เพราะเหตุใด ในหลวงถึงไม่ทรงโปรดเสวย “ปลานิล”
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/10/เพราะเหตุใด-ในหลวงถึงไม่ทรงโปรดเสวย-ปลานิล-1-1024x512.jpg)
advertisement
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดเสวยปลานิล ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญชาญชัยกราบบังคมทูลถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล มีรับสั่งว่า
"ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร"
ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา[yengo]
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ประโยชน์ของปลานิล
1) ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบประสาทและสมอง
ในปลานิลมีโอเมกา 3 ในปริมาณที่ไม่น้อยไปกว่าปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะปลานิลที่เลี้ยงในฟาร์ม ซึ่งโอเมกา 3 นี้ จะช่วยเพิ่มการจดจำของสมองและทำให้ระบบประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันอาการอัลไซเมอร์ได้ดี
2) ปลานิลมีโซเดียมต่ำ สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกลัวอาการบวมเค็ม ซึ่งปกติแล้วปลาน้ำจืดจะมีปริมาณแคลเซียมใกล้เคียงกับปลาทะเล แต่มีปริมาณโซเดียมน้อยกว่า จึงไม่ทำให้ไตทำงานหนัก
3) ไม่มีไขมัน ปลานิลเป็นปลาที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตทะเลน้ำลึกหรือเขตที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงไม่มีการสะสมไขมันแต่อย่างใด เหมาะกับการรับประทานเพื่อลดน้ำหนักอีกด้วย
4) ปลานิลเป็นแหล่งโปรตีนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โปรตีนถือเป็นสารอาหารที่อยู่ในกระบวนการทำงานภายในร่างกายแทบทุกกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งนอกจากโปรตีนจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อแล้วยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายได้ดีอีกด้วย
5) ช่วยให้ผิวอ่อนเยาว์ อีกหนึ่งคุณประโยชน์ของโปรตีนที่ได้จากเนื้อปลา คือคอลาเจนธรรมชาติชั้นดีจากธรรมชาติ โดยคอลาเจนที่ว่านี้จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวพรรณ ทำผิวใสดูอ่อนกว่าวัย นอกจากนั้นยังส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นปกติอีกด้วย [yengo]
6) ช่วยปกป้องทารกในครรภ์ ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่ตั้งครรภ์พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานปลาน้ำจืด ไม่ว่าจะเป็นปลาดุก ปลาตะเพียนหรือ "ปลานิล" มีอัตราการแท้งเนื่องจากคลอดก่อนกำหนดน้อยกว่าผู้ที่ไม่รับประทานปลาเลย นอกจากนั้นเด็กที่คลอดออกมา มีแนวโน้มเป็นโรคสมาธิสั้นน้อยกว่าเด็กที่มารดาไม่รับประทานปลาในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย
7) ป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ ปลาน้ำจืดอย่างปลานิล เป็นปลาที่ไม่มีคอเลตเตอรอลหรือไขมัน แต่มีสารสำคัญหลายชนิดที่ช่วยลดปริมาณไขมันตามผนังเลือดและหลอดเลือดได้ดี โดยหากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และรับประทานปลาเป็นประจำ จะช่วยลดอัตราการสะสมของไขมันในร่างกาย ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้
ปลาที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันตามท้องตลาด แท้จริงแล้วก็เป็นอีกหนึ่งพระราชกรณียกิจของในหลวง ที่ทรงทำให้ประชาชนได้มีอาหารที่ดีต่อสุขภาพไว้รับประทาน เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นจริงๆค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : irrigation.rid.go.th เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com