ยิ่งทำงานหนัก ยิ่งเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง”
advertisement
เรากำลังทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาพักอยู่หรือเปล่า? การทุ่มเทให้กับงานของคนยุคใหม่ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมทั้งการเผชิญกับมลภาวะรอบตัวในทุกวัน ได้สร้างโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มาทำร้ายเราซึ่ง “โรคหลอดเลือดสมอง” ก็เป็นอีกหนึ่งในโรคยอดฮิตที่คร่าชีวิตคนไทย
advertisement
ล่าสุด ก็มีข่าวนักแสดง และผู้กำกับชื่อดัง ถูกหามส่งโรงพยาบาลกะทันหัน เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากวูบกลางกองละคร โดยแพทย์ตรวจพบเส้นเลือดในสมองตีบ
ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดสมอง ( stroke ) เป็นต้นเหตุของอาการอัมพฤกษ์-อัมพาต และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต โดยเฉพาะในเพศชาย ในแต่ละปีมีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ประมาณ 6 ล้านคน และในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งโรคนี้แม้จะดูอันตราย แต่ป้องกันได้ ถ้าเราเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ โดยหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ก็จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรคชนิดนี้ได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา น้ำหนักเกินและอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว และภาวะเครียด ทำงานหนักพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยมีผลวิจัยพบว่า ผู้ที่ทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และการทำงานหนักติดต่อเป็นเวลานานก็เพิ่มความเสี่ยงเช่นกัน [ads]
advertisement
โรคหลอดเลือดสมอง เกิดได้จากสาเหตุ 2 ประการคือ หลอดเลือดสมองแตก (พบผู้ป่วยประมาณ 20-30%) และหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน (พบผู้ป่วยประมาณ 70-80%)
1.หลอดเลือดสมองตีบ มาจากการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เช่น มีไขมันและหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เช่น มีไขมันและหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดหรือเกิดจากลิ่มเลือดจากที่อื่นมาอุดตันเช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจ เป็นต้น
2.หลอดเลือดในสมองแตก เกิดจากความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน หลอดเลือดโป่งพอง เป็นต้น พอหลอดเลือดในสมองแตก ก็จะมีเลือดออกมาและมีการจับตัวของเลือด เกิดเป็นก้อนเลือดไปเบียดเนื้อสมองส่วนอื่น ๆ ทำให้การทำงานของสมองเสียไป
advertisement
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิต เพราะมีหลายคนที่กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็มีอาการหนักจนต้องหามส่งโรงพยาบาลแล้ว ขณะที่อีกหลายคนไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า การสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองเป็นสิ่งหนึ่งที่ป้องกันอันตรายจากโรคนี้ได้ [ads2]
1. มีอาการแขนขาอ่อนแรง ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
2. มีอาการชาครึ่งซีก
3. สูญเสียการทรงตัว
4. มองไม่เห็นภาพครึ่งหนึ่งของลานสายตา
5. มองไม่เห็นอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
6. มองเห็นภาพซ้อน
7. พูดไม่ชัด กลือนลำบาก ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง
8. มีความผิดปกติของการใช้ภาษา พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง นึกคำไม่ออก หรือใช้ภาษาผิด
9. เวียนศีรษะ บ้านหมุน
10. ปวดศีรษะมาก รุนแรง
11. แขนขาเคลื่อนไหวสะเปะสะปะ บังคับไม่ได้
12.ความจำเสื่อมหรือหลงลืมแบบทันทีทันใด
13. ซึมลงจนหมดสติ
advertisement
นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตง่ายๆ โดยจำคำว่า "BEFAST"
B = Balance มีอาการสูญเสียการทรงตัว
E = Eyes มีปัญหาการมองเห็น มองไม่ชัด อาจเป็นได้ทั้งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
F = Face มีอาการอ่อนแรงของใบหน้าซีกหนึ่ง เช่น มุมปากไม่เท่ากัน ปากข้างหนึ่งตก ยิ้มไม่เท่ากัน
A = Arms มีอาการอ่อนแรงของแขน หรือ ขาซีกใดซีกหนึ่ง
S = Speech มีปัญหาการพูดและความเข้าใจภาษา เช่น พูดไม่ชัด นึกคำไม่ออก ใช้คำพูดผิด หรือฟังคนพูดไม่ออกไม่เข้าใจ
T = Time รีบส่งพบแพทย์โดยเร็วที่สุด [ads3]
advertisement
นอกจากการสังเกตความผิดปกติของร่างกายแล้ว การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นอีกแนวทางป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยหากพบว่ามีความดันโลหิตที่มากกว่า 140/80 mmHg ควรพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก กินผักผลไม้ทุกวัน และงดบุหรี่เลิกเหล้า เพื่อสุขภาพที่ดีแข็งแรงห่างไกลโรคนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กิดานัล กังแฮ, หนังสือ รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง และคู่มือ องค์ความรู้ด้านวิถีชีวิตกับโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สำนักงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการแปรงานวิจัยสุขภาพสู่การปฏิบัติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)