สุดยอด เทคนิคการกินหมูกระทะ ไม่ให้น้ำมันกระเด็นใส่แขน
advertisement
หมูกระทะ คงเป็นเมนูโปรดระดับชาติของคนไทยไปแล้ว ไม่ว่าจะงานไหน ฉลองอะไร ก็ต้องมีหมูกระทะเป็นเมนูหลัก แต่เจ้าหมูกระทะ นอกจากจะทำให้สาวๆผมเหม็นแล้ว มันยังน่าเบื่อตรงที่น้ำมันจากเจ้าหมูที่เราปิ้งชอบกระเด็นใส่แขน ต้องนั่งระวังกันตลอด
advertisement
วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆมาฝากคนชอบกินหมูกระทะมาฝากกันค่ะ ทำอย่างไรไม่ให้น้ำมันกระเด็นใส่แขน โดยเฟซบุ๊กเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ได้ออกมาเผยเคล็ดลับเอาไว้ว่า…[ads]
advertisement
หลายๆคนเวลาทานหมูกระทะ/ หรือหมูย่างเกาหลีแล้ว นอกจากจะได้ความอิ่มอร่อย และพุงสามชั้นกลับบ้านแล้ว ยังมีรอยจุดเล็กๆจากการที่น้ำมันกระเด็นใส่แขนเวลานาบเนื้อสัตว์สดๆลงบนกระทะย่างอีกด้วย
แต่เร็วๆนี้มีทวิตที่นิยมรีทวิตและแชร์ว่า “การใช้เห็ดลงไปย่างร่วมด้วยจะลดน้ำมันกระเด็นได้อย่างชะงักงันเลยทีเดียว” คราวนี้แอดก็จะมาเล่าถึง #เกร็ดความรู้ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ เกี่ยวกับการกระเด็นของน้ำมันของหมูกระทะนะครับ
ปกติแล้วปรากฎการณ์ “น้ำมันกระเด็น” (oil splatter) นั้นเกิดจากหยดน้ำเล็กๆนั้นเกิดการเดือดทันที (suddenly boil) ส่งผลทำให้เกิดการประทุขึ้น เมื่อได้รับความร้อนสูงๆโดยที่มีฟิล์มของน้ำมันเคลือบอยู่
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นด้วยกฎตายตัวของค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำที่สูงกว่าน้ำมันจึงทำให้หยดน้ำนั้นจมลงในน้ำมันร้อนๆที่ไหลปรี่ออกมาจากชิ้นเนื้อและเบคอนตลอดเวลา เมื่อหยดน้ำนั้นได้รับความร้อนจนเดือดจึงเกิดการประทุแบบ “แหวกฟ้า (น้ำมัน) คว้าดาว (แขนเรา)” ได้ดี
ซึ่งนี่ก็เป็นปรากฎการณ์เดียวกับการสร้างระเบิด (explosive) ชัดๆ เพราะการระเบิดจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเกิดการเป็นไอ (evaporation) แบบฉับพลันในที่ที่มีปริมาตรจำกัด จึงส่งผลทำให้ไอที่เกิดขึ้นนั้นมีความดันสูงมากจนคาดไม่ถึง
เมื่อคำนวณเบาๆแล้วจะพบว่า หยดน้ำเพียง 1 หน่วยสามารถขยายปริมาตรได้เป็นไอน้ำถึง 1600 เท่าที่จุดเดือดในความดันบรรยากาศได้อย่างทันที ดังนั้นปรากฎการณ์การระบิดประทุจากหยดน้ำในน้ำมันร้อนๆ จึงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ
https://van.physics.illinois.edu/qa/listing.php?id=1734
การใส่ชิ้นเห็ด/ หรือไม่ก็วัสดุที่สามารถเกิดการพาหยดน้ำขึ้นมาระเหยเหนือผิวน้ำมันโดยปรากฎการณ์ผ่านช่องแคบตีบแบบคล้ายหลอดแคปปิลารี (capillary effects) ของชิ้นเห็ดที่เน้นโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายหลอดยาวหรือมีครีบที่เป็นร่องตีบมากๆ เช่น เห็ดที่มีลักษณะลักษณะยาว หรือไม่ก็มีครีบเล็กๆ เช่น เห็ดเข็มทอง เห็ดนางฟ้า หรือเห็ดภูฏาน ได้ จึงทำให้ลดการกระเด็นของน้ำมันได้ดี แต่ในกรณีที่ #ถ้าเห็ดจมน้ำมันทุกส่วนจะยาวจะมีรูตีบก็ช่วยไม่ได้ นะครับ
ส่วนเห็ดที่ไร้ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ที่มีรูปร่างกลมๆป้อมๆผิวเรียบๆ เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางรมหลวงนั้น จะนาบอย่างไรน้ำมันก็ยังคงกระเด็นอยู่ดี (แถมบางทียังจะกระเด็นมากกว่าเดิมไปอีก เพราะการคายน้ำของเห็ดออกมาเพิ่มไปอีกนั่นเอง) เนื่องจากไม่มีช่องส่งผ่านไอน้ำให้ลอยเหนือผิวน้ำมันแบบเห็ดเข็มทอง เห็ดนางฟ้า ไรงี้
#เห็ดเกิดจากความเหงา
#แต่พุงเราเกิดจากความโหย
#เพราะบางทีท้องเราไม่หิวแต่ปากเราโหย
#เคล็ดลับเบาๆป้องกันน้ำมันกระเด็นใส่แขน
#แต่เป็นเคล็ดลับเพิ่มน้ำหนักให้ตัวเรา เห่อออว์!!
สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปประกอบที่ลูกเพจส่งมา และลิงก์นี้ด้วยนะครับ[ads2]
advertisement
ต่อไปนี้เราก็กินหมูกระทะได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวลคอยหลบน้ำมันอีกต่อไปแล้ว พอรู้เทคนิคนี้แล้วเราอาจจะกินจนน้ำหนักมากขึ้นก็ได้ค่ะ
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว