สะบ้ามอญ..แก้ปวดข้อ รักษาโรคผิวหนัง

advertisement
สะบ้ามอญ เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้นแบนและมักบิดเป็นเกลียว ดอก ออกเป็นช่อกระจุก สีขาวอมเหลือง ผลเป็นฝักยาว มีเมล็ด 5-7 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม รูปทรงคล้ายสะบ้าหัวเข่า ในเทศกาลสงกรานต์ชาวมอญนิยมเอาเมล็ดทอยเล่นกันสนุก เรียกว่า “เล่นสะบ้า” เป็นที่มาของชื่อ “สะบ้ามอญ” คนโบราณใช้รักษาเส้นผมให้แข็งแรงและดกดำเป็นเงางามอยู่เสมอ โดยนำเอาต้นหรือกิ่งก้านมาทุบด้วยด้ามขวานหรือท่อนไม้จนบุบแตกแล้วผึ่งลมพอหมาด นำไปตีขยี้กับน้ำในกะละมังจะเกิดฟองลื่นเหมือนกับฟองสบู่ใช้หมักผม สระล้างเส้นผม และสะบ้ามอญนั้นมีประโยชน์สรรพคุณอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
สะบ้ามอญมีชื่อทางชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Entada rheedii Spreng. มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า มะนิม หมากงิม สะบ้า สะบ้าช้าง มะบ้า มะบ้าหลวง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสะบ้ามอญ
advertisement

ต้น – เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สูง 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นมักคดงอหรือบิดเป็นเกลียว เปลือกนอกเรียบสีน้ำตาลแก่
advertisement

ใบ – เป็นใบประกอบแบบขนนก สองชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 1.3-3.5 ซม. ยาว 2.5-7 ซม. ปลายใบ แหลมถึงทู่เล็กน้อยและมักมีติ่งแหลม [ads]
advertisement

ดอก – สีขาวแล้วเปลี่ยน เป็นสีเหลือง ออกเป็นช่อแกนยาว 13-25 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบรองดอกรูปถ้วยปากกว้าง กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบ ถึงรูปหอก รังไข่เกลี้ยง
advertisement

ผล – เป็นฝัก รูปขอบขนานตรง หรือโค้ง กว้าง 7-15 ซม. ยาวได้ถึง 2 เมตร เปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ข้อจะหักเป็นท่อนๆ เมล็ดสีน้ำตาล รูปกึ่งกลม แบน แข็ง ผิวมันเรียบ กว้าง 3.5-4 ซม. [yengo]
advertisement

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะบ้ามอญ
เถา – มีรสเมา ใช้ตำพอกผมหรือผิวหนัง ฆ่าพยาธิผิวหนัง
เมล็ด – มีรสเมาเบื่อ ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง เผาเป็นถ่าน รับประทานแก้พิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษร้อน มีรสเมาเบื่อ เนื้อในเมล็ด ใช้ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พยาธิ แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง แก้หืด แก้เกลื้อน แก้กลากใช้เมล็ดในสุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทาน แก้พิษไข้ตัวร้อน แก้ไข้ที่มีพิษจัดและเซื่องซึม เนื้อในเมล็ดคั่วให้สตรีท้องคลอดกินจะทำให้คลอดง่าย
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เมล็ด หรือราก ฝนเหล้า ทาและฝนน้ำ แก้โรคผิวหนัง และแผลเรื้อรัง ทั้งต้น ผสมในลูกประคบ แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย
ในประเทศฟิลิปปินส์ มีการใช้เปลือกต้นต้มน้ำ นำน้ำที่ได้มาสระผมกันรังแค ใช้น้ำจากเปลือกต้นทาแก้คันและโรคผิวหนังที่เป็นสะเก็ด เปลือกใช้เบื่อปลาได้
advertisement

เพิ่มเติม
สะบ้ายังมีอีก 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่ขนาดเมล็ดกับขนาดของฝักเท่านั้น
1) “สะบ้าลาย” ชนิดนี้จะมีเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก ไม่นิยมนำไปใช้เป็นสมุนไพร
2) “สะบ้าดำ” ชนิดนี้มีเมล็ด 7-8 เมล็ดต่อฝัก แต่ขนาดของเมล็ดและขนาดของฝักจะเล็กกว่า “สะบ้ามอญ” นิยมเอาเมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หิด เหา ผื่นคัน และโรคผิวหนัง
3) “สะบ้าเลือด” ชนิดนี้เปลือกเมล็ดจะแข็งมาก พบขึ้นทางภาคเหนือ นิยมนำไปหุงเป็นน้ำมันทาแก้กลากเกลื้อน
ปัจจุบันสมุนไพรสะบ้ามอญอาจหาได้ยาก เพราะไม่เป็นที่นิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้านกันซักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่หมอยาโบราณหรือชาวบ้านจะเข้าไปหามาใช้ ตามแหล่งที่เกิด เช่น ในป่า แต่หากว่าใครสนใจสมุนไพรชนิดนี้ก็อาจลองหามาปลูกดูบ้าง จะได้ใช้ประโยชน์ได้ง่ายๆ ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com