หินปูน..เกิดจากอะไร..จำเป็นต้องขูดหรือไม่?
advertisement
การดูแลรักษาความสะอาดฟันที่ดีที่สุดก็คือการแปรงฟันนั่นเองค่ะ เชื่อว่าทุกคนรู้ว่าควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าและเย็น แต่ว่า.. ในแต่ละวัน ก่อน-หลังแปรงฟัน คุณเคยสังเกตุหรือไม่ว่า ฟันของคุณมีคราบขาวออกเหลืองหรือสีครีมที่เกาะอยู่บ้างหรือเปล่า และแปรงฟันออกได้หมดหรือไม่ เชื่อว่าหลายคนมีปัญหานี้ หรือที่เรียกว่าคราบหินปูนั่นเองค่ะ นอกจากจะทำให้รอยยิ้มของคุณดูเหลืองหม่นหมองไม่สะอาดแล้ว ยังเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก และโรคในช่องปากอื่นๆ อีกด้วย วันนี้ Kaijeaw.com จึงมาไขข้อสงสัยว่าหินปูน..เกิดจากอะไร..จะมีวิธีการกำจัดได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ
“หินปูน” คือคราบแบคทีเรียที่สะสมจนแข็งและตกตะกอนตามตัวฟัน หินปูนสามารถจับตัวที่ร่องเหงือกได้เช่นกัน ส่วนมากแล้วคราบหินปูนจะเกิดปริเวณซอกฟันระหว่างฟัน หรือเกิดที่โคนของฟันทุกซี่ได้ทั้งปาก ไม่เว้นแม้กระทั้งฟันปลอม เพราะฟันด้านหน้าเราแปรงฟันได้ถนัด ทำให้ทำความสะอาดได้ดีกว่าซอกฟันด้านใน หินปูนจะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหงือก หินปูนจะเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการจับตัวของคราบแบคทีเรีย ซึ่งจะนำไปสู่โรคที่อันตรายเช่น ฟันผุ โรคเหงือก หรือโรคปริทนต์ เป็นต้น
[ads]
advertisement
อันตรายจากหินปูน
– ทำให้เลือดออกขณะแปรงฟัน หรือเหงือกบวม จากการพยายามแปรงฟันแรงๆ เพื่อกำจัดคราบหินปูน
– ฟันเหลือง เนื่องจากหินปูนเป็นแคลเซียมและจุลินทรีย์มาเคลือบผิวฟัน จึงเกิดการตกตะกอนเป็นสีเหลือง
– มีกลิ่นปาก เพราะคราบหินปูนก็มีแบคทีเรียจากขี้ฟันที่ทำให้มีกลิ่นปาก
– เหงือกร่น เพราะหินปูนหากเกาะตัวกันใหญ่มากๆ มันก็จะดันลงข้างล่าง ดันเหงือกของเราให้ถอยตัวลงไป
– ฟันโยก ฟันห่าง ถ้าหินปูนดันเหงือกลงมากๆ แล้วก็จะทำให้เหงือกยึดฟันได้น้อย เวลาเคี้ยวอาหารก็มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ฟันจะโยก และถ้าหินปูนใหญ่ขึ้นก็จะดันฟันข้างๆ ได้ ทำให้ฟันห่างกัน
– ฟันผุ เชื้อจุลินทรีย์ที่ย่อยอาหารแล้วปล่อยสารที่กรดออกมา จะกัดกร่อนผิวเคลือบฟันให้เป็นร่อง เป็นอย่างต่อเนื่องนานๆ จะทำให้ผิวฟันเป็นรู ซึ่งเรียกว่าฟันผุ
– โรคปริทนต์ คราบหินปูนถ้าเป็นอย่างต่อเนื่องนานๆ เกิดเป็นโรคปริทนต์ได้ เพราะแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เกาะบนหินปูนจะกำจัดได้ยากกว่าบนผิวฟัน
สังเกตว่าหินปูนสะสมได้อย่างไร
หินปูนต่างจากคราบแบคทีเรียซึ่งมีลักษณะเป็นฟิล์มใสๆ เกาะตัวกัน แต่หินปูนมีลักษณะเป็นหินที่มองเห็นได้ง่ายถ้าจับตัวเหนือร่องเหงือก สัญญาณที่พบบ่อยของหินปูนคือคราบเหลืองหรือน้ำตาลที่เกาะบนฟันหรือเหงือก ทางที่จะตรวจพบและขจัดหินปูนได้อย่างแน่นอนคือการพบทันตแพทย์
วิธีการจำกัดหินปูน
หินปูนหรือคราบจุลินทรีย์ที่ยึดติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยวิธีการทำความสะอาดฟันด้วยตัวเอง ต้องอาศัยทันตแพทย์ช่วยกำจัดหินปูนให้ โดยทันตแพทย์จะขูดหินปูนออกทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก จากนั้นทำรากฟันให้เรียบ (root planning) ปราศจากสารพิษใดๆ เพื่อให้เหงือกยึดแน่นรอบตัวฟันเหมือนเดิม
การขูดหินปูนให้หมดจริงๆ นั้น อาจต้องใช้เวลาพอควร อาจต้องนัดครั้งละ 30-45 นาที เป็นเวลา 2-4 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับความมากน้อยของหินปูน ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ความแข็งของหินปูนเป็นต้น
ในกรณีที่หินปูนสะสมมากจนเป็นสาเหตุของโรคปริทันต์ หลังจากนั้นประมาณ 4-6 อาทิตย์ ทันตแพทย์จะประเมินผลดูว่า ผู้ป่วยหายจากโรคปริทันต์หรือไม่ โดยดูลักษณะเหงือกว่ากลับสู่สภาพเดิมหรือยัง มีเลือดออกเวลาแปรงฟันและเมื่อใช้เครื่องมือวัดร่องลึกปริทันต์ ว่าตื้นขึ้นหรือเข้าสู่ภาวะปกติหรือไม่ ถ้ายังมีความลึกของ ร่องลึกปริทันต์อยู่ ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าควรจะทำการผ่าตัดหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นกับการร่วมมือของผู้ป่วยในการทำความสะอาดด้วย แม้ว่าเหงือกจะกลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ถ้าผู้ป่วยละเลยไม่ทำความสะอาดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นโรคปริทันต์ได้อีก
ระยะความถี่ห่างของการขูดหินปูนที่เหมาะสม
ในระยะแรก ๆ หลังการขูดหินปูน ควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจและทำความสะอาดภายใน 2-3 เดือน จากนั้นถ้าผู้ป่วยสามารถทำความสะอาดได้ดี ไม่มีเหงือกอักเสบหรือไม่มีร่องลึกปริทันต์ ทันตแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจและขูดหินปูน ภายใน 5-6 เดือน โดยทุกครั้งจะดูความร่วมมือของผู้ป่วยและอาจทบทวนวิธีการทำความสะอาดฟันและเหงือกด้วย
[ads]
advertisement
การป้องกันในการเกิด คราบหินปูน
1. แปรงฟันอย่างถูกวิธีน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือจะให้ดีควรแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อแล้ว
2. ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในทุกครั้ง หลังจากที่แปรงฟันแล้ว อย่าเพิ่งบ้วนน้ำล้างปากทันที แต่ควรจะปล่อยให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันซึมซาบเข้าสู่เนื้อฟันได้สักพัก แล้วจึงค่อยบ้วนน้ำล้างปากออก
3. ใช้เวลาในแต่ละครั้งประมาณ 2 นาที และไม่ควรแปรงนานเกินกว่า 3 นาที มิฉะนั้นอาจทำให้ผิวเคลือบฟันสึกกร่อนได้
4. ทำความสะอาดซอกฟันด้วยไหมขัดฟัน ที่เคลือบฟูลออไรด์อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เนื่องจากการแปรงฟันธรรมดา ไม่สามารถจะซอกซอนเข้าไปขจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันแต่ละซี่ได้
5. ทุกๆ 3 เดือนควรเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ ทั้งนี้เพราะนอกจากขนแปรงที่ใช้งานมานานจะบานเสียรูปทรงแล้ว สิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามซอกขนแปรง ยังเป็นแหล่งหมักหมมสะสมของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
6. พบทันตแพทย์ เพื่อให้ตรวจสุขภาพฟันและขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง
เพราะสุขภาพอนามัยของฟันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใส่ใจอยู่เสมอนะคะ แค่เพียงคุณแปรงฟันให้สะอาด รักษาอนามัยในช่องปากให้ดีอยู่เสมอ หากพบว่ามีคราบหินปูนควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อทำการขูดหินปูน เพื่อฟันขาว สวย สุขภาพที่ดีอยู่คูตัวคุณไปนานแสนนานค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com