สรรพากรชี้แจง กรณีเรียกเก็บภาษี ไม่เกี่ยวขายดีจากคนละครึ่ง
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/คนละครึ่ง-1-1-1024x512.jpg)
advertisement
จากกรณีที่มีผู้ค้าขาย หลายรายออกมาร้องเรียนเรื่องการ เก็บภาษีหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง โดยล่าสุดได้มีการนำเสนอข่าว ว่านายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ระบุมีข้อกังวลเรื่องภาษีของผู้ค้าขาย เนื่องจากกรมสรรพากรส่งแบบประเมินภาษีปี 2563 ให้พ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการ ของรัฐบาล เช่น “คนละครึ่ง” แต่ได้รับในปี 2564 ทำให้เข้าใจผิดว่าถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง อีกทั้งโครงการประเภทนี้เป็นโครงการระยะสั้น เป้าหมายคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงไม่ควรประเมินรายได้ภาษีในส่วนนี้ นั้น
advertisement
![คนละครึ่ง-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/คนละครึ่ง-1.jpg)
นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว ดังนี้
advertisement
![คนละครึ่ง-2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/คนละครึ่ง-2-1024x768.jpg)
1. ในการประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2563 ผู้ประกอบกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐ หรือไม่ หากผู้ประกอบการมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ก็มีหน้าที่ต้องนำรายได้มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียเงินได้บุคคลธรรมดาภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2564 อย่างไรก็ดี กรมสรรพากรได้ขยายเวลาการยื่นแบบฯ จากวันที่ 31 มีนาคม 2564 ไปเป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องของผู้ประกอบการ
advertisement
![คนละครึ่ง-3](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/คนละครึ่ง-3-1024x536.jpg)
2. กรมสรรพากรได้ทำการส่งจดหมายแจ้งเตือนผู้เงินได้ให้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ให้หลงลืม เพื่อผู้ประกอบการจะได้ไม่มีภาระเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม กรณียื่นแบบภาษีเงินได้ล่าช้ากว่ากำหนด
advertisement
![คนละครึ่ง-4](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/คนละครึ่ง-4.jpg)
3. การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการประเมินตนเองของผู้ประกอบการ ซึ่งมีหน้าที่นำรายได้ที่ได้รับจากการประกอบการกิจการมายื่นเสียภาษีตามข้อเท็จจริง ส่วนพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์การมีรายได้ ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ เช่น ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องมีหลักฐาน การออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น สำหรับหลักฐานบัญชีเงินฝากธนาคาร เป็นเพียงข้อเท็จจริงหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ประกอบการรับรู้ถึงรายได้ของตนเองเท่านั้น นอกจากนั้นกรมสรรพากรได้พัฒนากระบวนการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ในการจดทะเบียน ยื่นแบบภาษี ชำระภาษี และคืนภาษี ทุกขั้นตอนผ่านระบบ Tax from Home ซึ่งเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ผ่านทางเว็บไซต์ กรมสรรพากร www.rd.go.th
advertisement
![คนละครึ่ง-6](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/คนละครึ่ง-6.jpg)
4. กรมสรรพากร ขอยืนยันว่า การที่กรมฯ ส่งหนังสือไปแจ้งเตือนผู้ประกอบการ ไม่ได้มีเป้าหมายจะเรียกเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาลโดยเฉพาะแต่อย่างใด แต่เป็นการแจ้งเตือนผู้ประกอบการว่าท่านมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เท่านั้น และไม่ได้เป็นการประเมินภาษีแต่อย่างใด
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร.1161