วิธีดู เห็ดระงากพิษ แค่ครึ่งดอกก็เสียชีวิตได้
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/Untitled-1-11-1024x512.jpg)
advertisement
เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ชาวชนบทนำมาประกอบอาหารกันอย่างแพร่หลาย สำหรับ เห็ดระโงก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เห็ดไข่ห่าน มีราคาแพง นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งเห็ดระโงกนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู
advertisement
![การจับภาพเว็บ_22-5-2022_131114_www.facebook.com](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/การจับภาพเว็บ_22-5-2022_131114_www.facebook.com_.jpeg)
[ads]
ช่วงฤดูฝน หลังฝนตก 2-3 วัน เกิดภาวะอากาศร้อนชื้น สภาพอากาศร้อนอบอ้าว และมีแสงแดด ชาวบ้านจะออกไปเก็บเห็ดระโงกในป่าธรรมชาติ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง เห็ดระโงกมักขึ้นเป็นเห็ดดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 4-5 ดอก กระจายอยู่ทั่วไป เดิมที เห็ดระโงกหากินได้เฉพาะหน้าฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ไปจนสิ้นฤดูฝน
advertisement
![เห็ด-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/เห็ด-1.jpg)
แต่ก็มีเห็ดอีกหนึ่งชนิดที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับเห็ดระโงก นั่นก็คือ เห็ดระงากพิษ ซึ่งมันเป็นเห็ดที่มีพิษรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และคนที่แยกไม่เป็นก็อาจจะนำไปรับประทานได้
advertisement
![เห็ด-2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/เห็ด-2.jpg)
เฟซบุ๊กเพจ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี ได้ออกมาเตือนประชาชน ให้รู้ถึงวิธีแยกเห็ดระโงก กับเห็ดระงากพิษ ระบุว่า "ทบทวนกันหน่อย เห็ดระงากพิษกับเห็ดระโงก หน้าตาเหมือนกัน โปรดผ่าดูถ้าด้านในตัน เอาทิ้งเลยค่ะ เพียงครึ่งดอก ก็ทำให้เสียชีวิต"
นอกจากนี้ยังมีวิธีสังเกต ดังนี้
[ads]
เห็ดระโงก
advertisement
![เห็ด-3](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/เห็ด-3-577x768.jpg)
1) ผิวหมวกเห็ด เรียบไม่มีสะเก็ดสีขาว
2) พบริ้วที่ขอบหมวก
3) ก้านกลวงตลอดแนว
เห็ดระงากพิษ
advertisement
![เห็ด-4](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/05/เห็ด-4-1-576x768.jpg)
[ads]
1) ผิวหมวกเห็ดขรุขระมีสะเก็ดหยาบสีขาว
2) ไม่พบริ้วที่ขอบหมวก
3) ก้านตันตลอดแนว
ผู้ที่รับประทานเห็ดระงากพิษ จะแสดงอาการภายใน 6-24 ชั่วโมง มีอาการท้องร่วง เป็นตะคริวที่ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมามีอาการตับไตวาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ การต้ม ทอด ย่าง ไม่สามารถทำลายพิษได้
ในช่วงนี้ประชาชนก็จะเริ่มหาเก็บเห็ดระโงก มาขาย มารับประทานกันแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวังทั้งคนเก็บและคนบริโภคค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com, ขอขอบคุณที่มาจาก : ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี