หวายดง (หวายขม) แก้พิษไข้ ช่วยเจริญอาหาร ลดภาวะเครียด!!

advertisement
“หวายดง” (หวายขม) เป็นพืชชนิดหนึ่งจำพวกปาล์มขนาดเล็ก เกิดขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ที่ชุ่มชื้น หน่อของหวายรับประทานได้ค่ะ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำต้นอ่อนของหวาย แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน มีกาบแข็งเต็มไปด้วยหนามหุ้ม เนื้อในอ่อน กรอบ สีขาว มีรสขม ชาวบ้านนิยมนำมาปรุงอาหาร แต่หน่อหวายมีรสขม ก่อนนำไปปรุงอาหารก็ต้องนำไปต้มให้หายขมเสียก่อน จากนั้นนำไปทำแกง ดอง หรือจิ้มน้ำพริก “หวายดง” (หวายขม) นี้ดูเหมือนจะเป็นผักป่าธรรมดาๆ แต่ก็มีประโยชน์ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวนะคะ
advertisement

http://2magrotech.com/2012/wp-content/uploads/2015/02/968941.jpeg
หวายดงมีชื่ออื่นๆ : หวายดง, หวายใหญ่, หวายนั่ง, เสือครอง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หวายขม, หวายสยาม, หวายบุ๋น เป็นต้น
[ads]
advertisement

http://lumphaya.stkc.go.th/img/gallery/yala_52013_07_18_00_47_40.jpg
ลักษณะต้น : เป็นพืชจำพวกปาล์มขนาดเล็ก ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลม สูง 0.5-1 เมตร
ลักษณะใบ : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับเวียนรอบต้น ใบย่อยรูปดาบ
ลักษณะดอก : ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน สีเหลืองนวล
ลักษณะผล : ผลสด รูปทรงกลม เปลือกเหนียวลักษณะคล้ายเกล็ด
[yengo]
สรรพคุณ
– ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ยอดอ่อน เคี้ยวกินบรรเทาอาการปวดจากพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ถ้ารีบใช้ทันทีจะได้ผลดีขึ้น
– ตำรับยาพื้นบ้านจะใช้รากหวายนั่งผสมกับลำต้นเหมือนคนตัวผู้ ลำต้นเหมือนคนตัวเมีย ลำต้นเฉียงพร้านางแอ แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยเจริญอาหาร โดยอาจผสมรากหวายขม รากกะสูก และรากเขียงเข้าไปด้วยก็ได้
– ลูกหวาย รับประทานได้เป็นผัก อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินซี ใน 100 กรัม ให้พลังงานถึง 79 แคลอรี คาร์โบไฮเดรต 18.6 กรัม
– หน่อหวายมีโปรตีนและเส้นใย รสขมของหวายมีสรรพคุณทางยา แก้โรคท้องร่วง หน่อหวายมีธาตุสังกะสีในปริมาณสูง ช่วยให้ไม่เครียดง่าย ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังช่วยไม่ให้สมรรถภาพทางเพศ (ชาย) เสื่อมถอยไปก่อนเวลาอันควร
– หัวหรือรากและยอดหวาย มีรสขมเย็นเมาเล็กน้อย ใช้ปรุงยากินดับพิษร้อน พิษไข้ แก้เซื่องซึม แก้พิษ ตับปอดพิการ แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ
หวายดง (หวายขม) ที่ชาวบ้านหาเก็บในป่ารับประทานได้เป็นผักชนิดหนึ่ง ทั้งอุดมด้วยสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย แต่ก็ควรระวังด้วยนะคะ เพราะจริงๆ แล้วหวายนั้นมีหลายชนิด ลักษณะคล้ายคลึงกัน และอาจไปพบชนิดที่เป็นพิษได้ ดังนั้นต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของผู้ที่คุ้นเคยและมีความรู้ดีเสมอนะคะ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com