สู้กับภูมิแพ้..ให้ชนะ!!
advertisement
อาการจาม น้ำมูกไหล คัน คัดจมูก ไอเรื้อรัง หรือปวดศีรษะเรื้อรังเนื่องจากไซนัสตัน เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด นอนกรน หรือนอนไม่เต็มอิ่ม ฯลฯ อาการเหล่านี้อาจจะบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ในระบบทางเดินหายใจ หรือภูมิแพ้ทางจมูกนั่นเองค่ะ โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กๆ อาการของโรคแม้จะไม่รุนแรงจนต้องนอนโรงพยาบาล แต่ก็สามารถสร้างปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันได้มากเลยทีเดียว และที่สิ่งที่น่ากังวลคือ เมื่อเป็นโรคนี้แล้วก็ยากที่จะหายขาดได้ วิธีที่ดีที่สุด ทำได้เพียงรักษาอาการในเบื้องต้นและป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ สำหรับใครที่เป็นโรคภูมิแพ้นี้อยู่แล้วเราก็ตาม Kaijeaw.com ไปดูวิธีการต่อสู้กับโรคนี้กันค่ะ
โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม หรือที่เรียกอีกอย่างว่า สารก่อภูมิแพ้ ที่ผ่านเข้าไปในร่างกาย ในคนปรกติ ปฏิกิริยาเช่นว่านี้จะเกิดขึ้นน้อยมากและไม่มีอาการแต่อย่างใด แต่ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปรกติเกิดขึ้น
เนื่องจากพยาธิสภาพในอวัยวะต่างๆ ซึ่งอาจจะเกิดเฉพาะที่หรือกระจาย ไปก็ได้ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีปฏิกิริยาภูมิไวเกินต่อ ฝุ่น ตัวไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น สารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกินนี้เรียกว่า “สารก่อภูมิแพ้”
advertisement
อาการของภูมิแพ้
1. แพ้อากาศ หวัดเรื้อรัง (Allergic rhinitis) ตอนเช้ามีน้ำมูก มีเสมหะในคอตลอดเวลา
2. หอบหืด (Asthma) เป็นโรคในกลุ่มภูมิแพ้ต่อตัวเอง เนื้อเยื่อในหลอดลมจะบวม หลอดลมตีบ หายใจลำบาก
3. ภูมิแพ้ของตาและหู (Allergic conjunctivitis) จะมีอาการคัน ระคายเคือง แสบเคืองตา มีตุ่มเม็ดเล็กอยู่ในหูหรือหูอื้อ น้ำหนวก
4. ผื่นแพ้ (Urticaria, Dermatitis, Eczema) หรือลมพิษ คือโดนสารที่ระคายเคือง จะเกิดผื่นขึ้นมา
5. แพ้อาหาร (Food allergy) เช่น แพ้อาหารทะเล
6. แพ้แมลงและปฏิกิริยาแอนาฟัยแลคติก (Anaphylactic) ที่พบมากคือ แพ้แมลงสาบ
7. แพ้ยา (Drug allergy) [ads]
แพ้อากาศ เป็นหวัดเรื้อรัง (Allergic Rhinitis)
สาเหตุ จากสารที่กระตุ้นทำให้แพ้ ได้แก่ ไรฝุ่น ปีกแมลงสาบ เกสรดอกไม้ กระบวนการภูมิต้านทานของเราเอง เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เจอกับสารแปลกปลอม แล้วมันจะจำเอาไว้ว่าเป็นสารแปลกปลอมที่ต้องกำจัดทิ้ง เผอิญสารแปลกปลอมนี้ ไปคล้ายกับสารที่มีอยู่ในตัวเราเอง ฉะนั้นแทนที่มันจะไปจัดการสารแปลกปลอมนั้น แต่กลับไปจัดการกับสารในร่างกายของเราเอง ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้
อาการและอาการแสดง
– คันจมูก (Itching) อาจร่วมกับ คอ ตา ผิวหนัง ก็ได้
– น้ำมูกไหล (Runny nose)
– การรับกลิ่นเสียไป (Impaired smell)
– จมูกตัน (Nasal congestion)
– ไอ (Coughing)
– ปวดศีรษะ (Headache)
– น้ำตาไหล (Tearing eyes)
– หายใจเสียงดัง (Sneezing wheezing)
การวินิจฉัยโรค
– ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
– Skin Test คือ การทดลองโดยนำเข็มสะกิดตามผิวหนังให้เป็นแผล และเอาสารที่คนส่วนใหญ่แพ้ไปหยอดตามแผล ถ้าบวมแดงมากตรงจุดไหนแสดงว่าเราแพ้สารตัวนั้น แต่ Skin test ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย ทำเพื่อให้ทราบว่าเราแพ้อะไรเท่านั้นเอง เพื่อการดูแลตนเองในขั้นตอนต่อไป
แนวทางในการรักษาโรคภูมิแพ้
1.หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสุนัข, ควันบุหรี่, เกสรดอกไม้, ฝุ่นในบ้าน, ไรฝุ่น, นมวัวและผลิตภัณฑ์จากวัว พบได้ว่าคนไทยมักแพ้นมวัวมาก ลองหลีกเลี่ยงนมวัวระยะหนึ่ง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด ไอศกรีม คอฟฟี่เมต อาการภูมิแพ้จะดีขึ้นมาก
2. รักษาด้วยยา
– Antihistamin (แอนตี้ฮีสตามิน) เด็กที่กินยาแทนที่ฮีสตามินจะมีผลข้างเคียง ทำให้เบื่ออาหาร, ตัวจะเล็ก
– Steroids (สเตียรอยด์) ใช้ระยะยาวไม่ดี จะกดภูมิต้านทาน จะกดภูมิต้านทานจะทำให้อ้วนฉุได้
– Decongest anis ยาพ่นจมูก
3. Immunotherapy (อีมโมโนเธอราพี) เป็นการปรับภูมิต้านทาน คือทำให้ร่างกายชินกับสารแพ้ชนิดนั้น ตอนแรกถ้าแพ้มากให้สารนั้นปริมาณน้อย ถ้าชินแล้วจึงใส่เพิ่มจนสามารถทนระดับของสารแพ้ตัวนั้น โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
วัคซีนสำหรับโรคภูมิแพ้
เป็นวิธีการรักษาที่ตรงกับโรคมากที่สุดและช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสในการหายขาดจากโรคมากขึ้น โดยผู้ป่วยร้อยละ 70 ที่ฉีดวัคซีนโรคภูมิแพ้ สามารถหยุดยาได้เลย แต่เนื่องจากวัคซีนโรคภูมิแพ้มีความแตกต่างจากวัคซีนที่ใช้ในโรคอื่นๆ เพราะต้องให้อย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยการฉีดวัคซีนทุกสัปดาห์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน หลังจาก 4 เดือนไปแล้วปรับเป็นฉีดเดือนละ 2 ครั้ง และต่อด้วยเดือนละครั้ง จากนั้นต้องมีการฉีดวัคซีน 6 – 10 ครั้งต่อปี อีก 3 – 4 ปี ทั้งนี้เนื่องจากหากให้วัคซีนในโด้สที่สูงเกินไป แทนที่วัคซีนนั้นจะไปช่วยปรับสภาพภูมิให้กลับมาเป็นภูมิต้านทาน อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ ซึ่งด้วยข้อจำกัดและระยะเวลาในการฉีดวัคซีนที่ยาวนาน วัคซีนจึงไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ แต่เป็นตัวเลือกสำหรับผู้ป่วยมีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรงหรือมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
advertisement
แนวทางในการป้องกันโรคภูมิแพ้
1. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยในผู้ใหญ่ควรเข้านอนก่อนเวลา 23.00 น. และเด็กควรเข้านอนก่อนเวลา 22.00 น.
2. ควรได้รับแสงแดดเพื่อเพิ่มความอบอุ่นในร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ยกเว้นในระหว่างที่จมูกตันมากหรือหอบหืดกำเริบ [ads]
ในช่วงที่แดดไม่แรงจนเกินไป) โดยให้แสงแดดส่องที่บริเวณแผ่นหลังและฝ่ามือเป็นหลัก
3. รักษาความสะอาดของบ้าน ที่อยู่อาศัยให้สะอาดปราศจากสารก่อภูมิแพ้โดยเฉพาะในห้องนอน ควรทำความสะอาดเป็นประจำอยากไม่ให้มีฝุ่น และสิ่งสกปรกใดๆ
4. เครื่องนอนเช่น หมอน ผ้าห่ม ควรทำด้วยใยสังเคราะห์ซึ่งซักล้างได้ ไม่ควรใช้นุ่น ยาง ฟองน้ำ หรือขนนก เพราะใช้ไปแล้วนานๆ จะเป็นที่สะสมฝุ่นและเชื้อรา
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งที่ตนเองแพ้ เช่น ฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ นมวัว ควันฯลฯ
6. ไม่ควรเลี้ยงสุนัข แมวหรือนกในบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่มีผู้เป็นโรคแพ้
7. ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีฝุ่นมาก เช่น ในขณะที่ผู้อื่นกำลังกวาดบ้านหรือดูดฝุ่นอยู่หรือเข้าไปในห้องเก็บของ เก่าๆ ห้องบนเพดาน หรือโกดังเก็บของ จำเป็นก็ต้องใส่ผ้าปิดจมูก
8. หมั่นล้างจมูก เพื่อทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูก การล้างจมูกจะช่วยชะล้างมูก คราบมูก หรือหนองบริเวณโพรงจมูก และหลังโพรงจมูกออก ทำให้โพรงจมูกสะอาด น้ำที่ใช้แนะนำให้ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก และทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
9. ด้านโภชนาการ พยายามปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงหรืองดการรับประทานของเย็น ไอศกรีม เป็นต้น และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักกาดขาว มัสตาร์ด มังคุด แตงโม
แคนตาลูป เป็นต้น
10. ป้องกันความเย็น รักษาความอุ่น ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป ควรใส่เสื้อนอนที่มิดชิดเพื่อป้องกันความเย็นที่อาจกระทบต่อร่างกายได้ รักษาความอบอุ่นบริเวณแผ่นหลัง ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้จมูกมักจะมีอาการเย็นบริเวณแผ่นหลัง ดังนั้นควรป้องกันให้แผ่นหลังอบอุ่นตลอดเวลา
แม้ว่าโรคภูมิแพ้อากาศนั้น จะยากที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ หลักการง่ายๆ ก็คือการหมั่นรักษาสุขภาพร่างกายของตนให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ และรักษาความสะอาดของตนเองและที่อยู่อาศัย ให้ปราศจากฝุ่นละอองและเชื้อโรคเพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ จนอาจจะลืมไปเลย ว่าเคยเป็น!!
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com