12 ท่าเด็ด ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
advertisement
รูปแบบการทำงานของผู้คนในยุคนี้ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการทำงานในท่านั่งหรือท่ายืนเป็นเวลานาน การใช้ชีวิตที่รีบเร่ง ทำงานในพื้นที่จำกัด โดยเฉพาะผู้ที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะและจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ดูเหมือนจะเป็นงานที่สบายนะคะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นสาเหตุก่อให้เกิดอาการ "ออฟฟิศซินโดรม" ที่ส่งผลต่อความเจ็บป่วยทางจิตใจและร่างกายอย่างมาก คนจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาอาการปวดเมื่อย รู้สึกไม่สบายตัว และมีอาการเรื้อรังได้ เพราะ การนั่งทำงานที่ผิดท่า การนั่งในท่าก้มนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อส่วนหลังมีการหดเกร็ง ตึง จึงมีอาการปวดเมื่อย รู้สึกไม่สบายตัว และมีอาการเรื้อรังได้ ดังนั้นใครที่กำลังมีปัญหานี้อยู่ ต้องไม่พลาด Kaijeaw.com มี 12 ท่าเด็ด ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม มาฝากกันค่ะ
advertisement
“ออฟฟิศซินโดรม” คือ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนที่ทำงานในออฟฟิศ การนั่งทำงานตลอดเวลา แทบไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายหรือเคลื่อนไหวน้อย ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงเครียด และยิ่งเมื่อนั่งนานๆ เข้าจะก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ บ่า แขน ข้อมือ บางรายปวดเกร็งอย่างรุนแรงจนหันคอ หรือก้มเงยไม่ได้เลย ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปล่อยให้อาการปวดแบบนี้ไว้นานๆ อาการจะยิ่งหนักขึ้น เรื้อรังไปถึงขั้นมีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้เลยทีเดียว ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดคอ ปวดสะบัก อาจมีหินปูนหรือกระดูกงอกมาเกาะไขสันหลัง ทำให้ปวดชาที่แขน มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อได้ [ads]
อาการหมอนรองกระดูกสันหลังคอเสื่อมเป็นอาการที่ร้ายแรง มักจะปวดศีรษะ ได้ยินเสียงดังในหู ปวดกระบอกตา วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน ยิ่งเคลื่อนไหวคอมากจะยิ่งปวด ต้องพบแพทย์เพื่อรักษา โดยต้องลดการเคลื่อนไหวของคอลง และออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณคอร่วมกับทานยาระงับปวด และทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากมีอาการกดทับเส้นประสาทมาก แพทย์จะต้องทำการผ่าตัด เพื่อเอาหมอนรองกระดูกที่เคลื่อน หรือกระดูกงอกที่กดทับเส้นประสาทออกมา ซึ่งอาจต้องใช้โลหะดามกระดูกคอร่วมด้วย
นอกจากบริเวณหลัง คอ บ่า ไหล่ แล้ว ส่วนของข้อมือก็มีโอกาสเกิดอาการปวดได้เช่นกัน เพราะต้องใช้มือในการกดคีย์บอร์ด คลิกเม้าส์ เมื่อกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ เป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือตามมา บางคนเป็นถึงขนาดนิ้วล็อก ขยับนิ้วมือได้ลำบาก ต้องทำการผ่าตัดรักษา
advertisement
แนวทางการรักษาเบื้องต้น ของอาการออฟฟิศซินโดรม
1. งดนั่งทำงานผิดท่า การใช้คอมพิวเตอร์นานหรือนั่งก้มคอนานๆ
2. ประคบร้อน และนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
3. หากเริ่มมีอาการปวดเมื่อย สามารถทานยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการได้
4. บริหารกล้ามเนื้อ เป็นวิธีการที่ดีที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อ กลับมาแข็งแรงและลดอาการอ่อนล้าได้ดี
advertisement
ทั้งนี้คงเป็นเรื่องยากที่ชาวออฟฟิศ จะเลิกพฤติกรรมดังกล่าว เพราะหน้าที่และการงานที่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นแล้ว ในระหว่างที่คุณนั่งทำงาน สามารถปฏิบัติตามท่าทางดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยป้องกันอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม [yengo]
1. ท่าบริหารขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงเอามือทั้งสองข้างวางแนบพื้นหรือแตะปลายเท้า โดยไม่งอเข่า
2. ท่าผีเสื้อ เริ่มจากวางมือทั้งสองข้างบนหัวไหล่ จากนั้นหมุนข้อศอกและแขนมาชนกันด้านหน้า เกร็งกล้ามเนื้อแขนและหลังไว้ 3-5 นาที
3. ท่าบริหารหมุนไหล่ วางแขนที่พนักวางแขน หมุนไหล่เป็นวงกลมไปด้านหน้า และหมุนไหล่ย้อนกลับเป็นวงกลมไปด้านหลัง
4. ท่า Shoulder Shrug (ยักไหล่) ปล่อยแขนข้างลำตัวทั้ง 2 ข้าง ยกหัวไหล่ให้สูงขึ้นถึงหู เกร็งไหล่และหลังไว้ 3-5 นาที
5. ท่าเอียงคอ บริหารคอ โดยทำการเอียงคอให้หูถึงไหล่สลับข้าง
6. ท่ายืดคอและลำตัว ใช้มือจับด้านข้างของเก้าอี้ นั่งตัวตรงแล้วเอียงตัวไปฝั่งตรงข้าม (ให้ลำตัวเป็นแนวตรง) สลับซ้ายและขวา
7. ท่าไชโย โดยให้คุณ ปล่อยแขนข้างลำตัว ทั้ง 2 ข้าง แล้วจึงยกแขนทั้ง 2 ข้าง ขึ้นมาประสานเหนือศรีษะ ประสานมือแน่นและเกร็งกล้ามเนื้อไว้ก่อนปล่อยมือลงข้างลำตัว
8. ท่าก้มเหยียดหลังตรง วางเท้าบนพื้น โน้มตัวไปด้านหน้า ใช้มือจับขาเก้าอี้ แล้วเหยียดและเกร็งหลังให้ตรง
9. ท่า Straight Leg Stretch เหยียดขาตรง ยืนให้ตัวตรง โน้มตัวไปข้างหน้า แล้วเอามือแตะที่ปลายเท้า โดยให้เข่าเหยียดตรง
10. ท่าบิดตัว ใช้มือจับขอบเก้าอี้ฝั่งตรงข้าม แล้วจึงหมุนตัวไปฝั่งตรงข้ามให้เอวและไหล่ตึง ทำสลับซ้ายและขวา
11. ท่าบริหารสะบักและหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อยๆ ดึงแขนไปด้านหลัง
12. Take A Walk เดินพัก 10-15 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อของหลังและไหล่ผ่อนคลาย
“โรคออฟฟิศซินโดรม” แม้ว่าเมื่อเป็นแล้วไม่จำเป็นต้องไปหาหมอในทันที แต่ก็สร้างภาระความปวดเมื่อย ไม่สบายให้แก่ร่างกายและจิตใจมากเลยทีเดียวนะคะ ทั้งหากเป็นปัญหาสะสมก็ยากแก่การรักษาให้หายขาดอีกด้วย ดังนั้น ทางที่ดีคือการป้องกันค่ะ ระหว่างนั่งอยู่บนโต๊ะทำงานควรมีการขยับเขยื้อนร่างกายบ่อยๆ ลุกเดินบ่อยๆ และเมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้เดินไปดื่มน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ 3-5 นาที และอย่าลืมท่าทางที่เรามีมาแนะนำกัน สามารถเลือกตามที่สะดวกได้เลยค่ะ ก็จะเป็นการแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาได้อีกด้วย
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com