ภูมิปัญญาฝรั่งที่เมืองแพร่ ไม้ค้ำตง ทำให้โครงสร้างพื้นบ้านแข็งแรง

advertisement
เป็นอีกหนึ่งส่วนของโครงสร้างของบ้านที่มีความสำคัญและต้องทำให้แข็งแรง สำหรับ ส่วนไม้ค้ำยันแผ่นพื้นของบ้าน วันนี้เราจะพาไปดูอีกหนึ่งภูมิปัญญาของฝรั่งที่สร้างเรือนไม้ที่เมืองแพร่ เรียกว่า ไม้ค้ำตง มีลักษณะที่แปลกเป็นท่อนไม้ตีไขว้ค้ำทแยงกัน โดยทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Watanyoo Thephuttee ได้โพสต์ภาพไม้ค้ำตง เป็นยังไงนั้นตามไปดูกันเลยครับ
advertisement
#ไม้ค้ำตง
หนึ่งในภูมิปัญญาฝรั่งในการก่อสร้างเรือนไม้ที่เมืองแพร่นั้น ก็คือ "ไม้ค้ำตง" ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อนไม้ตีไขว้ค้ำทแยงกันอย่างในภาพนี้ ไม้ค้ำตงภาษาอังกฤษเรียกว่า "Joist bridging" หรือ "Cross-bridging" ทำหน้าที่ค้ำยันระหว่างตงไม้เพื่อเสริมความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างพื้น ขณะเดียวก็ช่วยลดการแกว่งตัวของตงที่พาดช่วงยาว ทั้งยังช่วยลดเสียงลั่นของไม้พื้นเมื่อยามรับน้ำหนักได้ดี [ads]
สันนิษฐานว่าฝรั่งอเมริกันกลุ่มมิชชันนารีและนายแพทย์ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในสยามเมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 ได้นำเทคนิคการก่อสร้างแบบนี้เข้ามาใช้ในบ้านเราเป็นกลุ่มแรกๆ แต่ก็มิได้แพร่หลายออกไปมากนัก ถึงกระนั้นก็นับว่าโชคดีที่ยังคงเหลืออาคารไม้เก่าที่รักษาภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้ให้เราชื่นชมได้ ขณะเดียวกันก็มีอาคารร่วมสมัยบางแห่งที่ได้นำเทคนิคก่อสร้างแบบนี้ไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น "ตึกรังษีเกษม" ที่โรงเรียนน่านคริสเตียน เป็นต้นครับ
advertisementไม้ค้ำตง [ads]
advertisementตึกรังษีเกษม
advertisement
เป็นภูมิปัญญาฝรั่งที่ทำในเมืองไทยที่ยังมีการอนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูความสวยงามและภูมิปัญญาดีๆ ไม้ค้ำตง ไม้ตีไขว้ค้ำทแยงกัน แข็งแรงดี
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Watanyoo Thephuttee