ยางนา..เป็นยาแก้ปวด ช่วยบำรุงโลหิต!!
advertisement
ยางนา เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว มีการเปรียบเทียบว่าเป็นเสมือนพญาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ เพราะมีขนาดสูงใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อาจมีความสูงได้ถึง 50 เมตร และมีเส้นรอบวงที่ระดับอกถึง 7 เมตรเศษ ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไป และมีความสำคัญเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดอุบลราชธานี ยางนาเป็นไม้อเนกประสงค์ แทบทุกส่วนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ อีกมากมาย และมีคุณค่าทางด้านยาสมุนไพรด้วย อยากรู้กันแล้วใช่มั้ยคะว่ายางนามีสรรพคุณอย่างไรบ้าง ตาม Kaijeaw.com มาได้เลยค่ะ
ยางนามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dipterocarpus alatus Roxb.ex. G.Don มีชื่อพ้องว่า Dipterocarpus gonopterus Turcz., Dipterocarpus incanus Roxb., Dipterocarpus philippinensis Foxw. จัดอยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae
มีชื่อเรียกอื่นอื่นๆ ตามท้องถิ่นอื่นว่า ยางกุง (เลย), ยางควาย (หนองคาย), ชันนา ยางตัง (ชุมพร), ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก (ภาคเหนือ), ยางใต้ ยางเนิน (ภาคตะวันออก), ยาง (ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี), ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา), จะเตียล (เขมร), เยียง (เขมร-สุรินทร์), จ้อง (กะเหรี่ยง), ทองหลัก (ละว้า), ราลอย (ส่วย-สุรินทร์), ลอยด์ (โซ่-นครพนม), ด่งจ้อ (ม้ง), เห่ง (ลื้อ) เป็นต้น
advertisement
ยางนามีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด [ads]
advertisement
ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่
advertisement
ดอก : ออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้นๆแบบช่อกระจะ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ดอกขนาด 4 เซนติเมตร สีชมพูอ่อน ช่อละ 4-5 ดอก ดอกขนาดใหญ่เรียงตัวหลวมๆ เป็นช่อห้อยยาวถึง 12 เซนติเมตร ก้านช่อมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ส่วนปลายกลีบมนและบิดเวียน โคนกลีบชิดกัน ชั้นกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีแฉกยาว 2 แฉก และสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุม เกสรเพศผู้มากกว่า 25 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ปลายอับเรณูมีรยางค์รูปเส้นด้าย รังไข่มีขน ก้านเกสรตัวเมียอ้วน และมีร่อง
advertisement
ผล : เป็นผลแห้งรูปกระสวย มีหลอดกลีบเลี้ยงหุ้มจนมิด ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีปีกขนาดใหญ่ 2 อัน ที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง สีแดงอมชมพู กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 11-15 เซนติเมตร เมื่อสุกสีน้ำตาล เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนกลางผล มีครีบตามยาว 5 ครีบ เส้นผ่านศูนย์กลางผล 2.2-2.8 เซนติเมตร มี 1 เมล็ดต่อผล เมล็ดมีขนสั้นนุ่ม ปลายมีติ่งแหลม
มักขึ้นในป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-400 เมตร ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
advertisement
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของยางนา
เปลือกต้น – ตามตำรายาไทยจะน้ำต้มจากเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถูนวดขณะร้อน ๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ
น้ำมันยาง
– ต้นมีน้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น ใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่าย (Allium tuberosum Rottler ex Spreng.) นำมาคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาอุดฟันแก้ฟันผุ (น้ำมันยาง)
– น้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณห้ามหนองและสมานแผล ใช้ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน
– ใช้น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน แล้วนำมารับประทนเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี หรือใช้จิบเป็นยาขับเสมหะก็ได้
– น้ำมันยางดิบมีรสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ
เมล็ดและใบ – มีรสฝาดร้อน นำมาต้มใส่เกลือใช้อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
ใบและยาง – มีรสฝาดขมร้อน ใช้รับประทานกินเป็นยาขับเลือด ทำให้เป็นหมัน) [yengo]
องค์ประกอบทางเคมี น้ำมันยางเป็นของเหลวข้น มีกลิ่นเฉพาะ ได้จากการเจาะโพรงเข้าไปในต้นแล้วเอาไฟลน น้ำยางจะไหลลงมาขังในแอ่งที่เจาะไว้ น้ำมันยางที่ได้ เรียกว่า “ Gurjun Balsam” หรือ “ Gurjun oil ” เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ามันระเหยง่ายร้อยละ 70 มีองค์ประกอบเป็น alpha-gurjunene และ β-gurjunene
advertisement
โพรงที่ชาวบ้านเจาะลำต้น เพื่อเผาเอาน้ำมันยาง
ประโยชน์ของยางนา
– น้ำมันยางจากต้นนำมาใช้ผสมชันไม้อื่นๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรือเพื่ออุดรอยรั่ว ทาไม้ ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่องสว่าง
– น้ำมันยางจากต้นใช้ทำน้ำมันชักเงา ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์
– เนื้อไม้ยางนาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี เมื่อนำมาอาบน้ำยาอย่างถูกต้องก็จะช่วยทำให้มีความทนทานมากขึ้น
– ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าต้นยางนา จัดว่าเป็นไม้อเนกประสงค์ชนิดหนึ่งเลยค่ะ เพราะแทบทุกส่วนนั้นสามารถนำมาก่อให้เกิดประโยชน์ได้ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม โดยน้ำมันยางสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร ส่วนเนื้อไม้เหมาะสำหรับใช้สอยทั่วไปเฉกเช่นกับไม้สักทอง อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือยางนาเป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้มาก เป็นที่ต้องการในการใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ เป็นที่ต้องการของตลาดโลกเลยก็ว่าได้ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ และมีราคาสูงขึ้น แต่ไม้ชนิดนี้ก็จัดได้ว่าเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก ดังนั้นหากจะทำการใดๆ ต่อไม้จะต้องทำการขออนุญาตให้เรียบร้อยเสียก่อน และปฏิบัติตามข้อกำหนดข้อกฏหมายด้วยค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com