ลูกน้อยไม่ยอมกินข้าว..รับมืออย่างไร?
advertisement
คนเป็นพ่อเป็นแม่รู้ดีนะคะ ว้ล่าการเลี้ยงลูกนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย กว่าจะผ่านไปได้แต่ละวันๆ มีปัญหามาให้แก้ไขตลอดเลย หนึ่งในปัญหาต่างๆ นั้น เชื่อว่าหลายๆ บ้านต้องเคยเจอกับปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวกันอยู่บ้างใช่มั้ยเอ่ย เป็นปัญหาใหญ่เลยทีเดียว แล้วพ่อแม่ก็ต้องมานั่งกลุ้มกังวลใจไปมากมาย ว่าจะทำอย่างไรดีลูกจึงยอมทานอาหาร เพราะกลัวว่าลูกจะขาดอาหาร ไม่แข็งแรงสมวัย สมองไม่ดี เรียนหนังสือไม่เก่ง คิดมากจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ใครที่มีปัญหาเช่นนี้แล้ว ตาม Kaijeaw.com ไปดูวิธีการรับมือ ลูกไม่ยอมกินข้าวกันดีกว่า
advertisement
วิธีการแก้ไขปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว
1. สังเกตน้ำหนักและส่วนสูงของลูก
พ่อแม่ควรเช็คตามกราฟน้ำหนักและส่วนสูงของลูก แล้วหากพบว่าอยู่ในช่วงปกติ ก็ให้วางใจได้ว่าอาหารที่ลูกได้อยู่ปัจจุบันนี้เพียงพอแล้ว ไม่ว่าจะมีญาติผู้ใหญ่หรือคนอื่นทักก็ตาม เพราะปัจจุบันมีเด็กอ้วนในสังคมไทยจำนวนมากสูงถึง 15-20% ซึ่งเด็กที่น้ำหนักเกินจะมีส่วนสูงมากกว่าวัย (แล้วก็จะหยุดสูงเร็วด้วย) ทำให้เด็กในวัยเดียวกันที่น้ำหนัก ส่วนสูงปกติ ถูกเปรียบเทียบแล้วรู้สึกว่าเป็นเด็กผอมหรือตัวเล็กไป[ads]
2. ไม่ใช้อารมณ์
การใช้วิธีผิดๆ เพื่อให้เด็กกินมากขึ้น เช่น การตี ดุว่า บังคับ ใช้อารมณ์กับลูกหรือการตามใจ ต่อรอง หรือให้รางวัลเกินความจำเป็น เป็นวิธีที่ไม่ได้ผล และไม่ควรทำจะส่งผลเสียต่ออารมณ์และความรู้สึกของลูก
advertisement
3. ให้ลูกทานเมื่อรู้สึกหิว
ให้เด็กรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหาร หากสังเกตว้ล่าเมื่อถึงเวลาอาหารแล้วแต่ลูกไม่หิวไม่อยากกิน ให้งดอาหารหรือขนมจุกจิกระหว่างมื้อ ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม ลูกอม ฯลฯ หากจะให้ ควรให้หลังอาหาร หากเด็กกินได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม
4. ไม่ให้นมมากเกินไป
เมื่อเด็กอายุเกิน 1 ปี ควรกินข้าวเป็นอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น จึงต้องลดปริมาณลง และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ร่างกายไม่ต้องการนมหลังจากหลับไปแล้วจนถึงเช้า จึงไม่ควรปลุกเด็กขึ้นมากินนม เพราะเด็กวัยนี้สามารถกินนมก่อนนอนแล้วอยู่ได้ถึงเช้า หากให้กินกลางดึกจะกลายเป็นความเคยชินและทำให้เด็กเบื่ออาหารเช้าเพราะยังอิ่มนมอยู่
5. ให้ลูกฝึกเคี้ยวอาหาร หากลูกถึงวัยที่ควรเคี้ยวได้แล้ว ก็ต้องค่อยๆ ฝึกด้วยการให้อาหารเสริมที่แข็งขึ้น เพื่อให้เคี้ยวบ้าง พ่อแม่อาจจะทำให้ลูกดูว่าการเคี้ยวทำอย่างไร และบอกลูกว่าอาหารเอร็ดอร่อยขึ้นแค่ไหนหากลูกเคี้ยวมัน[ads2]
6. ฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา สม่ำเสมอ และควรกินพร้อมๆ กันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้เด็ก
7. หากลูกมีปัญหาเลือกกินให้ลูกได้ลิ้มลองอาหารแปลกใหม่เสมอ โดยค่อยๆ ป้อนทีละน้อย แรกๆ อาจจะไม่ยอมกิน หยุดสักพักแล้วค่อยป้อนใหม่ จะช่วยได้ และให้พยายามสร้างความรู้สึกที่ดีกับอาหารที่ลูกปฏิเสธ เช่น กินให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วให้ลูกลองชิมดูบ้าง
advertisement
8. จัดอาหารให้น่าสนใจ ลองดัดแปลงจัดปรุงอาหารให้ดูน่าทาน แปลกใหม่ไม่ซ้ำซากจำเจ
9. เวลากินอาหารไม่ทำสิ่งอื่น ขณะมื้ออาหารไม่ควรทำกิจกรรมใดๆ เช่น ดูทีวี หรือเล่นของเล่นไปด้วย เพราจะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องกิน ทำให้กินช้า อมข้าวและอิ่มเร็วโดยที่ยังกินได้น้อย
10. เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเอง เรื่องการกินให้มากที่สุดตามวัย โดยค่อยๆ ลดการให้ความช่วยเหลือลงตามลำดับ ในเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ ให้เด็กมีโอกาสถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้าง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม เมื่อเด็กวัย 4 ขวบ ส่วนใหญ่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องป้อน เพียงแต่ให้ความช่วยเหลือบางส่วน[ads3]
advertisement
ข้อควรรู้ ในการใช้ยากระตุ้นให้ทานอาหาร
ในความเป็นจริงแล้วปัญหาเด็กไม่ยอมกินข้าวนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ยาประเภทนี้ เพราะสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งการบังคับให้เด็กทานยาก็อาจจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีกด้วย ยกเว้นบางรายที่ไม่ยอมทานอาหารมานานจนเป็นนิสัย อาจจะต้องใช้ยากระตุ้นให้ทานอาหารชั่วคราว พร้อมๆ กับเปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงดูและอุปโภคนิสัยไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
ขอให้คุณพ่อคุณแม่ระลึกไว้ว่า เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าวก็อย่าได้ดุ ตีหรือบังคับนะคะ นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังมีแต่ผลเสียอีกด้วย แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่วิตกกังวลมากเกินไปค่ะ ลองนำวิธีการที่เราได้แนะนำไปปรับใช้ดูค่ะ ให้การทานอาหารของลูกเป็นไปอย่างธรรมชาติของเด็กที่ควรเป็น เพื่อสุขภาพที่ดีและความสุขของลูกค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com