อยู่ในรถนานๆ..เสี่ยงหลายโรค!!
advertisement
ทุกวันนี้การเดินทางเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งนะคะ ทำให้หลายๆ คนมีรถยนต์ส่วนตัว เพื่อที่จะไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วทันใจ แต่ด้วยสภาวะของปัจจุบันการจราจรมักจะมีการติดขัดอยู่เสมอโดยเฉพาะในเมืองหลวงด้วยแล้ว บางคนต้องใช้เวลาอยู่ในรถเพื่อเดินทางจากที่ทำงานเพื่อกลับบ้านเป็นเวลานาน 2 ถึง 3 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นเลยทีเดียว หรือสำหรับใครที่จะต้องทำงานด้วยการขับรถเป็นระยะทางไกล และต้องใช้เวลานานๆ ทุกวันหลายๆ วันติดต่อกัน เป็นเรื่องปกติที่จะต้องรู้สึกปวดเมื่อย เหนื่อยล้าตามร่างกาย ไม่เพียงเท่านั้นค่ะ เพราะยังเสี่ยงต่อโรคร้ายต่างๆ ได้อีกมากมายเลย อย่างไรนั้น ตาม Kaijeaw.com มาดูกันค่ะ[ads][fb1]
advertisement
1. อาการหลับใน
อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ หาวถี่ สมองเริ่มมึนงง ไร้สติ ไม่มีสมาธิในการขับรถ และเรื่องบางเรื่องที่เกิดขึ้นในกิจวัตรจะเข้ามาในหัวโดยไม่รู้ตัว นั่นคืออาการหลับใน ซึ่งอาจเกิดจากการนอนน้อยสะสมในแต่ละวันเป็นเวลานานๆ
แนวทางในการแก้ไข : หากรู้สึกง่วงนอนจริงๆ สังเกตได้จากอาการหาวถี่ๆ ต้องหยุดทันที อย่าฝืน เพราะอาจทำให้เกิดอาการหลับในได้ในที่สุด อาจจะเลือกแวะปั๊มพื่องีบทันทีชั่วระยะเวลาหนึ่ง และควรแก้ไขที่ต้นเหตุนั่นเป็นเพราะว่าร่างกายคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนหลับในตอนกลางคืนที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นแล้ว คุณควรเข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับให้ได้ 6-8 ชั่วโมงต่อคืน ทุกคืน
2. ปวดสายตา เมื่อยล้า
ในกรณีที่ต้องขับรถทางไกลมากๆ ต้องมีการใช้สายตาเป็นเวลานานๆ ในการในการเพ่งมองถนน ป้ายสัญญาณเตือนต่างๆ ประกอบกับแสงจ้าของดวงอาทิตย์และแสงจากหลอดไฟในยามค่ำคืน ส่งผลให้สายตาต้องเผชิญกับแสงเหล่านี้ อาจมีอาการแสบตา ปวดตา
แนวทางในการแก้ไข : เวลาขับรถนานๆ ควรจะหยุดรถเป็นระยะๆ เช่นทุก 2-3 ชม. นอกจากจะเป็นการได้ทำธุระส่วนตัว เข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำ หรือได้ยืดเส้นยืดสายแล้ว อย่าลืมที่จะพักสายตาด้วยการหลับตา และบริหารดวงตาด้วยการกรอกตาไปมาซ้ายและขวา บนล่าง และเมื่อต้องเผชิญแสงแดดจ้าก็ควรสวมแว่นตากันแดด แต่หากว่ามีอาการปวดสายตาเมื่อยล้าหรือแสบตาไม่หาย ก็ควรต้องไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อบรรเทาให้ลดน้อยลงได้
advertisement
3. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
สาเหตุเกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ในขณะขับรถ เพราะต้องเผชิญกับปัญหารถติดระหว่างเดินทาง หรือไม่มีปั๊มน้ำมันข้างทางเลย โดยจะมีอาการปัสสาวะขัด เหมือนปัสสาวะไม่สุด และปวดมาก
แนวทางในการแก้ไข : เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะห้ามอดกลั้น จำเป็นจะต้องขับถ่ายให้เรียบร้อย หากต้องเข้าห้องน้ำสาธารณะก็ควรเตรียมน้ำยาทำความสะอาด(ฝารองนั่งชักโครก) กระดาษเช็ดทำความสะอาดให้พร้อม แต่หากว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเข้าแล้วล่ะก็ สามารถซื้อยาจากเภสัชกร และดื่มน้ำมากๆ ถ้าหากรู้สึกเริ่มปวดหน่วงๆ ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อล้างปัสสาวะที่อักเสบออกมา อีกอย่างถ้าหากเลี่ยงปัญหารถติดได้ก็จะเป็นการดีค่ะ
advertisement
4. กล้ามเนื้อคออักเสบ
สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการที่ต้องนั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานานๆ เป็นประจำทุกวัน ไม่มีการขยับเขยื้อน อาการจะเริ่มจากปวดบ่าทั้งสองข้าง หลังจากนั้นจะปวดคอมาก ปวดร้าวไปถึงบ่า แขน และมีอาการมือชาด้วย ปวดจนไม่สามารถหันคอได้
แนวทางในการแก้ไข : สำหรับใครที่มีอาการดังกล่าวในการรักษาคุณหมอจะให้ยาคลายกล้ามเนื้อมาทาน พร้อมกับใส่เฝือกอ่อนชั่วคราว เพื่อช่วยไม่ให้เคลื่อนไหวมาก ประมาณ 3-4 วัน อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่มีอาการ แต่ยังต้องขับรถเป็นเวลานานๆ แนะนำให้บริหารคอระหว่างที่รถติด เช่น หันซ้ายหันขวา ก้มหัวขึ้นลง และไม่ควรเอี้ยวคอแบบกะทันหัน เพราะจะทำให้เกิดอักเสบมากยิ่งขึ้นได้
5. ระบบการย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายผิดปกติ
การที่ต้องขับรถอยู่เกือบตลอดเวลา โดยเฉพาะคนขับแท็กซี่ มักเจอกับปัญหานี้ ได้ เพราะเนื่องจากต้องรับส่งผู้โดยสารอยู่ตลอดทำให้การทานอาหารไม่เป็นเวลา และเวลาอยากเข้าห้องไม่สามารถทำได้ทันทีเมื่อต้องการ ดังนั้นเมื่อเกิดสถานการณ์แบบนี้เป็นประจำทุกวัน ก็ทำให้เป็นโรคกระเพาะอักเสบได้ รวมทั้งมีอาการท้องผูกอีกด้วย
แนวทางในการแก้ไข : ควรจะเลือกทานอาหารประเภทผักเยอะๆ หรือเลือกทานอาหารเบาๆ จะช่วยให้ระบบย่อยดีขึ้น และขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวันเช่น หลังตื่นนอนทุกวัน ก่อนออกมาทำงาน ระบบขับถ่ายจะดีขึ้น อีกทั้งก่อน ออกไปขับรถแนะนำให้ออกกำลังบริหารแขนขา และเข่า เพื่อลดการปวดเมื่อย หากต้องขับรถเป็นเวลานานๆ ได้ รวมถึงเวลาว่างจากการขับรถด้วย
6. โรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน
โรค DVT หรือ Deep Venous Thrombosis หรืออีกชื่อหนึ่งที่เราคุ้นเคยก็คือ "กลุ่มอาการเครื่องบินชั้นประหยัด" (Economy Class Syndrome) ซึ่งเกิดจากการนั่งเครื่องบินในระยะทางไกลๆ โดยเฉพาะชั้นที่นั่งราคาประหยัด ที่มีพื้นที่คับแคบ แล้วไม่ได้ขยับร่างกาย หรือลุกเปลี่ยนอิริยาบถเลย ทำให้เลือดแข็งตัวเป็นก้อน จนกลายเป็นเลือดข้นอยู่ในหลอดเลือดดำ เช่นเดียวกันกับการที่จะต้องนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ หากนั่งนานๆ จะเกิดอาการปวดชาที่ขา เท้าจะบวมแดง ซึ่งมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว
แนวทางในการแก้ไข : เพราะสาเหตุเกิดจากการไม่ลุกไปไหนมาไหนเลย ทำให้เลือดที่เคยไหลเวียนได้สะดวก เกิดการจับตัวเป็นลิ่ม เป็นก้อน มาคั่งอยู่ที่บริเวณเส้นเลือดดำตรงส่วนขา แล้วไหลเข้าไปตามกระแสเลือด ซึ่งอาจไปอุดตันตามอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด หัวใจ ฯลฯ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น ใครที่มีอาการชา บวมแดงที่ขาหรือเท้า ต้องรีบลุกยืดเส้นยืดสายโดยพลัน
advertisement
7. หมอนรองกระดูกเสื่อม
การที่ต้องขับรถเป็นระยะทางไกล มักจะพบปัญหาหมอนรองกระดูกเสื่อม รวมทั้งในคนที่ชอบยกของหนักบ่อยๆ เอี้ยวตัวผิดท่า หรือได้รับบาดเจ็บจากการตกจากที่สูง ซึ่งเริ่มแรกจะมีอาการปวดหลังเพียงเล็กน้อย จากนั้นจะเริ่มปวดมากขึ้นและลามไปยังขาข้างทั้งสอง เวลายืนนานจะมีอาการชาที่ขา นอกจากนี้ในบางรายอาจมีอาการของเอวคดด้วย
แนวทางในการแก้ไข : การรักษาคือต้องไปทำไคโรแพกติก หลังเสร็จจากการจัดกระดูกก็ค่อยๆ ดีขึ้น และควรดูแลตัวเองโดยการเล่นกีฬา เช่น เล่นเทนนิสแบบเบาๆ หากต้องเดินนานให้หยุดพักยืดเส้นยืดสายบ้าง ทำกายภาพบำบัดวันละ 3 ครั้ง ด้วยการนอนคว่ำ ศอกทั้งสองข้างตั้งฉากกับพื้น ปลายเท้าจิกทำเป็นมุมฉาก ยกตัวขึ้นแล้วแขม่วท้องเกร็งไว้นับ 1-10 ทำประมาณ 10 ครั้ง
8. พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
ด้วยการที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณมือได้ไม่ทั่วถึง เพราะต้องถือพวงมาลัยไว้ตลอดเวลาเป็นระยะเวลานานๆ อีกทั้งยังเกิดขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ก็จะยิ่งส่งผลเร็วขึ้น จะเริ่มมีอาการปวดบริเวณข้อมือ
แนวทางในการแก้ไข : สามารถรักษาได้โดยการทำกายภาพบำบัดวันละ 4 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน เพื่อให้เลือดสูบฉีด ทั้งนี้หากมีการดูแลตัวเองที่ดีก็จะลดอาการที่เป็นลงได้ เช่น ฝึกโยคะ ยกของด้วยการนั่งลงแล้วยก และช่วงไหนที่มีอากาศเย็นจะรู้สึกปวดมากกว่าปกติ จึงต้องพยายามให้อบอุ่นอยู่เสมอ หรือทายาหม่อง หรือปาล์มเพื่อเพิ่มความอบอุ่นได้[yengo][fb2]
เข้าใจได้ว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่คนเราจะต้องขับรถเป็นเวลานานๆ โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้องเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมดนี้ เพราะการที่เราต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ และอยู่บนรถในช่วงเวลาที่ไม่สามารถจอดรถหยุดพักได้ ดังนั้นนอกจากวิธีการป้องกันและแก้ไขตามสาเหตุที่เราแนะนำไปแล้ว ความพร้อมของร่างกายก็สำคัญ คุณจำเป็นจะต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และวางแผนก่อนการเดินทางในทุกครั้งด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com