ฝาง..มากคุณค่า สรรพคุณไม่ธรรมดา!!
advertisement
“ฝาง” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ พบตามป่าละเมาะ เขาหินปูน ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งทั่วไป ออกดอกระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม เป็นช่อดอกดกสีเหลืองงามอร่ามเด่นชัด เป็นที่นิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้านตามชนบท และที่สำคัญ “ฝาง” นั้นมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่ไม่ธรรมดาเลยค่ะ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นน้ำดื่มสมุนไพรฝาง มีทั้งในรูปแบบพร้อมดื่มและแบบชง “ฝาง” มีสรพคุณยาสมุนไพรอย่างไรบ้าง ตาม Kaijeaw.com ไปดูพร้อมกันค่ะ
“ฝาง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan L. จัดอยู่ในวงศ์ Leguminosaeสมุนไพรฝาง และมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ขวาง, ฝางแดง, หนามโค้ง (แพร่), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (ทั่วไป, กรุงเทพฯ, ภาคกลาง), ง้าย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลำฝาง (ลั้วะ), สะมั่วะ (เมี่ยน), โซปั้ก (จีน), ซูมู่ ซูฟังมู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมุนไพรฝาง
advertisement
ต้น – เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ผลัดใบ สูง 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้น ๆ ทั่วไป ถ้าแก่นและเนื้อไม้มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่า “ฝางเสน” ถ้าแก่นมีสีเหลืองส้ม รสฝาดขื่น จะเรียกว่า “ฝางส้ม” [ads]
advertisement
ใบ – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ แกนช่อใบยาว 20-40 ซม. มีช่อใบย่อย 8-15 คู่ แต่ละช่อใบ มีใบย่อย 5-18 คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-10 มม. ยาว 8-20 มม. ปลายใบกลมถึงเว้าตื้น โคนตัดและเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยงหรือมีขนประปรายทั้งสองด้าน ก้านใบสั้นมาก หรือไม่มีก้าน หูใบยาว 3-4 มม. ร่วงง่าย
advertisement
ดอก – ออกดอกเป็นช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ออกรวมกันเป็นช่อ ช่อยาวได้ถึง 40 ซม. มีใบประดับรูปใบหอก ร่วงง่าย ยาว 5-8 มม. ปลายเรียวแหลมมีขน ก้านดอกย่อย ยาว 1.2-1.8 ซม. มีขนสั้นนุ่ม มีข้อต่อหรือเป็นข้อที่ใกล้ปลายก้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกลี้ยง ขอบมีขนครุย ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน กลีบเลี้ยงกลีบล่างสุด ขนาดใหญ่สุด และเว้ามากกว่ากลีบอื่น กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง รูปไข่กลับ กว้าง 6-10 มม. ยาว 9-12 มม. ผิวและขอบกลีบย่น กลีบกลางขนาดเล็กกว่า มีก้าน กลีบด้านในมีขนจากโคนไปถึงกลางกลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน แยกเป็นอิสระ ก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนสั้นนุ่ม มี 1 ช่อง มี ออวุล 3-6 เม็ด
advertisement
ผล – เป็นฝักรูปขอบขนาน แกมรูปไข่กลับ แบนแข็งเป็นจะงอยแหลม มีสีน้ำตาลเข้ม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-8.5 ซม.ส่วนที่ค่อนมาทางโคนฝักจะสอบเอียงเล็กน้อย ด้านปลายฝักจะผายกว้างและมีจะงอยแหลมที่ปลายด้านหนึ่ง เมล็ด 2-4 อัน รูปรี กว้าง 0.8-1 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม.
advertisement
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของฝาง
แก่นฝาง – รสฝาด เค็ม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ มีฤทธิ์บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม แก้เลือดอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก บรรเทาอาการท้องร่วง ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บรรเทาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและทางปัสสาวะ แก้อาการหัวใจขาดเลือด (จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก) กระจายเลือดที่อุดตัน ลดการปวดมดลูกในสตรีหลังคลอด นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ได้ดี เช่น ในลำไส้และกระเพาะอาหาร เลือดกำเดาในจมูก เป็นต้น น้ำต้มแก่นฝางให้สีแดง ใช้เป็นหลักในการทำน้ำยาอุทัย ใช้แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี
เมล็ด – เมล็ดแก่แห้ง นำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง หรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้
เนื้อไม้ – เป็นส่วนผสมหลักในยาบำรุงหลังคลอดบุตร ผสมกับปูนขาว บดทาหน้าผากหลัง คลอดบุตร ช่วยให้เย็นศีรษะ และลดอาการเจ็บปวด เป็นยาขับระดูอย่างแรง แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา แก้โลหิตตกหนัก แก้เสมหะ ดี และโลหิต
ราก – ให้สีเหลือง ใช้ทำสีย้อมผ้า และไหม ใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม [yengo]
advertisement
ตำรับยาสมุนไพรที่มีฝางเป็นส่วนประกอบ
– ยาบำรุงร่างกาย แก้ประดง ระบุให้ใช้แก่นฝาง แก่นไม้แดง รากเดื่อหอม อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกิน
– ยาบำรุงกำลัง ระบุให้ใช้แก่นตากแห้ง ผสมกับเปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง ตานเหลือง ข้าวหลามดง โด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำ ม้ากระทืบโรง มะตันขอ ไม้มะดูก หัวข้าวเย็น และลำต้นฮ่อสะพายควาย ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย และอีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง กำลังช้างสาร ม้ากระทืบโรง และรากกระจ้อนเน่า อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม และอีกตำรับระบุให้ใช้แก่นฝาง 1 บาท, ดอกคำไทย 2 สลึง นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เอา 1 แก้ว ใช้แบ่งรับประทานเช้าเย็นเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย และแก้กษัย
– ยาแก้กษัย ระบุให้ใช้แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง และรากเตย อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกิน หรืออาจเติมน้ำตาลให้พอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้นด้วยก็ได้
– ยาแก้ไข้ทับระดู ระบุให้ใช้ฝางเสน เกสรบัวหลวง แก่นสน รากลำเจียก รากมะพร้าว รากมะนาว รากเท้ายายม่อม รากย่านาง ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกสารภี จันทน์ขาว จันทน์แดง สักขี อย่างละ 1 บาท นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำร้อน ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา โดยให้จิบบ่อยๆ จนกว่าไข้จะสงบ
– แก้อาการไอ แก้หวัด ระบุให้ใช้แก่นฝางหนัง 3 บาท, ตะไคร้ 3 ต้น ทุบให้ละเอียด, น้ำ 1 ลิตร ใส่น้ำปูนใสเล็กน้อย แล้วต้มพอให้ได้น้ำยาสีแดง ใช้รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา หรืออาจผสมน้ำตาลกรวดด้วยก็ได้
– แก้โรคหืดหอบ ระบุให้ใช้แก่นฝางเสน, แก่นแสมสาร, เถาวัลย์เปรียง, ใบมะคำไก่ อย่างละ 2 บาท 2 สลึง ใส่น้ำพอท่วมยา แล้วต้มให้เดือด 10 นาที นำมากินต่างน้ำให้หมดภายในวันนั้น พอวันต่อมาให้เติมน้ำเท่าเดิม ต้มเดือด 5 นาที แล้วกินเหมือนวันแรก ต้มกินจนยาจืดประมาณ 5 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนยาใหม่ โดยให้ต้มกินไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาย
– แก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ใช้ฝาดสมานโรคท้องร่วง ตำรายาระบุให้ใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 500 มิลลิเมตร แล้วเคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง หรือจะใช้ฝาง 1 ส่วน ต่อน้ำ 20 ส่วน นำไปต้มเคี่ยว 15 นาที ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ หรือ 4-8 ช้อนแกง
– ยาแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนปิดกั้นไม่มา ให้ใช้แก่นฝาง 70 กรัม, ผงโกฐน้ำเต้า 30 กรัม, และน้ำประสานทองบดเป็นผง 15 กรัม นำมารวมกันต้มให้เป็นน้ำเหลว แล้วเติมเหล้าเข้าผสม ใช้รับประทานครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 ครั้ง
– ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์ เป็นตำรับยาที่ใช้แก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ โดยประกอบไปด้วยเครื่องยา 2 สิ่ง คือ ฝางเสนและเปลือกมะขามป้อม อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำ 4 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน ใช้กินเป็นยาแก้อาการท้องเสียอย่างแรงและเป็นยาแก้บิด
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฝาง
ฝางมีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือน ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน
พรรณไม้ที่มีสรรพคุณมากเช่นฝาง สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาขนาดย่อมได้ สามารถตัดกิ่งที่เลื้อยพันออกให้เป็นทรงตามที่ต้องการได้ และมีช่อดอกดกสีเหลืองงามอร่ามเด่นชัด เป็นที่สวยงามรื่นรมย์ไม่น้อยเลนะคะ หรือจะปลูกเป็นแนวรั้วบ้านก็ดี เช่นกัน ในส่วนของยาสมุนไพรนั้นควรใช้ด้วยความรอบคอบ และปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฝางสมุนไพรสำเร็จรูปวางจำหน่าย เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งคุณควรพิจารณาความน่าเชื่อถือไว้วางใจ และสังเกตเครื่องหมาย อย. และทะเบียนยาอย่างถี่ถ้วนด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com