ควรเลิกเชื่อ !! 5 ความเชื่อผิดๆของ “ละครไทยกับการแพทย์”!!
advertisement
เรื่องของการถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อต่างๆเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะเวลาดูละครที่มีฉากเกี่ยวกับการแพทย์ การรักษา การปฐมพยาบาล บุคลากรในวงการแพทย์ทุกคนจะก่นด่า บ่นกันจน facebook แตก เพราะเราจะเห็นจุดผิด จุดมั่วอยู่มากมาย วันนี้เราเลยอยากยกตัวอยากฉากในละครที่ต้องเจอบ่อยๆ
1 ฉากแรกเลยก็คือ การใช้หน้ากากเพื่อช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจน บางทีคนที่แสดงเป็นคนไข้เป็นเด็ก แต่เอาหน้ากากขนาดใหญ่มาใส่ครอบเลยปากเลยจมูก บีบไปอากาศออกหมดไม่ได้ช่วยอะไรเลย แถมถุงที่บีบเพื่อช่วยหายใจ(ambu bag) ก็ใหญ่มาก มันไม่ใช่ขนาดสำหรับเด็ก การบีบ ambu bag นี้ต้องใช้ขนาดที่พอดีสำหรับแต่ละวัย และบีบในความแรงที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อากาศเข้าปอดมากจนเกินไป
2. ฉากต่อมา เรื่องการทำสวย แต่หน้าแต่งตา ขนตาเด้ง หน้าจะสวยฉ่ำมาเลยก่อนเข้าห้องผ่าตัดหรือกระทั่งอยู่บนเตียงผ่าตัดแล้วก็ตาม จริงๆแล้วคนไข้ที่จะเข้าห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้ามแต่งหน้า แม้แต่ยาทาเล็บก็ยังทาไม่ได้ เพราะการผ่าตัดเราต้องดูลักษณะสีผิวที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเกิดความผิดปกติ เช่น เสียเลือดมากปากจะซีด หน้าจะซีด ขาดออกซิเจน หน้าจะเขียวคล้ำ ถ้าแต่งหน้ามาเต็มการดูสิ่งเหล่านี้ก็จะยาก [ads]
3. ต่อมาเรื่องการแจ้งข่าวร้าย ในละครไทย
"หมอช่วยเต็มที่แล้ว คนไข้ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียใจด้วยครับ"
"หมอพยายามเต็มที่แล้ว คนไข้มาถึงช้าไป ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ"
– ถ้าในชีวิตจริงแล้ว ไม่เคยใช้ประโยคนี้เลย ถ้าลองย้อนกลับไปอ่านใหม่จะเห็นว่า มันสั้นเกินไป และมีช่องโหว่ของประโยคเหล่านี้อยู่หลายจุด ลองไปดูทีละจุดแล้วเราค่อยมาว่ากันว่าชีวิตจริงๆใช้อย่างไร "ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" ทำให้เกิดคำถามเนาะ ว่ามั้ยครับ ว่าบาดแผลมันมีพิษยังไง แบบพิษงูอะไรแบบนี้รึป่าว ส่วนตัวสงสัยทุกครั้ง เลยครับที่ได้ยินประโยคนี้ว่าเอามาจากไหน บาดแผลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุถูกทำร้ายหรืออะไรก็ว่าไป ไม่น่าจะมีพิษจนทำให้คนไข้ทนไม่ไหว
– ประโยคที่ใช้จริงและควรใช้ ก็อธิบายไปเลยครับว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น คนไข้โดนยิงเข้าหน้าอกโดนปอด โดนเส้นเลือดใหญ่ วิธีการอธิบายก็บอกไปว่า กระสุนถูกยิงเข้าปอดและโดนเส้นเลือดใหญ่บริเวณปอดทำให้คนไข้เสียเลือดมากจนความดันตกและหัวใจหยุดเต้น อย่างนี้เป็นต้น
– "หมอพยายามเต็มที่แล้ว" บางทีถ้าเป็นญาติพี่น้องเรา เราก็คงอยากรู้จริงมั้ยครับ ว่าที่หมอบอกว่าพยายามเต็มที่แล้ว หมอได้ทำอะไรไปบ้าง เช่น ในกรณีที่คนไข้หมดสติแล้วนำส่งโรงพยาบาล หมอคงทำการปั๊มหัวใจ CPR เป็นต้น คำอธิบายก็น่าจะเป็น "ตอนคนไข้มาถึงโรงพยาบาลหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว หมอได้ทำการปั๊มหัวใจ ให้ยากระตุ้นหัวใจอยู่นานประมาณ 30 นาทีครับ แต่คนไข้ไม่ตอบสนอง ไม่มีการกลับมาเต้นของหัวใจ"
– สิ่งเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ที่วงการละครไทยไม่เห็นความสำคัญ กลายมาเป็นประโยคจำ ประโยคติดปากของตัวละครหมอไป ถ้าลองดูซีรีส์ต่างประเทศจะเจอคำอธิบายอย่างที่ผมบอกข้างต้นครับ เพราะมันเป็นสิ่งที่เราพูดจริงๆเมื่อเกิดเหตุการณ์ คนเสียชีวิตคนนึง คนเป็นญาติคงต้องการคำอธิบายที่ชัดเจนกว่าประโยคสั้นๆพวกนี้ จริงมั้ยครับ ? [ads]
4. สุดท้ายเรื่องปั๊มหัวใจ หรือ CPR จริงๆแล้วฉากนี้ควรนำเสนอให้ถูกต้อง เพราะมีโอกาสเจอสถานการณ์จริงได้ตลอดเวลา แต่ละครก็ยังทำออกมามั่วมาก ทุกจุด
– ไปกดอยู่ที่นมปั๊มยังไงหัวใจก็ไม่กลับมาเต้นหรอกนะ!!! ตำแหน่งที่ถูกต้องของการกดหน้าอกเพื่อ CPR จะอยู่ตรงกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ไปเล็กน้อย หรือลากเส้นสมมติระหว่างหัวนม2ข้าง มาตรงกลาง ตำแหน่งตรงนั้นละครับถูกต้อง ในละครบ้างก็กดนม บ้างก็กดต่ำลงมาที่ท้อง ผิด และเป็นอันตรายกับการบาดเจ็บหน้าอก กระดูกซี่โครงหักทิ่มปอด หรือบาดเจ็บช่องท้องด้วย
– วินาทีกดหน้าอกทีนึง ไร้ประโยชน์มาก อัตราการกดหน้าอกที่ถูกต้องคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 100ครั้ง/นาที วิธีการนับคือ 1และ2และ3….และ10,11,12… จนถึง 30 ครั้ง/1รอบ แล้วช่วยหายใจ 2 ครั้งนะครับในกรณีที่อยู่นอกโรงพยาบาล ทำไปเรื่อยๆจนกว่ารถพยาบาลจะมา
– เอะอะๆช็อคไฟฟ้าช๊อตหัวใจ !!!!แล้วฟื้น!!!! การช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ(defibrillation) นั้นจะใช้เฉพาะในกรณีที่ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ แต่ไม่มีชีพจรครับ ในกรณีคลื่นไฟฟ้าเป็นเส้นตรงยาวยืด การช็อคไฟฟ้าไม่มีประโยชน์ ทำได้แค่กดหน้าอกต่อไปเรื่อยๆ
5. ละครตีความผู้ป่วยเอดส์ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ชมรับข้อมูลเกี่ยวผู้ป่วยโรคเอดส์ผิด พร้อมเรียกร้องให้มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ มีละครหลายเรื่องตีความหมายของผู้ป่วยโรคนี้ผิด เพราะความจริงคือเมื่อผู้ติดเชื้อ และเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีตุ่ม เละเนื้อตัว น้ำหนองไหลเยิ้ม แต่ยิ่งเริ่มยาเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ภูมิคุ้มกันไม่ถูกทำลาย มีสุขภาพแข็งแรง ใช้ชีวิตได้ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป และดูไม่ออกจากรูปลักษณ์ภายนอก การสื่อสารที่บิดเบือนข้อเท็จจริง และผลิตซ้ำความเข้าใจผิดนั้นจะส่งผลให้ผู้ติดเชื้ออยู่ในสังคมได้อย่างยากลำบาก เกิดการรังเกียจ กีดกันไม่ให้อยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งยังส่งผลให้คนที่มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ ซึ่งหมายถึงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ไม่กล้าเข้ามารับการตรวจรักษา เพราะเชื่อว่ายังไงก็รักษาไม่หาย และยังจะส่งผลให้คนที่มีเพศสัมพันธ์ มองความเสี่ยงต่อการรับเชื้อของตนเองพลาด ไม่ป้องกัน เพราะคิดว่าคนที่ตัวเองมีเพศสัมพันธ์ด้วยไม่มีเชื้อแน่นอน เพราะถ้ามีเชื้อ ต้องแสดงอาการป่วยให้เห็นเหมือนในละคร ผลกระทบทั้งหมดนี้จะเป็นการสร้างปัญหาในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านเอดส์ให้กับประเทศในระยะยาว
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com