ร้อนในในช่องปาก..แก้อย่างไร?
advertisement
ใครมีอาการ ร้อนในในช่องปากกันบ่อยๆ บ้างคะ เป็นแผลพุพองในปาก หรือลิ้น เมื่อเป็นแล้วจะสร้างความเจ็บปวดทรมานมากๆ รบกวนจิตใจไม่รู้หาย เพราะไม่ว่าจะทานอะไรก็สร้างความรู้เจ็บปวดในทุกที โดยส่วนใหญ่นั้นมักจะมาจากพฤติกรรมการกิน และการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสม โดยจะส่งผลความร้อนในร่างกายเกิดความไม่สมดุลกัน จึงเกิดเป็นแผลในบริเวณช่องปาก และลิ้น ดังนั้น สำหรับใครที่มีอาการร้อนในในช่องปาก ตาม Kaijeaw.com มาดูวิธีการแก้ไขรักษากันดีกว่าค่ะ
สาเหตุของร้อนในในช่องปาก
advertisement
ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Apthous ulcer) คือ แผลเปิดภายในช่องปากเกิดจากการแตกของเยื่อเมือก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างชัดเจนว่า ร้อนในเกิดขึ้นจากอะไร แต่มีหลายปัจจัยที่มักจะก่อให้เกิดอาการร้อนในขึ้น เช่น
– ร่างกายขาดน้ำ
– ท้องผูก มีอาการร้อนภายในร่างกาย
– นอนดึก อดนอนเป็นประจำ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
– ความเครียด ความเหนื่อยล้า
– การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ผู้หญิงในช่วงก่อนประจำเดือนมา หรือผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ มักมีอาการร้อนในเกิดขึ้น
– การแพ้อาหารบางชนิด
– การขาดวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก
– การสูบบุหรี่
ทางการแพทย์แผนจีนนั้นอาการร้อนในเกิดจาก "หยินหยาง" ในร่างกายไม่สมดุลกัน หากใครมี "หยิน" พร่อง เมื่อได้รับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร้อนในร่างกายก็จะเป็นร้อนในได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร้อนในร่างกายก็อย่างเช่น ทานของมัน ของทอด อากาศร้อน พักผ่อนน้อยไป เป็นต้น [ads]
advertisement
ลักษณะของอาการร้อนใน
เมื่อมีอาการร้อนใน จะเกิดแผล หรือช่วงแรกอาจเกิดตุ่มแดงขนาดเล็กในช่องปาก บริเวณริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม หรือขอบลิ้น และหลังจากนั้นตุ่มแดงก็จะกลายเป็นสีแดงนูน ส่งผลให้มีอาการปวดบวม และรู้สึกเจ็บปวดเมื่อถูกสัมผัส โดยอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ก็สามารถหายไปได้เอง
วิธีรักษาอาการร้อนใน
อาการร้อนในแม้ว่าอาการที่ไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย และสามารถหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ โดยสามารถรักษาได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. การบ้วนปากแก้ร้อนใน โดยการใช้น้ำเกลือบ้วนปาก เพื่อช่วยลดอาการอักเสบของแผล รวมถึงฤทธิ์ของเกลือสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
2. ยาแก้ร้อนใน โดยส่วนใหญ่นั้นจะเป็นยาที่ใช้รักษาอาการร้อนในจะเป็นตัวยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดทา เพื่อลดอาการอักเสบ และบรรเทาความเจ็บปวด ซึ่งยาเหล่านั้นได้แก่
– ไตรแอมซิโนโลน อะเซทโทไนด์ (Triamcinolone acetonide)ซึ่งเป็นยาชนิดขี้ผึ้ง โดยใช้ทาวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
– ฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ (Fluocinolone acetonide) ซึ่งเป็นยาที่มีทั้งชนิดทา และชนิดสารละลาย
– คลอร์เฮ็กซิดีน กลูโคเนต (Chlorhexidine gluconate) ซึ่งเป็นยที่ใช้บ้วนปาก โดยใช้อมวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที หลังอาหาร
3. สมุนไพรแก้ร้อนใน ด้วยสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น ได้แก่ ใบบัวบก มะระขี้นก ว่านรางจืด หญ้าปักกิ่ง มะระ ชะอม แตงกวา ผักกาดขาว หัวไชเท้า มะเฟือง อ้อย ส้มโอ มังคุด ตำลึง มะตูม เก๊กฮวย รากบัว หล่อฮังก๊วย เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีสมุนไพรที่ใช้รักษาได้ในรูปแบบตัวยา ทั้งชนิดแคปซูล และชนิดชง ให้เลือกใช้ตามความสะดวกอีกด้วย [yengo]
ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการรักษาตัว เพื่อช่วยให้แผลในปากนั้นหายได้เร็ว
– หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกของทอด ของมัน ขนม น้ำตาล ทุเรียน ลำไย ข้าวเหนียวมะม่วง ฯลฯ เพราะอาหารพวกนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนสะสมในร่างกาย
– หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น กระเทียม หอม ขิง ฯลฯ
– รักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี แปรงฟันทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วอย่างน้อย 30 นาที ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังอาหารด้วย
– รับประทานผักผลไม้ให้มาก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุ วิตามินอย่างครบถ้วน และจะได้ป้องกันอาการท้องผูก เพราะร้อนในมักเป็นร่วมกับท้องผูก
– ดื่มน้ำให้มากๆ ในแต่ละวัน
– ไม่เครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดร้อนในในช่องปากได้
– หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมาช่วยลดความเครียด
– หลีกเลี่ยงการตากแดดจัดๆ เพราะจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
– นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
เพราะว่าอาการร้อนในนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเมื่อสภาพร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งเมื่อเป็นแล้วสร้างเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างมาก ดังนั้นควรใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หรือการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ห่างไกลโรคภัย และโดยปกติแล้วแผลร้อนในมักจะหายไปได้เองภายใน 7 วัน หลังจากนั้นหากไม่ดีขึ้น หรือเป็นแผลใหม่ต่อเนื่อง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com