ถึงจนก็ไม่อาย!! ลูกอีสานยอดกตัญญู ไม่แคร์คำดูถูก ยอมเร่ขายพวงมาลัยช่วยแม่ จนชีวิตพลิกผันกลายเป็น..
advertisement
เรื่องจริงที่คนเมืองไม่เคยสัมผัส!! ชีวิตเด็กอีสาน ยอมเป็นขี้ข้าทำทุกอย่างเพื่อหาเงิน ขายไอติม เป็นเด็กเสิร์ฟ จนถึงขั้นขายพวงมาลัย สู้ทั้งน้ำตาถึงจนก็ไม่อาย !!หลายคนชอบบ่นกับการทำงาน ว่าทำไมเหนื่อยจัง งานหนักจัง เจ้านายใช้เราคุ้มเกินไปหรือเปล่า เงินเดือนหมื่นนิดๆ แค่นี้ แต่ทำไมทำงานเหมือนหลักแสน !! คำถามที่มักจะเกิดขึ้นในหมู่วัยทำงานของคนเมือง แต่ถ้าลองย้อนไปดูอีกมุมหนึ่งของ “คนบ้านนอก” หลายคนยังต้องปากกัดตีนถีบ ทำงานตากแดดตากฝนเพื่อแลกกับค่าแรงอันน้อยนิด ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ชีวิตของ “ปุ่ม-ภัคพิชา หอมแสงสุโข” (PukpichaHomsangsuko) อดีตเด็กบ้านนอกลูกอีสานแท้ ชาวอุดร ไม่ต่างอะไรกับทาสแรงงานที่ต้องใช้ความเหนื่อยเข้าแรกเงินเพื่อนำมาช่วยเหลือครอบครัว ความเป็นพี่คนโตจึงทำให้แบกรับภาระของครอบครัวไปด้วย
“เมื่อก่อนพ่อแม่ปุ่มมีอาชีพทำนาค่ะ แต่ฐานะทางครอบครัวยากจนมาก ไม่มีอะไรสุขสบายเลยแม้กระทั่งอาหารการกิน เชื่อไหมว่าตอนนั้นลำบากแทบไม่มีอะไรกินเลย วันไหนมีข้าวเหนียวคลุกไข่ต้มนะ วันนั้นถือเป็นอะไรที่พิเศษที่สุดสำหรับปุ่ม เพราะปกติก็จะกินข้าวคลุกน้ำพริกคลุกปลาร้าคลุกนมข้น (อันนี้เด็ด) ตามผู้ใหญ่ คือผู้ใหญ่กินอะไรได้เราต้องกินได้ เพื่อประทังความหิวค่ะ”[ads]
advertisement
พอโตขึ้นมาหน่อยอายุประมาณ 6-7 ขวบก็ต้องทำงาน โดยเธอจะขึ้นรถกระบะเก่าๆ นั่งท้ายอัดกันไปกับผู้ใหญ่และเด็กโตคนอื่นๆ ไปอีกหมู่บ้านหนึ่งเพื่อรับจ้างเก็บฝ้ายหรือถั่วเขียวมาชั่งกิโลขาย (ตอนนั้น 10โล จะได้เงินประมาณร้อยกว่าบาท) ทำตั้งแต่เช้าจนเย็นก็ค่อยกลับมาบ้านและเอาเงินให้ครอบครัว ถ้าถามว่าชอบไหม เธอตอบเลยว่าไม่เลย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ความคิดเธอเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อเจอร้านขายไอติมที่เป็นสีๆ รูปตุ๊กตา ซึ่งแถวบ้านเธอจะมีคนงานขุดลอกคลอง เธอเลยคิดอยากจะนำไอติมไปขายซึ่งมันน่าจะขายได้ แต่ไม่มีทุนจึงตัดสินใจ ขอยืมเงินพ่อมา 40 บาท และสัญญาว่าจะคืนให้ ปรากฏว่าไอติมจากแม่ค้าตัวน้อยคนนี้กลับขายได้หมดทุกครั้งทำให้มีกำไรและทุนที่จะขายต่อๆ ไป
แต่ด้วยความที่ครอบครัวหาเงินไม่พอมาเลี้ยงยาไส้ อีกทั้งพ่อกับแม่ก็ต้องมาแยกทางกัน (ความรู้สึกในวัยเด็กมันก็เจ็บปวดไม่ต่างจากผู้ใหญ่เลย) ทั้งพ่อและแม่จึงต้องเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปหางานทำหวังจะเก็บเงินส่งเสียลูกทั้ง 2 และตากับยาย โดยพ่อไปทำงานเป็นรปภ. เธอจึงต้องเทียวไปเทียวมากรุงเทพฯ-อุดรเป็นว่าเล่น กระทั่งอายุ 10 ขวบกว่าๆ ตัดสินใจไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เสาร์-อาทิตย์ได้มาเจอพ่อบ้างเป็นครั้งคราว นั่งนอนในป้อมยามดูพ่อทำงานจนกลายเป็นภาพชินตา ถึงแม้ว่าทั้งพ่อและแม่จะเลิกรากัน แต่เธอก็ยังสัมผัสได้ว่าพ่อไม่ได้รักเธอน้อยลงเลย เพราะทุกครั้งที่จะกลับบ้านอุดร พ่อจะควักเงินให้เต็มกระเป๋า (ถึงเงินเดือนพ่อแทบไม่พอกินก็เถอะ) แต่ชีวิตคนเราไม่มีอะไรแน่นอน พ่อเธอเป็นมะเร็งและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้เธอเสียใจเพราะยังไม่ได้ตอบแทนพระคุณพ่อ เงินที่สัญญาว่าจะคืนให้ก็ยังไม่คืน เวลามันช่างเดินไปไวจนพรากผู้มีพระคุณไปโดยไม่ทันตั้งตัวจริงๆ
คำว่าจนไม่น่าอายเท่าไม่มีกิน พอโตขึ้นรายได้ที่เคยได้จากพ่อก็หายไป แต่ธอก็ไม่เคยหยุดที่จะหางานทำ งานอะไรทำได้ งานอะไรให้เงิน ก็เอาหมด แม้กระทั่งขายพวงมาลัยเธอก็ทำมาแล้ว ถึงจะเป็นอาชีพที่คนมองข้ามแต่เธอก็ไม่รู้สึกอาย เพราะคำว่าจนมันน่ากลัวกว่าคำว่าอาย “ค่ะใช่ ปุ่มเคยขายพวงมาลัยมาก่อน ไม่อายนะที่จะบอกกับใครๆ เรื่องนี้ เพราะปุ่มคิดว่าไม่ว่าจะอาชีพอะไรถ้ามันไม่ทำความเดือดให้สังคมมันก็เป็นเรื่องดีทั้งนั้น ช่วงเทศกาลสงกรานต์แม่กับน้องๆ ก็ไม่ได้ไปเล่นสนุกเหมือนคนอื่นๆ เขา เพราะพวกเรามาเดินขายพวงมาลัยกัน ขายตามถนนข้าวสารนี่แหละ คนเยอะก็เอาโอกาสตรงนี้หารายได้ซะเลย”
advertisement
พอถึงม.6 เพื่อนๆ คนอื่นเขาก็ตั้งใจอ่านหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกัน แต่สำหรับเธองานก็สำคัญไม่แพ้เรื่องเรียน เพราะถ้าไม่ทำก็ไม่มีเงิน แม้จะเป็นแค่พนักงานเสิร์ฟในร้านสเวนเซ่นต้องทำงานเลิกดึก ทั้งเหนื่อยปวดเมื่อยไปทั้งตัว แต่เมื่อเทียบกับเงินจำนวน 6-7 พันบาทก็ถือว่าคุ้มมากๆ รู้สึกมีความสุขที่ได้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าเช่าบ้านให้แม่กับยายได้ แม้จะไม่ได้อยู่ในครอบครัวที่สมบูรณ์แบบเพราะแม่ก็ยังต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ ไม่มีเวลาให้เธอถึงจะต้องเป็นหนี้ก็ยอมเพื่อให้ลูกได้มีการศึกษาที่ดี ความไม่พร้อมไม่ใช่ปมด้อยที่จะทำให้เธอต้องจมอยู่กับความลำบากไปตลอด
advertisement
advertisement
จากเด็กอีสานข้ามแดนไปทำงานถึงอเมริกา !!
คนจนๆ ไม่มีจะกินก็ไม่แปลกที่ญาติจะดูถูก หลายคำครหาที่ด่าว่าเรียนไม่จบต้องท้องก่อนแต่งคงได้แต่ปริญญาผ้าอ้อมแน่ๆ แต่เธอก็ลบคำสบประมาทเหล่านั้นได้หลังเรียนจบมหาวิทยาลัยจากคณะการท่องเที่ยวและโรงแรม เธอก็ตัดสินใจไปหางานทำที่อเมริกาจากคำชวนของเพื่อนที่เรียนมาด้วยกันอีก 3 คน “ปุ่มเดินทางไปเพราะมีบริษัทๆ นึงเขาเป็นคนจัดการเรื่องให้ทุกอย่าง แต่พอไปถึงไม่เป็นอย่างที่ตกลงกันไว้ เพราะเขาปล่อยให้เราหาที่พักเอง บอกเลยว่าการทำงานต่างแดนครั้งนี้มหาโหดมากกกกก เพราะภาษาเราไม่แข็ง เงินก็มีน้อย อุปสรรคในเรื่องของวีซ่าซึ่งกว่าจะผ่านได้เกือบท้อเลย แต่เราก็คิดย้อนกลับไปว่า เหนื่อยลำบากกว่านี้ก็ผ่านมาแล้วเลย นับประสาอะไรกับแค่ไปอยู่ต่างแดน พอมาถึงเราก็ได้ทำงานในร้านเบอร์เกอร์คิงเป็นเด็กเสิร์ฟ (อีกแล้ว) ที่บอสตัน แต่ครั้งนี้แย่กว่าเยอะ เพราะต้องใช้ชีวิตอยู่กับความไม่คุ้นเคย ทั้งอาหาร ที่หลับนอน ถือว่าลำบากสุดๆ รายได้เกือบหมื่นแต่ก็ต้องช่วยกันจ่ายค่าเช่าบ้านอาทิตย์ละ 5 พันทำได้ 3 เดือนก็กลับ”[yengo]
advertisement
advertisement
พอกลับมาเธอก็ยังไม่รู้ว่าจะทำงานอะไรต่ออีก เลยลองเสี่ยงเอาเงินไปลงทุนขายสินค้าตัวนึง ซึ่งนี่เป็นครั้งที่ 2 ที่ตัดสินใจขายของหลังจากที่สมัยเด็กเคยขายไอติม แล้วรู้สึกชอบเพราะไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร เป็นธุรกิจเล็กๆ ของตัวเองแต่สร้างรายได้ถึงหลักล้าน สามารถซื้อบ้านพักตากอากาศที่หัวหิน และบ้านที่กรุงเทพฯ พร้อมกับรถยนต์อีก 1 คัน (รวมๆ แล้วเป็นเงินกว่าสิบล้าน) ซึ่งเงินทุกบาททุกสตางค์นั้นไม่ได้มาง่ายๆ ถึงแม้จะเป็นธุรกิจของตัวเองก็เถอะ เพราะมันต้องแลกมาด้วยความเหนื่อย ลำบากทั้งนั้น
“ปุ่มเคยผ่านความลำบากมาไม่ต่างจากหลายๆ คน และเชื่อว่าความลำบากในวันนั้นมันสอนให้ปุ่มขยันทำมาหากินจนถึงทุกวันนี้ โดยส่วนตัวอยากเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่กำลังเหนื่อยหรือท้อแท้ได้มีกำลังใจลุกขึ้นสู้ เชื่อเถอะค่ะว่าความขยันมันไม่เคยทำให้ใครจน แต่ถ้าขยันอยู่แล้วก็ทำเพิ่มอีก 2 เท่า โลกนี้ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ขอแค่อย่าอายที่จะทำมาหากินก็พอค่ะ”
advertisement
ปัจจุบันจากลูกจ้างธรรมดาๆ ทำอาชีพที่ไม่ได้มีคนยกย่องนับถือ วันนี้เธอก็สามารถยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจเพราะคำว่าสู้ อดทน และฝ่าฟันไม่เกี่ยงงาน
หากใครที่ยังคิดว่าแต่ละวันทำงานไม่เคยมีความสุขแม้จะได้เงินเดือนก็ตาม ลองเก็บประสบการณ์ของเธอคนนี้ไปเป็นตัวอย่างแล้วจะพบว่า ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็เหนื่อยทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญคือทุกความเหนื่อยมักจะได้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่า แม้บางครั้งจะไม่ใช่เงิน แต่อาจเป็นประสบการณ์ชีวิตนั่นเอง
advertisement
ขอบคุณเรื่องราวจาก : PukpichaHomsangsuko