อย. มุ่งคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยระบบฐานข้อมูลตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ
advertisement
อย. เผย มีระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพช่วยตรวจสอบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งอาหาร ยา เครื่องสาอาง เครื่องมือแพทย์ และวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข โดยสืบค้นได้ที่ Oryor Smart Application และเว็บไซต์ อย. หากพบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556
advertisement
นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการซื้อขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร เครื่องสาอาง ผ่านทางโซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัย อย่างไรก็ตาม มักพบว่าหลายผลิตภัณฑ์มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง หลอกขายให้ผู้บริโภคสั่งซื้อมาใช้ โดยผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างต่าง ๆ มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการขออนุญาตจาก อย. ไม่มีเลขทะเบียน หรือเป็นเลขทะเบียนปลอม ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใด ๆ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนเสียก่อน[ads]
advertisement
หากต้องการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว ผ่านการขออนุญาตจาก อย.แล้วหรือไม่ ขอให้สังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ โดยบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารต้องแสดงเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. ผลิตภัณฑ์ยาต้องมี เลขทะเบียนตารับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ G/70/58 และผลิตภัณฑ์เครื่องสาอาง ต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก
ทั้งนี้ อย. ได้จัดทาระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลจาเป็นก่อนเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าวที่ Oryor Smart Application เข้าไปที่เมนู ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพียงกรอกเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แล้วกด DONE ระบบจะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางของ อย. ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสาอาง และวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และสามารถตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ได้ที่เว็บไซต์ www.oryor.com และ www.fda.moph.go.th เช่น รายชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้าหนัก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทาให้หน้าอกโต ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทาให้ผิวขาว และผลิตภัณฑ์เครื่องสาอางอันตราย เป็นต้น
advertisement
รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ ในกรณีของผลิตภัณฑ์ยา การขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตถือว่าผิดกฎหมาย เพราะตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 มีข้อกาหนดชัดเจนเรื่องสถานที่ขายยาว่า ต้องไม่ขายนอกสถานที่ตามที่อนุญาต เพราะยาไม่ใช่สินค้าทั่วไป การซื้อจึงต้องได้รับคาแนะนาที่ถูกต้องจากผู้ปฏิบัติวิชาชีพโดยตรง การขายในอินเทอร์เน็ต จึงเป็นการขายนอกสถานที่ที่อนุญาต มีโทษจาคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท[ads]
ในส่วนของผู้บริโภคหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail 1556 @ fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 และร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application เพื่อ อย. จะดาเนินการปราบปรามและดาเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทาผิดต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข