ลองสังเกตตัวเอง หากนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ระวังสัญญาณเตือน 7 โรค ต่อไปนี้…
advertisement
หลายๆ คนน่าจะมีความรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนเวลาบ่ายๆหลังทานอาหารกลางวันอิ่มๆ โดยเฉพาะวันไหนที่กินอิ่มมากๆ ยิ่งทำให้อาการนี้กำเริบหนักมากไปกว่าเดิม อาการที่เป็นอยู่นี้สื่อถึงอะไรได้บ้าง โรคใดบ้างที่คุณอาจจะเป็นได้ มาลองหาคำตอบกันสักหน่อยดีกว่า
1. โรคนอนไม่หลับ
อาจเป็นเพราะคุณนอนดึกมากๆ ทำงานหนักมากๆ งานเยอะมากๆ หรือเครียดมากๆ จนนอนไม่หลับ ซึ่งการนอนไม่หลับแบบสะสม ทำให้วันต่อๆ มาเกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวันได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ควรคลายเครียดสักหน่อย ลดการทำงานในตอนกลางคืนลงเสียบ้าง หรือปรึกษาแพทย์สักหน่อยก็ได้ อะไรๆจะได้ดีขึ้น
advertisement
2. โรคอ่อนเพลีย
เมื่อนอนไม่หลับติดต่อกันนานๆก็จะเกิดเป็นโรคอ่อนเพลียขึ้นได้ เพราะโรคนี้เป็นขั้นกว่าของโรคนอนไม่หลับ เมื่อร่างกายสะสมความอ่อนเพลียหนักขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
นอกจากการนอนไม่พอแล้ว โรคนี้ยังอาจมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารบางประเภท เช่น อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไปด้วย การที่ร่างกายได้รับอาหารเหล่านี้มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดความเพลีย อ่อนล้า ง่วงนอน ความจำไม่ค่อยดี ปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว และนอนหลับไม่สนิทได้ [ads]
3. โรคเบาหวาน
การบริโภคแป้งและน้ำตาลสูงๆ ทำให้เกิดเป็นโรคล้าเรื้อรังได้ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ ยังเป็นบ่อเกิดของโรคเบาหวานได้อีกด้วย เพราะการที่เลือดมีปริมาณน้ำตาลสูงๆ ก็จะทำให้เกิดเป็นอาการง่วงนอนขึ้นโดยทันที เพื่อเตือนให้ร่างกายทราบว่า ขณะนี้ร่างกายกำลังอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแล้ว หากยังฝืนทานต่อไปเรื่อยๆจะนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในอนาคตอันใกล้
advertisement
4. โรคลมหลับ
โรคนี้หมายถึง อาการง่วงนอนอย่างมากในตอนกลางวัน แต่กลับตาสว่างในตอนกลางคืน จะข่มตาหลับก็หลับไม่สนิท หรือพอได้นอนปุ๊บก็จะฝันทันที ทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง และส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อยๆด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการสมองช้า ขาดสมาธิ สุขภาพจิตเสีย หรือแม้กระทั่งการเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิต
5. โรคโลหิตจาง
ผู้หญิงเป็นเพศที่มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางได้ง่าย เพราะส่วนหนึ่งเลือกทานอาหารและต้องสูญเสียโลหิตจากการมีประจำเดือน ซึ่งอาจนำมาสู่การอ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยง่าย เชื่องช้า เซื่องซึม และไม่สดใสในที่สุด
6. เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกาย
การสูญเสียเลือดในปริมาณมากๆ บ่อยๆ เช่น มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรืออาจจะสูญเสียเลือดจากการเป็นโรคริดสีดวงทวารบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการอ่อนเพลีย หรืออยู่ในภาวะโลหิตจางเรื้อรัง เลยแสดงอาการเหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมง่าย อ่อนแรง และง่วงหงาวหาวนอนได้เช่นกัน
7. โรคนอนเกิน (Hypersomnia) หรือ การหลับเกินพอดี
โรคสุดท้ายเป็นโรคที่เกิดในคนขี้เซาเป็นหลัก โดยคนพวกนี้มักจะรักการนอนเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งพักผ่อนด้วยการนอนมากเท่าไรก็ยังรู้สึกไม่พอ เมื่อนอนติดต่อกันมากๆ จะทำให้ผู้ป่วยดูเฉื่อยฉา ซึมเซา ไร้ชีวิตชีวา หรือไม่ค่อยทานอาหาร เพราะเอาเวลาไปนอนซะหมด แต่กลับพบอาการอ้วนได้ง่าย เนื่องจากการนอนเยอะเกินไปอาจมีธาตุเครียดเข้ามาผสม
อาการง่วงมากเกินไปนี้หากเป็นติดต่อกันจนติดเป็นนิสัย จะถือเป็นสิ่งที่ผิดปกติที่ควรรีบแก้ไข โดยคนที่มีภาวะนี้จะเป็นคนที่ตื่นยากมาก หรือเมื่อตื่นแล้วก็ยังรู้สึกว่าต้องการนอนต่อไปอีก และระหว่างวันก็ต้องการที่จะงีบหลับหลายๆ ครั้ง
advertisement
1. หงุดหงิดง่าย เครียดได้ง่าย
2. วิตกกังวล หดหู่ เศร้าใจ
3. ความคิดอ่านไม่แล่น สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา
4. ความจำไม่ดี ไม่เอาการเอางาน[ads]
advertisement
6. กระดูกพรุน ข้อเสื่อม เพราะติดนอนไม่อยากลุกไปไหน ทำให้ความคล่องตัวเริ่มหายไป
7. น้ำหนักเกิน เพราะวันๆ เอาแต่กินกับนอน ไม่ไปไหน
การนอนอย่างพอดีเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่ถ้าเกินคำว่าพอดีไ ก็จะทำให้เกิดอันตรายอย่างที่กล่าวไปได้ แล้วคำว่าพอดีควรเป็นอย่างไร นี่อาจเป็นคำถามหนึ่งในใจของคุณ ซึ่งคำว่าพอดีที่เรากล่าวถึงนี้ อยู่ที่การนอนประมาณวันละ 6-8 ชั่วโมง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับช่วงอายุและกิจกรรมที่แต่ละบุคคลทำระหว่างวันด้วย
ผู้ที่มีชั่วโมงการนอนหลับมากกว่า 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้าคุณนอนเยอะไป ถึงแม้ว่ายังมีอายุยังน้อยอยู่ แต่อายุสมองของคุณอาจจะแก่มากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งย่อมส่งผลให้ความคิดความอ่านไม่โลดแล่นเหมือนกับตอนที่ยังเป็นเด็กหรือมีอายุน้อยอยู่ได้
จากที่เรากล่าวไปทั้งหมดนี้ ก็อยากจะเตือนท่านผู้อ่านทุกท่านว่า “อย่าปล่อยให้การนอนกลับทำร้ายคุณอีกต่อไปเลย” หากคุณนอนน้อยหรือมากเกินไปย่อมส่งผลโดยตรงกับสุขภาพของคุณทั้งสิ้น หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ ก็ลองไปพบแพทย์เพื่อช่วยกันหาแนวทางการแก้ไขดู เพื่อให้การนอนหลับพักผ่อนของคุณเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและเป็นการพักผ่อนที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดนั่นเอง