สธ.เผยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อัตราการเสียชีวิตลดลง เหลือน้อยกว่าร้อยละ 10
advertisement
กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการดำเนินงานเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ครอบคลุมทุกเขตบริการสุขภาพทั้ง 13 เขต สำหรับโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย” ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6
advertisement
เน้นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานและมีผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โดยเครือข่ายบริการไร้รอยต่อ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจอย่างรวดเร็ว มีศูนย์โรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นในทุกภูมิภาค สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 วันนี้ (23 สิงหาคม 2561) ที่โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น พลัสแวนด้าแกรนด์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร[ads]
นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมวิชาการและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย (Save Thais from Heart Diseases)” ว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของประชาชนไทย โดยเฉพาะภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการตีบหรืออุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงหัวใจ จำแนกเป็น 2 ชนิด คือ หลอดเลือดมีการอุดตัน 100% (STEMI) และหลอดเลือดมีการตีบที่รุนแรง (NSTEMI) จากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน สำหรับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมอง ในประเทศไทยประมาณปีละ37,000 ราย ในระหว่างปี 2548-2552 คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจ ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 1,185 ราย โดยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยจะมีอัตราตายสูงกว่าที่อื่นประมาณ 4-6 เท่า
advertisement
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการพัฒนาเครือข่ายเป็นเขตบริการสุขภาพ (Service Plan) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดย Service Plan สาขาโรคหัวใจ เป็นหนึ่งในระบบ Service Plan ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโดยรวมน้อยกว่า 27 คนต่อประชากร 1 แสนคน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ได้รับการรักษาโดยให้ยาละลายลิ่มเลือดและทำบอลลูนขยายหลอดเลือด (PCI) ได้ประมาณร้อยละ 80 โรงพยาบาลระดับ F2 ขึ้นไป สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ 100% อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลน้อยกว่าร้อยละ 10 แสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพของสถานพยาบาลทั่วประเทศ รวมทั้งโรงพยาบาลระดับ S เป็นโรงพยาบาลที่มีศูนย์การรักษาโรคหัวใจ สามารถทำ PCI ได้ กระจายอยู่ทุกภาค ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ และได้รับการดูแลรักษาโรคหัวใจได้อย่างรวดเร็วและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ[ads2]
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคหัวใจ เพื่อตอบสนองนโยบายในการลดอัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ เร่งรัดการพัฒนาเครือข่ายโรคหัวใจและจัดทำโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย (Save Thais from Heart Diseases)” ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการ แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป/ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเอกชน รวม 600 คน ตั้งเป้าเพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่เฉียบพลันรุนแรงหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะและเสียชีวิตได้ การป้องกันผลแทรกซ้อนโดยเน้นการรักษาที่รวดเร็วโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดและหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและลดอัตราการเสียชีวิต โครงการนี้มีส่วนในการกระตุ้นและติดตามการทำงานของเครือข่ายเพื่อตอบสนองนโยบาย Service Plan สาขาโรคหัวใจของกระทรวงสาธารณสุข
advertisement
แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึง 31 กรกฎาคม 2561 จากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 602 แห่ง มีผู้ป่วยเข้ารับบริการจำนวน 17,160 ราย ข้อมูลจาก Thai ACS Registry เป็นผู้ป่วยประเภท STEMI 5,301 ราย, NSTEMI 6,349 ราย ,Unstable Angina 1,933 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 2,472 ราย ทำ PCI 1,640 ราย อัตราตาย STEMI ร้อยละ 9.85 NSTEMI ร้อยละ 6.06 ผู้ป่วยได้รับการรักษาและมีการส่งต่ออย่างรวดเร็วในกรณีที่เกินศักยภาพของโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางขึ้นไปสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ 100 % โรงพยาบาลที่มีศูนย์หัวใจทำบอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจได้มากขึ้นสถาบันโรคทรวงอก ได้ดำเนินโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 จัดอบรมวิชาการสัญจรทั่วทุกภูมิภาค 13 เขตบริการสุขภาพ รวม 5 ครั้ง มีผู้เข้าอบรม จำนวน 1,218 ราย สาธิตและแสดงวิธีการทำหัตถการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่างๆ จำนวน 28 ราย ประสบผลสำเร็จดีทุกราย[ads3]
advertisement
จัดทำคู่มือมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ การรักษาหัวใจล้มเหลว แผนภูมิการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเฉียบพลันรุนแรง และแผนภูมิการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว มีการบริหารจัดการข้อมูลโรคหัวใจในภาพรวมของประเทศด้วยโปรแกรม Thai ACS Registry แลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านโรคหัวใจที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาค
ขอขอบคุณข้อมูลจา : กรมการแพทย์