
(1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ เป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น
(2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
(3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
(4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
(5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
(6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด
โดยข้อปฎิบัตินี้เป็นข้อปฎิบัติเบื้องต้นที่ระบุไว้ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนข้อปฎิบัติที่จะใช้ในการควบคุมโรคระบาดโควิด-19 ยังคงต้องรอนายกรัฐมนตรีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการในครั้งต่อไป
ขอขอบคุณที่มาจาก : bangkokbiznews.com