สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เตือนกลุ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน
advertisement
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เผยโรคมะเร็งตับอ่อนยังไม่สามารถตรวจคัดกรองได้ในระยะเริ่มแรก แนะป้องกันตนเอง โดยงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ควบคุมน้ำหนัก รับประทานอาหารไขมันต่ำ เน้นผักผลไม้ และที่สำคัญควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่าแม้ว่าโรคมะเร็งตับอ่อนจะพบได้ไม่บ่อยในคนไทยแต่มักพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะในเพศชายอายุระหว่าง60–65 ปี ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน แต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ พันธุกรรม โรคอ้วน รับประทานอาหารไขมันสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราและเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง [ads]
advertisement
โรคมะเร็งตับอ่อนเป็นโรคที่อาจพบได้น้อย แต่เมื่อพบแล้วมักอยู่ในระยะลุกลามและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาโรคมะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้น ดังนั้นควรป้องกันตนเองโดยงดสูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและผักผลไม้มาก ๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ
advertisement
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของโรคมะเร็งตับอ่อนเมื่อเริ่มเป็นมักไม่มีอาการแน่ชัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนมะเร็งในตับอ่อน ส่วนใหญ่มักมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง จากการที่ก้อนเนื้องอกโตไปกดเบียดท่อน้ำดี หรือมีอาการปวดบริเวณส่วนบนของช่องท้อง และร้าวไปด้านหลัง เนื่องจากตับอ่อนเป็นอวัยวะที่วางตัวอยู่ด้านหลังช่องท้อง [ads2]
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการมาพบแพทย์มักพบว่ามะเร็งลุกลามไปมากไม่สามารถผ่าตัดเพื่อหวังผลหายขาดได้ ในรายที่โรคลุกลามไปอวัยวะข้างเคียง มักกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองและเส้นประสาทด้านหลังทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก โดยเฉพาะในระยะท้ายๆ ของโรค ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อนจึงมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ การรักษามะเร็งชนิดนี้ที่สำคัญที่สุดคือการผ่าตัด การรักษามะเร็งตับอ่อนจะได้ผลค่อนข้างดีหากสามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกและอวัยวะข้างเคียงรวมถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้นออกได้ทั้งหมด [ads3]
advertisement
อาจมีการรักษาเพิ่มเติมโดยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาร่วมด้วยแต่มักไม่ได้ผลดี ส่วนในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หรือผ่าออกได้ไม่หมด การรักษาอาจเป็นการผ่าตัดระบายน้ำดี หรือทางเดินอาหาร และการรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย
ขอขอบคุณที่มาจาก : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข