ฟังเพลงเสียงดัง..เสี่ยงหูหนวก!!
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/02/ฟังเพลงเสียงดัง-2.jpg)
advertisement
สำหรับคนที่ติดนิสัยฟังเพลงแบบผิดๆ ใส่หูฟังตลอดเวลา เปิดในระดับดังมากๆ เชื่อว่าต้องมีปัญหาเกี่ยวกับหู การได้ยินไม่มากก็น้อยนะคะ เพราะการฟังเสียงดังที่มากจนเกินไป เป็นสาเหตุก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหูและการได้ยินค่ะ เพราะในหูของเราประกอบไปด้วยอวัยวะที่บอบบางอย่างแก้วหู เยื่อแก้วหู หากได้รับความสั่นสะเทือนจากเสียงดังมากและบ่อยๆ ย่อมก่อให้เกิดการบาดเจ็บด้วย อันตรายร้ายแรงขึงขั้นหูหนวก!! ใครที่ไม่อยากหูหนวกต้องไม่พลาดค่ะ
advertisement
![หู](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/02/นํ้าในหูไม่เท่ากัน1.jpg)
http://www.morsengherbthai.com/images/editor/%E0%B8%99%E0%B9%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%991.jpg
กลไกการได้ยินปกติ
หูประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน
1. หูชั้นนอก ทำหน้าที่รวบรวมเสียงจากภายนอก เข้าสู่ช่องหูและส่งผ่านไปยังหูชั้นกลาง
2. หูชั้นกลาง รับพลังงานเสียงที่ส่งผ่านจากหูชั้นนอก ทำให้เยื่อแก้วหูและกระดูกหู 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน เกิดการสั่นสะเทือน
3. หูชั้นในรับการสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาจากหูชั้นกลางมายังคอเคลียที่มีตัวรับสัญญาณเสียงเป็นเซลล์ขนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
4. สัญญาณไฟฟ้าจะส่งต่อไปยังเส้นประสาทการได้ยินและสมอง เพื่อแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน
[ads]
advertisement
![ฟังเพลงเสียงดัง](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/02/ฟังเพลงเสียงดัง-1.jpg)
http://static.naewna.com/uploads/userfiles/images/singing.jpg
เสียงดังเป็นสาเหตุให้หูเสื่อม
สำหรับผู้ที่มักฟังเพลงบ่อยๆ เสียงดังมากๆ เป็นเวลานานๆ หรือต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมากๆ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่มีเสียงดัง เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานปั๊มโลหะ หรือผู้ที่อยู่อาศัยในย่านตลาดหรือการจราจรคับคั่ง ฯลฯ ทำให้เซลล์รับเสียงคลื่นในความถี่ 2,000-6,000 เฮิร์ตท์ (Hz) เป็นประจำ มีผลทำให้หูและอวัยวะรับเสียง โดยเฉพาะเซลล์ขนและประสาทรับเสียงเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ทำให้ความสามารถในการได้ยินลดลงหรือที่เรียกว่า หูตึง หรืออันตรายร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน หรือหูหนวกนั่นเอง
advertisement
![voice](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/02/ฟังเพลงเสียงดัง1.jpg)
http://www.konbini.com/en/files/2015/03/Hearing-Loss-Caused-by-Loud-Music-810×539.jpg
การฟังเพลงจากเครื่องเล่นเพลง เป็นอันตรายอย่างไร
อาจรู้สึกได้ว่าเสียงไม่ดังเท่าไหร่ แต่ถ้าวัดอย่างจริงจังจะพบว่าบางคนฟังเพลงดังมากกว่า 100 เดซิเบล ทำให้หูเสื่อมเช่นเดียวกับการได้ยินเสียงดังรูปแบบอื่นๆ วิธีสังเกตว่าเครื่องเล่นเพลง ดังเกินไปหรือไม่ ดูได้จาก
– คุณตั้งค่าความดังเสียงเครื่องเล่นเพลง ไว้เกินกว่า 60% ของระดับเสียงสูงสุดหรือไม่
– เมื่อฟังเพลงจากเครื่องเล่นเพลง ยังสามารถได้ยินเสียงจากสิ่งรอบตัวหรือไม่
– คนอื่นๆ ได้ยินเสียงจากเครื่องเล่นเพลง ของคุณหรือไม่
– เมื่อฟังเครื่องเล่นเพลง คุณต้องตะโกนคุยกับคนอื่นหรือไม่
– หลังจากฟังเครื่องเล่นเพลง คุณมีอาการหูอื้อหรือไม่
ข้อแนะนำ : หากมีพฤติกรรมต่างๆ ข้างต้นแสดงว่าคุณฟังเพลงเสียงดังเกินไป ควรปรับระดับเสียงให้ต่ำลงและลดระยะเวลาฟังเพลงลง
ปัญหาที่มากับเสียงดังเกินไป
– การได้ยิน คือสูญเสียการได้ยิน หูอื้อ หูหนวก หรือหูอึง
– ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น ระบบไหลเวียนโลหิตบกพร่อง จนอาจนำไปสู่โรคหัวใจ และปอดแตกฉับพลัน ระบบและอวัยวะทำงานผิดปกติ เนื่องจากเกิดภาวะกายขาดพลังร้อน
– สุขภาพจิต รบกวนการทำงาน การพักผ่อน ทำให้เกิดความเครียด หรือการตื่นตระหนก และอาจพัฒนาไปสู่อาการซึมเศร้า และโรคจิตประสาท ความเครียด
– สมาธิ ความคิด และการเรียนรู้ ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการคิดค้น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้และการรับฟังข้อมูลลดลง
– ลดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน รบกวนระบบและความต่อเนื่องของการทำงาน ทำให้ทำงานล่าช้า คุณภาพและปริมาณงานลดลง
– ในเด็กเล็กทำให้พัฒนาการด้านการฟัง และอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้
อาการและอาการแสดงออก
ผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อหรือการได้ยินลดลงในหูข้างที่เป็นอย่างเฉียบพลัน มักไม่ค่อยได้ยินเสียงเมื่อผู้พูดอยู่ไกล อาจมีอาการร่วม เช่น เวียนหัว มึนงง รู้สึกบ้านหมุน ปวดศีรษะ และมักได้ยินดีขึ้นในบรรยากาศที่เงียบสงัด ปราศจากเสียงรบกวน มักเป็นในหูข้างเดียว ถ้าเป็นทั้งสองข้างผู้ป่วยจะพูดดังกว่าปกติ อาจมีเสียงดังในหูซึ่งมักจะเป็นเสียงที่มีระดับความถี่สูง เช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น หรือเวียนศีรษะร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจกลัวเสียงดังๆ หรือทนฟังเสียงดังไม่ได้ (เสียงดังจะทำให้เกิดอาการปวดหู และจับใจความไม่ได้)
[yengo]
advertisement
![โรคหู](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/02/โรคหู.jpg)
http://www.healthandtrend.com/wp-content/uploads/2015/07/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%81.jpg
แนวทางในการรักษา
1. ในรายที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะรักษาตามสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาประสาทหูที่เสื่อมให้คืนดีในสภาพปกติได้ มักเป็นการรักษาตามอาการ (เช่น อาการเวียนศีรษะ, เสียงดังในหู) หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ (เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ)
2. ในรายที่ไม่ทราบสาเหตุ มักจะมีโอกาสหายได้เองสูงถึงร้อยละ 60-70 ส่วนใหญ่การรักษามุ่งหวังให้มีการลดการอักเสบของประสาทหู และให้มีเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น ลดการรั่วของน้ำในหูชั้นในที่เข้าไปในหูชั้นกลาง (ถ้ามี)
หากมีอาการของหูเสื่อมควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดย
– หลีกเลี่ยงเสียงดัง
– ถ้าเป็นประจำตัวต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคไต, โรคกรดยูริกในเลือดสูง,โรคซีด, โรคเลือด ต้องควบคุมโรคให้อยู่ในสภาวะปกติ
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น Aspirin, amino glycoside, quinine
– หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
– หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
– ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ, ชา, เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน), งดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
– พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ
– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– ทำจิตใจให้สดใสเบิกบาน ไม่เครียด
ทราบอย่างนี้แล้ว ใครที่ชื่นชอบการฟังเพลงเสียงดังเกินไป นานเกินไป หรือเคยชินกับกิจกรรมที่มีเสียงดังก็ควรเริ่มระมัดระวังตัวกันได้แล้วนะคะ เพราะหูเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากเกิดการบาดเจ็บ ความเสื่อม หรือหูหนวก เพราะความเอาใจใส่ที่ไม่เพียงพอของตัวเราเอง จะต้องเสียทั้งเวลา เสียทั้งเงินจำนวนมากในการรักษา ซึ่งอาจไม่ได้โชคดีให้รักษาหายขาดได้เสมอไป เรียกได้ว่าไม่คุ้มค่ากันเลยทีเดียว
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com