เรียนรู้ประวัติ บุญข้าวประดับดิน ประเพณีสำคัญของชาวอีสาน
advertisement
ในช่วงเดือนเก้าที่กำลังจะมาถึงนี้ ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ก็มักจะมีประเพณีสำคัญที่เกี่ยวกับศาสนา เกี่ยวกับความเชื่อของโลกหลังความตาย มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่จะมีชื่อเรียกประเพณีและมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป
ในทางภาคอีสาน ก็มีประเพณี บุญข้าวประดับดิน ซึ่งตรงกับแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ซึ่งชาวบ้านก็จะนำอาหาร และเครื่องเซ่นไหว้ไปวางตามโคนต้นไม้ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ประวัติความเป็นมาของวันสำคัญนี้
เฟซบุ๊กเพจ วารินชำราบบ้านเฮา อุบลราชธานี ได้เผยประวัติความเป็นมาอันน่าสนใจของวันบุญข้าวประดับดิน โดยได้ระบุว่า
advertisement
"บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญเดือนเก้า ประเพณีอีสาน วันแรม ๑๔ ค่ำเดือน๙ ของทุกปี ปีนี้ตรงกันกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ หลังจากเข้าพรรษาไปได้ประมาณหนึ่งเดือน อีกหนึ่งฮีตคองประเพณีอีสานบ้านเราที่มีใช้ช่วงนี้คือ “บุญข้าวประดับดิน” ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า(ประมาณเดือนสิงหาคม) เป็นการนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เป็นการทำบุญที่ชาวบ้าน จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
advertisement
ความเป็นมาของประเพณีมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์ เมื่อตายไปจึงไปเกิดในนรก พระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วไม่ได้อุทิศให้ญาติที่ตายไป พอตกกลางคืนเหล่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารที่ตายไปมาปรากฎตัวเปล่งเสียงร้องน่ากลัวบริเวณพระราชนิเวศ รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงได้รีบไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์จึงบอกเหตุให้ทราบว่าญาติที่ไปตกอยู่ในภูมินรก ต้องการได้รับส่วนกุศล จึงได้ก่อเกิดการทำบุญข้าวประดับดินขึ้นมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาตที่ตายไปแล้ว และถือเป็นประเพณีที่ต้องทำมาเป็นประจำ ไม่ใช่แค่เหล่าญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่บรรดาวิญญาณเร่รอน ก็สามารถรับส่วนกุศลนั้นไปด้วย. ประเพณีคนลาวและไทยอีสาน มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า กลางคืนของเดือนเก้า หรือ ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว.
advertisement
พิธีกรรมของ ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
การทำบุญข้าวประดับดินนั้นจะทำกันในช่วงเช้ามืด ประมาณตีสาม – ตีสี่ ของวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเตรียมจัดอาหารคาวหวานไว้ตั้งแต่ตอนเย็นของวันแรม ๑๓ ค่ำเดือน ๙ นอกจากอาหารคาวหวานแล้วยังมี หมากพลู บุหรี่ โดยจะแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับครอบครัว ส่วนที่สองแบ่งญาติพี่น้องเรือนเคียง ส่วนที่สามอุทิศให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์. สำหรับส่วนที่สามที่จะอุทิศให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้วนั้นจะห่อน้อยกว่าส่วนอื่น มีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ยาวให้สุดซีกของใบตองที่ตัดมา อาหารคาวหวานนั้นจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย อาทิ
advertisement
ข้าวเหนียวนึ่ง ปั้นเล็กๆเท่าหัวแม่มือ ๑ ก้อน เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือ อาหารคาวที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่น อาหารหวาน เช่น กล้วย น้อยหน่า มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ หมาก บุหรี่ และเมี่ยง อย่างละคำ ห่อข้าว อาหาร คาวหวานด้วยใบตอง แล้วใช้ไม้กลัดหัวท้าย และตรงกลาาง เราก็จะได้ห่อข้าวน้อย ที่มีลักษณะยาวๆ ตามซีกของใบตอง อีกหนึ่งห่อ เป็นหมากพลู บุหรี่ และเมี่ยงคำ นำมาห่อในลักษณธเดียวกัน จะได้เห็นห่อหมากพลู หลังจากนั้นนำทั้งสองมามัดเป็นคู่ และไปรวมกันเป็นพวงอีกที โดย ๑ พวง จะใส่ห่อหมากห่อพลูจำนวน ๙ ห่อง. ห่อข้าวน้อยที่เรานำไปวาง หมายถึง การนำไปอุทิศให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว รุ่งสางราวๆตี ๓ – ๔ ของเช้าวันแรว ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ แต่ละครัวเรือนจะนำเอาห่อข้าวน้อยที่เตรียมไว้ไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่ ตามทางเดิน ริมกำแพงในวัด ภาษาอีสานเรียกว่าการยาย (ยายหมายถึง วางเป็นระยะๆ) จะทำกันแบบเงียบๆ ไม่มีการตีกลอง ตีฆ้องแต่อย่างใด ระหว่างที่ยายห่อข้าวน้อย ก็จะมีการจุดธูปเทียน เพื่อบอกให้ดวงวิญญาณมารับส่วนกุศลที่ได้อุทิศไปให้ บางคนก็บอกเฉยๆ ไม่ได้จุดเทียนก็มี
หลังจากนั้นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน เพื่อเตรียมอาหารมาใส่บาตร ถวายพระในตอนเช้า พระสงฆ์มีการแสดงธรรมเทศนา เกี่ยวกับอานิสงฆ์ของการทำบุญข้าวประดับดินให้ฟัง และมีการกรวดนำทำบุญ ตามประเพณีของพุทธศาสนา ที่ทำกันทั่วๆไป"
advertisement
บุญข้าวประดับดิน
advertisement
หลายคนปฏิบัติสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่อาจจะไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมา หรือความสำคัญของประเพณีดังกล่าว ซึ่งก็ถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามตามความเชื่อของคนไทย ที่สืบต่อกันมาและควรค่าแก่การอนุรักษ์เอาไว้ค่ะ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก วารินชำราบบ้านเฮา อุบลราชธานี