ยูคาลิปตัส..แก้หวัด คัดจมูก!!

advertisement
“ยูคาลิปตัส” เดิมทีเป็นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลียค่ะ ต่อมากลายเป็นที่นิยมปลูกกันไปทั่วโลก รวมถึงเมืองไทยด้วย โดยมีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย เพราะต้นยูคาลิปตัสนี้ปลูกง่าย โตเร็ว และมีประโยชน์ในทางยารักษาโรค,ใบใช้นำมากลั่นน้ำมันหอมระเหย, ดอกใช้เลี้ยงผึ้ง, เนื้อไม้ทำฟืน ทำเสาเข็ม แล้วยังนำมาทำเยื่อกระดาษด้วย รวมทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และวันนี้ Kaijeaw.com จึงได้พาให้คุณมารู้จักกับยูคาลิปตัสให้มากขึ้นในเรื่องของสมุนไพรกันค่ะ
advertisement

ยูคาลิปตัสมีชื่อสามัญว่า Eucalyptus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eucalyptus globulus Labill. จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE) และมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า โกฐจุฬารส น้ำมันเขียว มันเขียว ยูคาลิป (ไทย), อันเยี๊ยะ หนานอัน (จีนกลาง)
advertisement

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยูคาลิปตัส เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ค่อนข้างกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือก เปลือกหุ้มลำต้น มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่ายในขณะสด ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) เรียงสลับ เป็นรูปหอกยาว 3-12 นิ้ว กว้าง 0.5-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนหม่นๆ ทั้งสองด้าน ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัด [ads]
advertisement

ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว มีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปี ผล ผลมีลักษณะครึ่งวงกลมหรือรูปถ้วย ผิวนอกแข็ง เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ใบสด น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด
advertisement

สรรพคุณทางสมุนไพรของยูคาลิปตัส
ใบและเปลือกราก – มีรสขมเผ็ด กลิ่นหอม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ลำไส้ และทางเดินปัสสาวะ ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัดติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่
ใบ
– ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิเมตร (ประมาณ 8 หยด) นำมารับประทานหรือทำเป็นยาอม
– ช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบ
– ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ แก้บิด
– ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
– ใช้แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนัง
– ช่วยแก้ฝีมีหนองอักเสบ ฝีหัวช้าง
วิธีการใช้
– ใช้ใบยาแห้งครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับปะทานหรือใช้เข้ากับตำรับยาอื่น
– การใช้ภายนอกให้กะตามความเหมาะสม ส่วนใบสดให้ใช้ครั้งละ 18-30 กรัม
– ไล่หรือฆ่ายุง แมลง ใช้ใบสด 1 กำมือ ขยี้ กลิ่นน้ำมันจะออกมาช่วยไล่ยุงและแมลง
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรยูคาลิปตัส
– ห้ามรับประทานน้ำมันที่สกัดได้จากยูคาลิปตัส มากกว่า 3.5 ซีซี ต่อ 1 ครั้ง เพราะจะทำให้เกิดอาการเป็นพิษ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร [yengo]
advertisement

ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันยูคาลิปตัส
1) บรรเทาอาการหอบหืด หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ หรือเป็นไซนัส น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสนี้มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ลดอาการอักเสบ อาการบวม วิธีการใช้ให้หยดน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสในสำลีสูดดม หรือหยดในอ่างน้ำร้อนแล้วคลุมศีรษะด้วยผ้าขนหนู ให้ไอระเหยขึ้นมาสูดลมหายใจลึกๆ หรือผสมกับน้ำมันชนิดอื่นเช่น โจโจบา หรือน้ำมันมะพร้าว แล้วทาบริเวณหน้าอกจากนั้นพันคอด้วยผ้าเพื่อให้ความร้อนในตัวเร่งให้น้ำมันระเหยเข้าทางลมหายใจ
2) รักษาแผล น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรค สามารถใช้ใส่แผล รักษาแผลพองจากไฟไหม้ หรือรอยขีดข่วน นอกจากนี้ยังแก้แมลงกัดต่อย และไล่ยุงและแมลงได้ด้วย
3) ใช้ผสมน้ำมันถูนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ด้วยสรรพคุณที่ทำให้เกิดอาการชาและลดการบวม จึงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดเมื่อยผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้นด้วย
4) ทางสุคนธบำบัดใช้เพื่อให้เกิดความรู้สึกตื่นตัวมีพลังทำให้จิตใจสบาย น้ำมันหอมยูคาลิปตัสมีผลโดยตรงต่อระบบประสาท ทำให้เกิดความสงบและผ่อนคลายได้ในทันทีที่สูดดม
5) ในเรื่องผิวพรรณ ใช้ลดความมันของผิวได้ ยูคาลิปตัสมีสรรพคุณควบคุมต่อมไขมัน จึงสามารถกำจัดไขมันส่วนเกินที่เป็นสาเหตุให้ผิวมันหรือเกิดสิวได้
6) ลดเบาหวาน มีรายงานว่าการรับประทานน้ำมันยูคาลิปตัสช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ควรตรวจสอบวิธีใช้ที่ถูกต้องให้ละเอียดก่อนรับประทาน
7) ใช้เป็นน้ำยาปรับอากาศ หรือน้ำยาระงับกลิ่นตัว ด้วยการผสมกับน้ำสะอาดและฉีดในบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค หรือเพิ่มกลิ่นหอมในห้อง หรือระงับกลิ่นตัว
8) ช่วยกำจัดกาวเหนียวต่างๆ ที่ติดกับเฟอร์นิเจอร์ ขวดแก้วต่างได้ดี
ต้นยูคาลิปตัส มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันหลายฝ่ายจึงได้หันมาให้ความสำคัญกับไม้ยูคาลิปตัสมากขึ้น สามารถปลูกเพื่อเป็นอาชีพ เพราะยูคาลิปตัสกลายเป็นวัตถุดิบหลัก สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่เพียงเยื่อ และกระดาษเท่านั้น แต่ยังเป็นชิ้นไม้สับ แผ่นใยไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัด และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท และมีความสำคัญใช้ในทางยารักษาโรคอย่างดีมากเลยทีเดียวค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com