ว่านตีนตะขาบ และตะขาบบิน ช่วยถอนพิษ บรรเทาอาการปวด!!

advertisement
พืชพรรณไม้ต่างๆ นั้นมีประโยชน์ได้มากมายกว่าที่เห็นนะคะ บางชนิดปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับให้ความสวยงาม ให้ร่มเงา ป้องกันภัยจากสัตว์มีพิษ หรือนำมาใช้ประกอบอาหารได้ดอกใช้ประดับ ผลกินได้ และวันนี้ Kaijeaw.com อยากจะชวนให้คุณมารู้จักกับ 'ว่านตีนตะขาบ' และ 'ตะขาบบิน' พืช 2 ชนิดนี้มีลักษณะและสรรพคุณที่คล้ายกัน จนหลายๆ คนสับสน และโดยทั่วไปแล้วเป็นที่นำมาปลูกใส่ลงในกระถางไว้ดู ไว้ประดับเพื่อความสวยงาม และมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวคะ อย่างไรนั้นไปดูกันเลยคะ
สมุนไพรว่านตีนตะขาบ
advertisement

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : muchlenbeckia platyclada meissn.
ชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ : ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), เพว (กรุงเทพฯ), ตะขาบปีนกล้วย ต้นตีนตะขาบ (ไทย) เป็นต้น
ลักษณะ : เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ลำต้นสีเขียวเป็นปล้องๆ เมื่อต้นสูงจะมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยยาวใบออกตรงข้ามกันเป็นปลีก 2 ข้างจากโคนไปถึงยอด มองคล้ายตะขาบ ใบมีสีเขียวเข้ม[ads]
advertisement

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
– ในตำราสมุนไพรกล่าวว่า ทั้งต้น รสเฝื่อนเมา แก้พิษตะขาบ แก้พิษแมงป่อง แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ หมอพื้นบ้านจะนำไปใช้ในการรักษาพิษจากพวกตะขาบกัด โดยนำใบมาบดผสมกับน้ำมะนาว หรือนำยางสดไปพอกบริเวณที่โดนกัดหรือที่ถูกต่อย เมื่อรู้สึกว่ายางเริ่มแห้ง ก็ให้ทาซ้ำไปเรื่อยๆ ประมาณ 30 นาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการบวมได้ ส่วนอีกวิธีให้ใช้ต้นและใบสดประมาณ 1 ขีด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว 100 ซีซี แล้วนำส่วนผสมที่ได้มาบอกบริเวณบาดแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
– ชาวบ้านใช้ต้นและใบสด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูที่เป็นน้ำหนวก อย่างได้ผลดีมาก ใช้เพียง 2-3 ครั้งก็จะแห้งและหายดี
– ต้นและใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า เอาแต่น้ำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอกได้ดี
ข้อควรระวัง : ชื่อตีนตะขาบนี้เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีอยู่หลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะคล้ายตะขาบด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นการนำมาใช้เป็นยาจะต้องเลือกใช้ตามลักษณะของว่านตีนตะขาบที่กล่าวไว้เท่านั้น
advertisement

ประโยชน์ของว่านตีนตะขาบ
ปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ว่านชนิดนี้มักนิยมนำมาใส่ลงในกระถางไว้ดูเพื่อความสวยงาม โดยคนจีนจะนิยมปลูกกันมากตามบ้าน และตามสวนยาจีนทั่วไป รวมถึงคนไทยด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ : ตีนตะขาบและตะขาบบิน เป็นไม้คนละชนิดกันค่ะ บางพื้นที่ก็เรียกชื่อเหมือนๆ กัน แต่ลักษณะของลำต้นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายคลึงตะขาบเหมือนกันทั้งสองต้น และเป็นพืชในวงศ์ polygonaceae เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเราได้รู้จักกับต้นว่านตีนตะขาบแล้ว เรามารู้จักกับตะขาบบินกันบ้างนะคะ
สมุนไพรตะขาบบิน
ลักษณะของตะขาบบิน : เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงสูง 1-2เมตร ลำต้นแบนเป็นข้อๆ สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนสีเขียว แบนเรียบ
ใบ : ใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้น มีใบน้อย หรือไม่มีเลย ใบเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบและท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ[ads]
สรรพคุณทางยา
ทั้งต้นมีรสหวานสุขุม แก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี แก้ฝีในปอด แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้เจ็บตามผิวหนัง แก้ผื่นคันแก้น้ำเหลืองเสีย แก้ฝีตะมอย แก้งูสวัด
วิธีใช้ : ชาวบ้านจะใช้ต้นและใบสด ตำผสมเหล้า หรือกับน้ำซาวข้าว คั้นเอาน้ำใช้ทา ส่วนกากใช้พอก ถอนพิษแมงป่อง และตะขาบกัดต่อยและแก้ฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก หรือใช้ส่วนต้นและใบตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ทาแก้เคล็ดขัดยอก
advertisement

ไม้ทั้งสองชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ ขึ้นง่าย เลี้ยงง่าย ปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับให้ความสวยงาม โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดที่มีภูมิอากาศชื้น หรือมีพวกตะขาบชุก จะนิยมปลูกริมรั้วเป็นทั้งไม้ประดับและใช้ประโยชน์ไล่ตะขาบได้ด้วย
คราวนี้ใครที่เคยสับสนว่าพืชสมุนไพรที่มีลักษณะและชื่อคล้ายๆ กันของว่านตีนตะขาบกับตะขาบบินนั้นแตกต่างกันอย่างไร ก็ได้เข้าใจอย่างถูกต้องกันแล้วนะคะ เพื่อจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม หากว่าจะใช้เป็นยาสมุนไพรก็ควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์เสมอ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี และที่สำคัญแล้วอย่าลืมปลูกไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นไม้ประดับด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com