ภาวะการแพ้แบบรุนแรง
advertisement
ภาวะการแพ้แบบรุนแรง ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Anaphylaxis ซึ่งเป็นภาวการณ์แพ้สารก่อภูมิแพ้ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
advertisement
จริงๆแล้วภาวะนี้พบไม่บ่อย โดยทั่วไปพบน้อยกว่า 1% ของประชากร แต่ก็พบอุบัติการณ์ การเกิดโรคเพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในสถานะของแพทย์โรคภูมิแพ้ แต่ก็ยังไม่ค่อยมีผู้ป่วยหรือผู้ปกครองเข้ามาปรึกษาแพทย์มากเท่าที่ควร เพราะไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้ และขาดการดูแลป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง แพทย์ที่พบผู้ป่วยก็ไม่ค่อยรายงานการเกิดโรคที่ถูกต้อง รวมทั้งยังขาดการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ[ads]
สาเหตุของการเกิดโรค
พบว่าในเด็ก เกิดจากการแพ้อาหารมากที่สุด ส่วนในผู้ใหญ่พบว่าเกิดจากการแพ้ยามาก สาเหตุนอกจากนี้ได้แก่ แมลงต่อย รวมทั้งพบว่ามีการแพ้ถั่วลิสง แป้งสาลี และแพ้ยางพาราเพิ่มขึ้น อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้แบบรุนแรงมีความหลากหลายมากขึ้น จนบางครั้งไม่นึกว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้
advertisement
อาการที่ตรวจพบ
ได้แก่ ผื่นลมพิษเฉียบพลัน หน้าบวม ตาบวม แน่นในคอ แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อย หน้าแดง ปวดท้อง อาเจียน หรือเป็นลมหมดสติหลังจากได้รับสารที่แพ้ไม่นาน โดยอาการอาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือเกิดเพียงบางอาการก็ได้ โดยสารที่แพ้จะได้รับทางการกิน การสูดดม การฉีดยา หรือหลังจากแมลงสัตว์กัดต่อย ก็ได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่ถูกวิธี ก็สามารถเกิดอาการแพ้รุนแรงซ้ำได้ภายใน 1 – 2 วันได้อีก
advertisement
หลักการรักษา
สำหรับภาวะแพ้แบบรุนแรงนี้ คือการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ซึ่งควรได้รับการยืนยันจากการตรวจค้นหาโดยแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ และผู้ป่วยควรมียาแก้แพ้แบบรุนแรงติดตัวไว้ตลอดเวลา สามารถนำมาใช้ได้ทันทีที่เริ่มเกิดอาการก่อนที่จะพบแพทย์ ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานาน ทำให้ผู้ป่วยช๊อคระหว่างทางได้ รวมทั้งข้อมูลและประวัติการแพ้แบบรุนแรง ก็จะช่วยให้แพทย์ที่ดูแลฉุกเฉิน เลือกยาที่จะใช้รักษาได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงที สามารถป้องกันความรุนแรงของการเกิดโรคต่อไปได้[ads]
ต้องการให้ผู้ป่วยตระหนักถึงอันตรายของภาวะนี้ ทราบวิธีปฏิบัติตัว และได้รับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ บางคนรู้ตัวเองว่าแพ้อะไร แต่คิดว่าไม่เป็นไร หรือหายได้เอง แล้วไปรับสารนั้นซ้ำ ก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : paolohospital.com พญ. สุรีรัตน์ พงศ์พฤกษา ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลเปาโล