รถมือสอง!! ซื้อใช้หรือซื้อมาซ่อม และถ้าเกิดเหตุการณ์รถพัง ต้องทำยังไง ยกเลิกสัญญาได้หรือป่าว
advertisement
ทุกวันนี้เรื่องรถกลายเป็นเรื่องที่ที่ไหนก็ดาวน์ได้ อาชีพไหนก็ซื้อได้เพราะเกลื่อนเมืองเหลือโดยเฉพาะรถมือสองที่ภายนอกสภาพดี ก็นำมาจัดโปรโมชั่น ผ่อนสบายดาวน์ถูกจนเป็นสิ่งที่เรียกร้องความสนใจสำหรับใครหลายคนเพราะบางคนนั้นต้นทุนในการจะซื้อต่างกันก็เลยเลือกที่จะซื้อรถมือสอง เพราะเงินดาวน์น้อยมาก แต่เมื่อถููกแล้วปัญหาที่ตามานั้นก็ค่อค้างจะเยอะและเชื่อว่าหลายคันนั้น เคยเจอแบบนี้ วันนี้ไข่เจียวจึงจะพาไปดูปัญหากัน และถ้าเกิดเหตุรถพังเพียงในเวลาไม่นานจะทำยังไง และจะยกเลิกสัญญาได้ไหม[ads]
advertisement
หลายท่านคงผิดหวังกับความตั้งใจ ในการซื้อรถยนต์มาใช้ แต่กลายเป็นว่า ได้รถมาซ่อมแทน
เพื่อนผม…กู้เงินมาดาวน์รถแท็กซี่มือ 2 เพื่อมาขับรับจ้าง จากบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อ ในการขายรถแท็กซี่ โดยมีข้อตกลงว่า รถยนต์ต้องอยู่ในสภาพใช้การได้ดี และรับประกัน 6 เดือน ผ่อนเดือนละ 9,000 บาท
เมื่อตกลงเช่นนั้นก็ทำสัญญา จ่ายเงินดาวน์ และตรวจรถก่อนรับรถ
การตรวจรถก่อนส่งมอบ สภาพภายนอกเป็นปกติ สภาพภายในเครื่องยนต์ แอร์เย็น เครื่องยนต์สตาร์ทได้ตามปกติ และตรวจสอบด้วยตาเปล่าไม่พบข้อบกพร่อง
เมื่อนำรถกลับมาบ้าน ซึ่งห่างจากร้านจำหน่ายรถยนต์ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร เครื่องยนต์ดับ โดยไม่ทราบสาเหตุ..
แต่ตอนนั้นเป็นช่วงเย็นแล้ว เพื่อนผมพยายามโทรติดต่อร่านจำหน่ายรถทันที ก็ติดต่อไม่ได้เพราะหมดเวลาทำการ
เขาจึงโทรเรียกช่างยนต์ในอู่ที่รู้จักกันให้มาดูให้ เมื่อช่างมา จึงพบว่า ประเก็นฝาสูบรั่ว จนเครื่องร้อน มีการโอเวอร์ ฮีท จนฝาสูบโก่ง ซึ่งเป็นมาตั้งแต่อยู่ในร้าน และตรวจดูด้วยตาเปล่าจากภายนอกไม่ได้
เพื่อนผมตัดสินในให้อู่ซ่อมไปก่อน แค่พอให้วิ่งได้ เพราะจะเข้าไปให้ทางร้านจำหน่ายรถซ่อมให้
หลังจากอู่ทำให้วิ่งได้ วันถัดไปเขาก็ไปที่ร้านให้ร้านซ่อมให้ แต่ร้านไม่ย่อมซ่อม เพียงแต่แก้อาการให้พอวิ่งได้ 3 วันดี 4 วันไข้ แบบไม่มีความรับผิดชอบ
เขาโทรมาหาผมว่า ต้องการคืนรถ จะทำอย่างไร
ผมทำหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ และขอเงินดาวน์คืน โดยให้ทางไฟแแนนซ์ มารับรถกลับไปด้วย
เหตุผลที่ผมขอยกเลิกสัญญา เพราะมีเหตุตามกฎหมายที่จะขอยกเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะเกิดจากกลฉ้อฉลถึงขนาด ตาม ปพพ.มาตรา 159 ของผู้ขาย
ฝ่ายไฟแนนซ์ ส่งคนมารับรถคืน แต่ไม่ยอมคืนเงินดาวน์ให้
ไม่คืนเงินดาวน์ ฝ่ายเราก็เตรียมฟ้อง !!!
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ไฟแนนซ์ก็ยื่นฟ้องเราก่อน โดยเรียกค่าขาดประโยชน์ และ ส่วนต่างจากการขายทอดตลาดแล้วขาดทุน รวมเป็นเงิน 200,000 บาท
ผมให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่าซื้อ แต่รถยนต์พิพาทที่ซื้อมา จำเลยคาดหวังว่า จะซื้อมาใช้ในการนำมาประกอบธุรกิจขนส่งบุคคลสาธารณะ โดยผู้ขายฝ่ายโจทก์ รับประกันสินค้าว่า เป็นรถยนต์ที่อยู่ในสภาพใช้การได้ดี แต่ความจริง รถยนต์คันพิพาท ไม่ได้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ กล่าวคือ … รถยนต์คันดังกล่าว มีสภาพเครื่องยนต์ชำรุดถึงขนาดใช้งานไม่ได้ อันเกิดจากความร้อนในห้องเครื่อง จนฝาสูบโก่ง ไม่อาจขับได้ และแม้จำเลยพยายามที่จะซ่อมก็ไม่สามารถทำให้ได้ดีเหมือนที่โจทก์รับรองคุณภาพสินค้า
จำเลยได้ยกเลิกสัญญาโดยการบอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว
นอกจากนั้น ผมยังฟ้องแย้ง เรียกเงินดาวน์ 95,000 พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถในการรับจ้าง วันละ 1,200 บาท เป็นเวลา 180 วัน พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี และอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 225,500
ทนายโจทก์ ขอเวลาตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า เป็นดังที่ทางจำเลยอ้างหรือไม่
ต่อมา โจทก์ขอประณีประนอมยอมความ โดยขอให้จำเลยถอนฟ้อง และโจทก์ขอถอนฟ้อง พร้อมยอมชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลย 100,000 บาท
ถามผู้รับมอบอำนาจโจทก์ตรงๆว่า ทำไม่ยอมง่ายจัง
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์บอกว่า ไม่ค่อยมีคนขับแท็กซี่ฟ้องกลับ และไม่อย่างเสี่ยง ถ้าหากแพ้คดีขึ้นมา จะเป็นตัวอย่างให้แท็กซี่คนอื่นๆ หรือ คนซื้อรถมือสอง ฟ้องบริษัทกลับ ผู้บริหารจึงต้องการให้คดีนี้จบโดยไม่มีคำพิพากษา…
สรุปว่า เพื่อนผมยอมถอนฟ้องและได้เงินไปใช้
จากจะซื้อมาขี่ต้องซื้อมาซ่อม[ads]
advertisement
รถมือสองจะซื้อมาขี้หรือจะซื้อมาซ่อม แต่ก็ต้องบอกว่าเป็นเพียงไม่กี่คันนะคะ เพราะบางคันที่ซื้อไป็ซ่อมตามอายุการใช้งาน แต่ถ้าเจอแบบเหตุการณ์ เราก็ควรที่จะรู้ไว้ จะได้ไม่เสียฟรี
เรียบเรียงโดย: kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก: เกิดผล แก้วเกิด