เปิดภาพ!! ความงดงามของวัง 5 แผ่นดิน ที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
advertisement
วันนี้ Kaijeaw.com จะขอพาทุกท่านไปชมความงดงามของ พระราชวังและพระตำนักที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว ที่ยืนหยัดงดงามมา 5 แผ่นดิน โดย 5 พระราชวังและพระตำหนักถูกสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งแต่ละที่ต่างก็มีประวัติ ความเป็นมา และอายุต่างกัน อีกทั้งบางแห่งยังเปิดให้เข้าชมเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เข้าไปเยี่ยมชมพร้อมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของไทยอีกด้วย
1. วังสวนผักกาด
advertisement
.
advertisement
เป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่เจ้าของบ้าน คือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรมฯ และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ "คุณท่าน" ได้เปิดบ้านซึ่งหลายคนรู้จักในนาม "วังสวนผักกาด" ให้บุคคลภายนอกเข้าชมในขณะที่ท่านเจ้าของยังคงใช้เป็นที่พำนักนับแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมา
ด้วยนิสัยและความรักในการสะสม เสด็จในกรมฯ ทรงรวบรวมศิลปะและโบราณวัตถุอันล้ำค่าที่สืบทอดมาจาก จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ) ต้นราชสกุลบริพัตร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี นอกจากนี้ เสด็จในกรมฯ และ "คุณท่าน" ต่างร่วมกันสะสมศิลปะและโบราณวัตถุชิ้นสำคัญอื่นๆ ของทั้งชาติไทย และของโลกไว้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเก็บรวบรวมไว้ ณ วังสวนผักกาด
พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดตั้งอยู่บนพื้นที่ ๖ ไร่ บริเวณถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ อันประกอบด้วยเรือนไทยโบราณ ๘ หลัง เรือนหลังที่ ๑-๔ จัดเป็นหมู่เรือนไทย โดยเรือนหลังแรกมีสะพานเชื่อมไปสู่เรือนหลังที่ ๒, ๓ และ ๔ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ ตามลำดับ ส่วนเรือนหลังที่ ๕-๘ ปลูกอยู่ห่างกันทางทิศตะวันตก และมีหอเขียนอยู่ทางทิศใต้ สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง และ ห้องศิลปนิทรรศมารศีจัดแสดงอยู่ในศิลปาคารจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
2.วังบางขุนพรหม
advertisement
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานที่ดินนี้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูนกระหม่อมบริพัตรของชาววังบางขุนพรหม) “พระราชโอรส” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ หลังจากนั้น พระมารดา “สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี” ได้ทรงเป็นพระธุระจัดการเรื่องต่าง ๆ ในขณะที่ทูนกระหม่อมยังทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป ครั้นทูลกระหม่อมเสด็จกลับมาเป็นการชั่วคราวใน พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงทรงมีกำหนดชัดเจนว่าจะเสด็จกลับมาประทับเป็นการถาวรใน พ.ศ. ๒๔๔๖ โดยวังบางขุนพรหมสร้างเสร็จและมีพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๔๙
สถาปัตยกรรม
ในห้วงเวลาที่มีการออกแบบวังบางขุนพรหมนั้นสถาปัตยกรรมในยุโรปอยู่ในยุคของ การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้สามารถผลิตวัสดุก่อสร้างแบบใหม่ เปลี่ยนแปลงการออกแบบ และวิธีการก่อสร้าง ดังนั้นสถาปัตยกรรมวังบางขุนพรหมจึงเป็นโครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน ผนังรับน้ำหนัก มีโครงสร้างหลังคาไม้เนื้อแข็ง มุงด้วยกระเบื้องว่าว หลังคาเป็นทรงมังซาร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคาสองชั้นซ้อนกันโดยมีความลาดของหลังคาแต่ละชั้นไม่เท่ากัน หลังคาชั้นล่างมีหน้าต่างเล็ก ๆ อย่างที่เรียกว่า ดอร์เมอร์ ยื่นออกจากหลังคาห่างกันเป็นระยะเท่า ๆ กัน
ตำหนักใหญ่วังบางขุนพรหมมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ด้วยการตกแต่งผนังปูนปั้นอันวิจิตร นับเป็นอาคารที่มีลวดลายประดับงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปูนปั้นเหล่านี้ล้วนเป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในสมัยต่าง ๆ กัน โดยออกแบบให้สอดคล้องกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
สถาปนิกใช้สถาปัตยกรรมแบบบาโรกและโรโกโกเป็นอิทธิพลหลักในการออกแบบ ดังจะเห็นได้จากรูปลักษณะหน้าบันและผนังภายนอกอาคาร หอกลมทางด้านทิศใต้ที่มีลักษณะโค้ง และผนังด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นเส้นโค้งเว้าเข้า และนูนต่อเนื่องกัน สำหรับการวางผังเป็นไปในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ บาโรกและใช้ต่อเนื่องมาจนปลายสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ส่วนองค์ประกอบที่ใช้ในการตกแต่งภายในห้องต่าง ๆ มีความคล้ายคลึงกัน โดยมีการใช้ปูนปั้นเป็นเส้นนูนตามกรอบประตูและช่องแสง ที่โดดเด่นที่สุดคือ บานประตูไม้แกะลายเส้นบนกึ่งกลางของลูกฟักไม้ ช่องแสงเหนือประตูปิดด้วยแผ่นไม้ฉลุลาย และฝ้าเพดานตกแต่งด้วยแผ่นไม้ฉลุลายและเน้นลวดลายด้วยการเขียนสีทอง พื้นภายในห้องต่าง ๆ เป็นพื้นไม้สักปูเข้าลิ้น ขัดมัน[ads]
3.พระที่นั่งวิมานเมฆ
advertisement
พระที่นั่งวิมานเมฆเป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระราชวังดุสิต (ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์เรียกว่า พระราชวังสวนดุสิต) ใน พ.ศ. 2444 โดยโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่เกาะสีชังเมื่อ พ.ศ. 2435 แต่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโยธาเทพ (กร หงสกุล ต่อมาเป็นพระยาราชสงคราม) เป็นนายงานรื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์จากเกาะสีชังมาสร้างในสวนดุสิต และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งวิมานเมฆ"[1] และทรงวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2443[2] โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกำกับการออกแบบ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2445[3]
พระที่นั่งวิมานเมฆสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงามประณีตและได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2444 และได้เสด็จมาประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆ จนกระทั่งพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2445 สร้างเสร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถานเป็นการถาวร จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 และพระที่นั่งวิมานเมฆยังคงเป็นสถานที่ประทับของเจ้านายจนกระทั่งสิ้นรัชกาล เจ้านายฝ่ายในและข้าราชบริพารจึงได้กลับมาประทับที่พระบรมมหาราชวัง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆใน พ.ศ. 2468 แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชายา ก็ทรงย้ายออกจากพระที่นั่งวิมานเมฆ และจากนั้นมา พระที่นั่งวิมานเมฆก็มิได้เป็นพระราชฐานที่ประทับของเจ้านายอีก
ในรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงขอพระบรมราชานุญาตซ่อมพระที่นั่งวิมานเมฆ เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันพระที่นั่งวิมานเมฆเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสำนักพระราชวัง รวมทั้งหมู่พระตำหนักของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในด้วย
4.พระราชวังพญาไท
advertisement
วังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญหลายครั้ง ณ วังพญาไท
วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท[1] รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ และเริ่มมีพระอาการประชวรในปี 2468 จนเดือนสุดท้ายแห่งรัชกาลจึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต
พระราชวังพญาไท ยังเคยเป็นที่ประทับของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในช่วงมีพระครรภ์พระหน่อ, สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และเป็นที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก อีกด้วย
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังพญาไทในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้แก่ ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยย่อส่วน ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นเมืองจำลองขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว
ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2468 ตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 6 ที่จะพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ ตั้งแต่มีพระราชดำริจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ระหว่างนั้น ได้มีการใช้ พระราชวังพญาไทได้เป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2473 กรมรถไฟดำเนินการโรงแรมวังพญาไทได้ 6-7 ปีก็เลิกกิจการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เนื่องจากคณะราษฎรต้องการนำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร จึงพระราชทานวังนี้ให้เป็นสถานพยาบาล ของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มาจนปัจจุบัน
นอกจากนี้ พระราชวังพญาไทยังเคยเป็นสถานที่จัดงานสำคัญหลายวาระ เช่น งานฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540, การจัดแสดงดนตรีของวง อ.ส.วันศุกร์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[2], การแข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 35 รวมทั้งการจัดการแสดงดนตรีต่างๆ เช่น ดนตรีคลาสสิก และดนตรีไทย เป็นต้น
ปัจจุบันพระราชวังพญาไทอยู่ในสภาพทรุดโทรมและกำลังอยู่ในระหว่างระดมทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ถาวร ภายใต้การดำเนินงานของ ชมรมคนรักวัง และ มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี [ads]
5.วังวรดิศ
advertisement
วังวรดิศ เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งอยู่บนถนนหลานหลวง และถนนดำรงค์รักษ์ ใกล้ตลาดสะพานขาว ปัจจุบันใช้จัดแสดงเป็น พิพิธภัณฑ์และหอสมุด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
วังวรดิศ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 บนที่ดินของเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระมารดาของ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยสร้างจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นค่าก่อสร้างทั้งหมดรวม 50,000 บาท[1] ออกแบบโดย Karl Doehring นายช่างชาวเยอรมัน สร้างขึ้นสมัยปลายรัชกาลที่ 5 และมาแล้วเสร็จในสมัยของรัชกาลที่ 6
ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เป็นอาคารสูง 2 ชั้น รูปตัวแอล หลังคาทรงจั่วหักมุมตอนปลาย มีความชันมากจนใต้หลังคาสามารถใช้เป็นห้องเก็บของได้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี หลังคาด้านหน้าและด้านข้างมีหน้าต่างเล็กบนลาดหลังคาเพื่อระบายอากาศแบบยุโรป ภายในเป็นพื้นไม้
ลักษณะการตกแต่ง มีลายปูนปั้นที่ผนังตอนบนใกล้หลังคา ขอบอาคารชั้นบนมุขหน้าทางทิศตะวันออก มีเสาอิงรูปครึ่งวงกลม 2 เสา คู่กันเป็นปูนปั้นคล้ายกลีบบัวเรียงกันเป็นชั้นๆ ชั้นล่างเน้นขอบของอาคารโดยรอบด้วยลายปูนปั้นพระทวารและพระแกล มีรูปร่างต่างๆ กัน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ที่วังนี้ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง วังนี้ได้รับการอนุรักษ์โดย พลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อ พ.ศ. 2527 และได้รับการเสนอโดยองค์การยูเนสโก ประจำภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก ให้ร่วมอนุรักษ์เป็น อาคารประวัติศาสตร์โลก