ว้าว!! “หมอจุฬาฯ” เจ๋ง! ค้นพบการรักษามะเร็งแนวใหม่ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ฆ่าเซลล์มะเร็ง
advertisement
ไทยขึ้นทะเบียนยายับยั้งเซลล์มะเร็ง 3 ตัว ผลข้างเคียงน้อยกว่าทำคีโม
รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวเรื่อง "ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง หรือ Immuno-Oncology(IO)" โดยระบุว่า จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศเรื่องการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
advertisement
ซึ่งพบน้อย เพียง 1-5 คนในการรักษาผู้ป่วย 100 คน แต่โดยรวมผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตยาวนานกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นถึงร้อยละ 20 ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาและยุโรปกว่า 47 ประเทศ ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่ที่ได้ผลดีที่สุดคือมะเร็งปอด และขณะนี้อยู่ในระหว่างวิจัยวัคซีนที่จะป้องกันการเกิดโรคซ้ำ
advertisement
สำหรับประเทศไทยตอนนี้มีตัวยาที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว 3 ตัว คือ ยาที่ใช้ยับยั้งมะเร็งผิวหนัง ชนิดฉีดทุก 2-4 สัปดาห์ ยาเบรกเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ให้เติบโต ชนิดฉีดในปริมาณ 200 มิลลิกรัม ทุก 3 สัปดาห์และยาใช้ยับยั้งมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดฉีด 2-3 สัปดาห์ ปริมาณตามน้ำหนักตัว ซึ่งโรงพยาบาลที่มีศูนย์รักษามะเร็งสามารถสั่งไปใช้ได้แล้ว แต่ราคายังค่อนข้างสูงและต้องฉีดเรื่อยๆ จนกว่าเซลล์มะเร็งจะหมด [ads]
อย่างไรก็ตาม แม้ในทางการแพทย์จะมีวิธีในการรักษามะเร็งได้ แต่ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเกิดโรคด้วยวิธีง่ายๆ คือกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศไม่ถ่ายเท หรือมีมลภาวะ พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ทำอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ ขับถ่ายให้เป็นเวลา และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ขอขอบคุณที่มาจาก : manager.co.th