มะเกลือ..สมุนไพรพื้นบ้านมีคุณอนันต์..พร้อมโทษมหันต์!!

advertisement
มะเกลือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyrosmollis Griff.
ชื่อสามัญ : Ebony tree
วงศ์ : Ebenaceae
ชื่ออื่น : ผีเผา ผีผา (ฉาน-ภาคเหนือ) มะเกลือ (ภาคกลาง), เกลือ (ภาคใต้), มะเกือ (ภาคอีสาน), มะเมีย (เขมร), มักเกลือ (ตราด).
advertisement

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปไข่หรือรีเรียงตัวแบบสลับ ปลายใบสอบเข้าหากัน โคนใบกลม หรือมน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หนึ่งช่อมี 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 ซม. โครกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ สีเหลืองเรียนเวียนซ้อนทับกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด
advertisement

ประโยชน์ในด้านการแพทย์
ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิลำไส้ ซึ่งมีข้อดีหลายประการ เช่น ราคาถูก มีอยู่ทั่วไปตามชนบท ถ่ายพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิปากขอ (Hookworm), พยาธิตัวตืด (Tapeworm), พยาธิตัวกลม (Roundworm), พยาธิเส้นด้าย (Threadworm) และพยาธิแส้ม้า (Whipworm)
ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม
ใช้ย้อมผ้า และแพรให้เป็นสีดำ ได้สีที่เข้ม ติดทนนาน ทาไม้ให้มีสีดำเป็นมันในการฝังมุกโต๊ะและเก้าอี้ ทำให้ลายสวยงามและเด่นขึ้น[ads]
advertisement

สรรพคุณทางยา
ตำรายาไทย
ผลสดสีเขียว : รสขื่นเฝื่อนเบื่อฝาด ขับพยาธิในไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัย ให้นำ
ผลดิบ สด ไม้ช้ำ ไม่ดำ : กรณีใช้ถ่ายพยาธิ ใช้เท่าจำนวนอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล โดยนำผลมะเกลือมะโขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำมาผสมกับหัวกะทิสด ดื่มก่อนอาหารเช้าทันที เตรียมใหม่ๆดื่ม ห้ามเก็บไว้จะเกิดพิษ หาก 3 ชั่วโมง ยังไม่ถ่าย ให้ใช้ยาถ่ายตาม (แต่ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี, สตรีตั้งครรภ์, ผู้ป่วย, อย่าใช้มากเกินขนาด, คนที่มีอาการแพ้อาจทำให้ท้องเสีย, มีอาการตามัว ถ้ารุนแรงทำให้ตาบอดได้ ควรนำส่งแพทย์ทันที)
ผลสุกสีดำ : ใช้ย้อมผ้า ย้อมแห ไม่นำมารับประทาน เพราะมีพิษ ทำให้ตาบอดได้ ราก รสเมาเบื่อ ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ ลำต้น แก้ซางตานขโมย แก้กระษัย ถ่ายพยาธิไส้เดือน ต้มน้ำอาบรักษาโรคดีซ่าน
เมล็ด : รสเมามัน ขับพยาธิในท้อง
เปลือกต้น : รสฝาดเมา เป็นยากันบูด แก้กระษัย ขับพยาธิ แก้พิษตานซาง แก้เบื่ออาหาร ขับเสมหะ แก้พิษ
ทั้งต้น : รสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้กระษัย แก่น รสฝาดเค็มขม เมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้ลม แก้ฝีในท้อง แก้ซางตานขโมย
ราก : ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม
advertisement

องค์ประกอบทางเคมี
พบสาร diospyroldiglucosideซึ่งเป็นสารฟีนอลิค ในกลุ่ม naphthalene เนื่องจากโครงสร้างของ diospyrolคล้ายคลึงกับสาร naptholซึ่งเป็นสารมีพิษต่อประสาทตา การกินมะเกลือมากเกินไป หรือหากสารถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการอักเสบของเรตินาได้
มะเกลือ เป็นสารพวกแนพธาลีนพวกหนึ่ง การเกิดอันตรายต่อตาคล้ายกับสารแนพธาลีน คือ ทำให้ประสาทตาอักเสบ (Optic neuritis) และถ้าเป็นอยู่นาน อาจทำให้ตาบอดได้ การอักเสบของประสาทตา และการตาบอดที่ตามมานั้น ขณะนี้ได้มีผู้ทำการค้นคว้าหาสาตุ และเข้าใจว่า อาจเกิดเนื่องจาก
1. เกิดน้ำคั้นผลมะเกลือตั้งทิ้งไว้นาน จนมีการเปลี่ยนสีจากเดิมแล้ว หรือ เอาไปต้ม ตากแดด
2. อาจใช้มะเกลือในขนาดมากเกินไป
3. เพราะผู้กินมีความไวต่อสารในผลมะเกลือมากกว่าบุคคลอื่นๆ
ยาทุกชนิดไม่ว่าจะได้มาจากพืช หรือสังเคราะห์โดยวิธีเคมี ก็ตาม เป็นเสมือน “ดาบสองคม” การน้ำมาใช้ผิดวิธี ใช้เกินขนาดหรือแม้แต่ใช้อย่างถูกต้อง ก็อาจเกิดอันตรายได้ เพราะบุคคลบางคนมีความไว และการตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกับคนทั่วไป เช่น บางคนแพ้ “ยาแก้แพ้” (Antihistamine) บางคนใช้ยากล่อมประสาทแล้วกลับได้รับผลตรงข้ามคือฝันร้าย สะดุ้งตกใจตื่นทั้งๆ ที่คนทั่วไปกินยาพวกนี้แล้วหลับสบาย คลายกังวลได้ดี ดังนั้นไม่ควรถือว่า สารใดๆ ก็ตามที่ให้ก็ตามที่ให้ประโยชน์ ก็ย่อมมีโทษแฝงด้วยเสมอ ในการใช้มะเกลือในการถ่ายพยาธิลำไส้ก็เช่นกัน อาจเกิดอาการแพ้ และเป็นอันตรายได้ในบางคน แต่ถ้าเราใช้โดยถูกวิธีและด้วยความระมัดระวัง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว อันตรายที่เกิดจากพิษของมันก็ควรน้อยลงด้วย[ads]
วิธีสังเกตผลมะเกลือว่ามีพิษหรือไม่?
advertisement

รูปที่ 1 ผลมะเกลือมีสีเขียวสดเหมาะที่จะใช้ถ่ายพยาธิ์
รูปที่ 2 น้ำคั้นจากมะเกลือสด
รูปที่ 3 ผลมะเกลือสีดำ ห้ามใช้ถ่ายพยาธิ์เป็นอันขาด
รูปที่ 4 น้ำคั้นจากผลมะเกลือที่ตั้งทิ้งไว้เปลี่ยนเป็นสีดำ ห้ามถ่ายพยาธิเป็นอันขาด
ข้าพเจ้าเห็นด้วยว่าในด้านสาธารณสุข ประชาชนตามหมู่บ้านต่างๆ ควรจะปลูกมะเกลือ และใช้ลูกมะเกลือในการถ่ายพยาธิ แต่ควรระมัดระวังมิให้เกิดตาบอดขึ้นได้ ดังกล่าวแล้วว่า
1. อย่ากินเกินขนาด (ดูข้างต้น)
2. ใช้ลูกมะเกลือสด ที่ยังเขียว กินทันที ไม่ทิ้งค้างไว้ ไม่ต้ม
3. ยังไม่สมควรใช้สารสกัดจากผลมะเกลือ ในระยะนี้ เพราะยังไม่มีการศึกษาวิจัยแน่นอนว่าจะแปรสภาพไปเป็นสารตัวที่ทำให้ตาบอดได้มากน้อยเพียงใด
advertisement

ข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่นๆ
2.ระวังอย่าให้เกินขนาด
3.ถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน
เรียบเรียงข้อมูลโดย : Kaijeaw.com, ขอขอบคุณที่มาจาก : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี