สัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายขาดธาตุเหล็ก
advertisement
ธาตุเหล็ก เป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อร่างกายของคนทุกเพศทุกวัย ยิ่งในวัยที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตยิ่งต้องการธาตุเหล็ก เช่น วัยทารก เด็กวัยรุ่น และหญิงที่ตั้งครรภ์ แต่ก็มีปริมาณไม่น้อยที่มีภาวะร่างกายขาดธาตุเหล็ก สัญญาณบ่งบอกใดบ้างที่จะทำให้เรารู้ได้ว่าร่างกายขาดธาตุเหล็กวันนี้ kaijeaw.com จะพาไปศึกษาถึงภาวะของการขาดธาตุเหล็กกันค่ะ
advertisement
ภาวะขาดธาตุเหล็กคืออะไร
ภาวะขาดธาตุเหล็กหรือเกลือแร่เหล็ก (Iron deficiency) คือ ภาวะผิดปกติที่เกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก โดยทั่วไป มักเกิดจากขาดธาตุเหล็กในอาหารที่บริโภค หรือจากมีภาวะเลือดออกเรื้อรัง เช่น การมีแผลในกระเพาะอาหาร หรือในลำไส้ เป็นต้น[ads]
ต้นเหตุของโรค
ภาวะขาดธาตุเหล็ก เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง โดยเป็นสาเหตุให้เกิดโรค/ภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก ซึ่งภาวะซีดจากสาเหตุนี้พบได้บ่อยทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศที่ด้อยพัฒนา ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักเกิดในผู้หญิงวัยยังมีประจำเดือน (พบประมาณ 4-8% ของหญิงวัยยังมีประจำเดือน) สาเหตุจากเสียเลือดจากความผิดปกติของประจำเดือน หรือขาดธาตุเหล็กในภาวะการตั้งครรภ์ หรือในภาวะให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการธาตุเหล็กสูงขึ้น ทั้งนี้ ภาวะขาดธาตุเหล็ก พบเกิดในผู้ชายและในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้น้อยกว่าในผู้หญิงวัยมีประจำเดือน
ธาตุเหล็กมากขนาดไหน ที่ร่างกายต้องการ
สำหรับผู้หญิงในวัย 15-50 ปี ควรได้รับธาตุเหล็กประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับธาตุเหล็กให้ได้วันละ 10 มิลลิกรัมก็เพียงพอค่ะ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ ควรไปตรวจวัดปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายให้ชัวร์ๆ เพราะหากไม่ใช่ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กอยู่แล้ว การรับประทานธาตุเหล็กเข้าไปเพิ่ม อาจทำให้ร่างกายกำจัดธาตุเหล็กออกไปไม่หมด และส่งผลเสียต่อการทำงานของตับได้
advertisement
ธาตุเหล็กมีประโยชน์และโทษอย่างไร
ประโยชน์
1. ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรค ช่วยการเจริญเติบ โตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ (Cognitive development)
2. ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆ ในการสันดาปพลังงาน นำพลังงานต่างๆ ไปใช้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
1.ร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ
2.จากโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อย เช่น โรคอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ภาวะกระเพาะอาหารขาดกรด (Achlorhydria) และในโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
3.ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น กินแคลเซียมเสริมอาหารหลังกินอาหารทันที ยาลดกรด หรือยาเคลือบกระเพาะอาหาร เป็นต้น
4.กิน/ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารต้านการดูดซึมธาตุเหล็กในปริมาณสูงต่อเนื่อง เช่น ชา กาแฟ
5.ภาวะที่ร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น ได้แก่ ช่วงวัยที่กำลังมีการเจริญเติบโต เช่น ทารกในครรภ์และในวัยเด็ก ช่วงการตั้งครรภ์ ช่วงให้นมบุตร การเสียเลือดเรื้อรัง เช่น มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร และ/หรือลำไส้ หรือจากโรคริดสีดวงทวาร มีพยาธิลำไส้บางชนิด เช่น พยาธิปากขอ พยาธิตัวกลม วัยมีประจำเดือนและมีประจำเดือนออกมากในแต่ละเดือน หรือหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
advertisement
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ภาวะขาดธาตุเหล็ก มักพบได้ในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย เนื่องจากร่างกายผู้ชายเก็บสะสมธาตุเหล็กได้สูงกว่าในผู้หญิงไม่ต้องเสียเลือดจากประจำเดือน ไม่มีการตั้งครรภ์และไม่ได้ให้นมบุตรซึ่งทั้งสองภาวะหลัง เป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายต้องการธาตุเหล็กสูงกว่าปกติ จึงก่อให้เกิดการขาดธาตุเหล็กได้ง่าย อย่างไรก็ตามเพศชายก็สามารถเป็นได้จากอาการต่อไปนี้
-หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
–ทารกในครรภ์ และวัยเด็ก
-หญิงที่มีประจำเดือนมากทุกเดือน
-มีเลือดออกเรื้อรัง เช่น โรคริดสีดวงทวาร
-มีโรคเรื้อรังของทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ขาดธาตุเหล็กแล้วจะมีอาการอย่างไร
-อาการสำคัญที่สุดจากขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะซีด (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก)
-อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียน สับสน ผมร่วง
-สติปัญญาด้อยลง
-ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย
–ลิ้นอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ
-อยากอาหารรสชาติแปลกๆ
advertisement
แนวทางการรักษา
-ให้ธาตุเหล็กเสริมอาหาร อาจโดยการกินหรือการฉีด ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการและสาเหตุของโรค และการให้อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
-การรักษาสาเหตุ เช่น ยาถ่ายพยาธิเมื่อการขาดธาตุเหล็กเกิดจากพยาธิ รักษาภาวะประจำเดือนผิดปกติเมื่อมีเลือดประจำเดือนออกมาก เป็นต้น
-การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้เลือด กรณีเลือดออกมาก หรือซีดมากจนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
วิธีป้องกันและดูแลตนเองเมื่อขาดธาตุเหล็ก
การดูแลตนเองที่สำคัญที่สุด คือการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก โดยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก และควรพบแพทย์เมื่อตนเองอยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก เพื่อการรักษาสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น เมื่อมีอาการต่างๆ ดังกล่าวแล้วในหัวข้ออาการ ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ หลังจากนั้นควรปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ ซึ่งที่สำคัญ คือ[ads]
-กินยาต่างๆ ที่แพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
-กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
-รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
-ไม่ซื้อธาตุเหล็กเสริมอาหารกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันโทษ/ผลข้าง เคียงจากธาตุเหล็ก
-พบแพทย์ตามนัดเสมอ หรือ รีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่างๆ ไม่ดีขึ้น แย่ลงหรือผิดปกติไปจากเดิม
-รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ป้องกันโรคพยาธิต่างๆ
จะเห็นได้ว่าภาวะการขาดธาตุเหล็กย่อมส่งผลต่อร่างกายและทำให้ร่างกายอ่อนแอนำไปสู่การเป็นโรคต่างๆได้ เช่น โรคโลหิตจาง ฉะนั้นต้องหมั่นดูแลสุขภาพ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก ถ้าสงสัยว่าร่างกายมีปัญหาควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com