”แกงจืดฟองเต้าหู้ลูกชิ้นปลา” อิ่มอร่อย…ไม่อ้วน ครบถ้วนสารอาหาร
advertisement
สวัสดีค่า ช่วงนี้ยังอยู่ในหน้าฝนนะคะ และฝนมักจะตกบ่อยช่วงหลังเลิกงานซะด้วยสิ บางทีเราอาจโดนละอองฝน ทำให้ไม่สบายไปบ้าง วันนี้อัญเลยมีเมนูแกงจืดร้อนๆไว้ซดคลายหนาวมาฝากกันนะคะ
วัตถุดิบ
advertisement
advertisement
advertisement
1. ฟองเต้าหู้แผ่น 3 แผ่นใหญ่ บิเป็นชิ้น แช่น้ำให้นิ่ม
2. ดอกไม้จีน 1 ช้อนโต๊ะ ตัดปลายแข็งๆทิ้ง แล้วนำไปแช่น้ำ
3. ลูกชิ้นปลา 1/2 ถ้วยตวง
4. กระเทียมบุบ 3 กลีบ
5. พริกไทยเม็ด 1/4 ช้อนชา
6. ซุปก้อนรสหมู/ไก่ 1 ก้อน
7. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
8. ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
9. น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง
10. ต้นหอมหั่นท่อน 1 ต้น
11. ผักกวางตุ้ง 1 ต้น
12. กระเทียมเจียว 1/3 ช้อนชา
13. พริกไทยป่น[ads]
วิธีทำ
advertisement
advertisement
advertisement
advertisement
1. ตั้งน้ำเปล่าพอเดือด ใส่ซุปก้อนรสหมู กระเทียมบุบ พริกไทยเม็ด ปรุงรสด้วยเกลือป่น ซีอิ้วขาว
advertisement
advertisement
advertisement
[ads]
ในระดับที่เหมาะสม ในขณะต้มไม่ต้องคนก็จะเกิดแผ่นฟิล์ม ใช้ไม้ยาวสอดเข้าตรงกลางแผ่นแล้วยกไม้ขึ้น เรียกว่า ฟองเต้าหู้สด อาจจะม้วนหรือทำเป็นแผ่นก็ได้ ถ้านำแผ่นฟิล์มไปตากลมหรืออบด้วยความร้อนต่ำๆ ก็จะได้ฟองเต้าหู้แบบแห้งที่มีสีเหลืองอ่อน
ฟองเต้าหู้นอกจากเป็นแผ่นบางๆ แล้ว ยังมีชนิดเป็นแท่ง ชนิดแผ่นซ้อนกันหลายๆ ชั้น ชนิดผูกเป็นปม ชนิดป่นเป็นผง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปประกอบ
อาหารแต่ละชนิด ฟองเต้าหู้ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมี 2 ลักษณะ คือ ฟองเต้าหู้แบบเป็นแผ่นบางหรือแบบแห้ง และฟองเต้าหู้สด ฟองเต้าหู้สดนิยมนำมาผัด
เช่น ผัดโป๊ยเซียน แกงจืด ใส่ในน้ำเต้าหู้ ฯลฯ ส่วนฟองเต้าหู้แบบแห้งนิยมนำมาห่อแฮกึ๊น หอยจ๊อ
ฟองเต้าหู้มีโปรตีนและไขมันสูง จากตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ฟองเต้าหู้แห้ง ให้พลังงาน 461 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 47 กรัม ไขมัน 28 กรัม ฉะนั้นการใช้ฟองเต้าหู้ในการประกอบอาหาร ก็จะทำให้อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
การเก็บรักษาฟองเต้าหู้ ถ้าเป็นชนิดแห้งเก็บใส่ภาชนะที่แข็งแรงเพื่อป้องกันการแตกหัก และควรเป็นภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันอากาศเข้ากันการเหม็นหืน
สำหรับฟองเต้าหู้สดนิยมใช้วันต่อวัน