ข้อควรระวังอันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด!!
advertisement
ทำไมสายไฟฟ้าแรงสูงจึงขาด
สายไฟฟ้าแรงสูงอาจขาดได้หลายสาเหตุ เช่น ฟ้าผ่า ลมพายุ พัดเสาล้ม รถเกี่ยวสายไฟฟ้า รถชนเสาไฟฟ้า ต้นไม้หรือป้ายโฆษณาล้มทับสายไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าลัดวงจรอันเนื่องมาจากมีวัสดุ หรือต้นไม้ แตะเสียดสีสายไฟฟ้า หรือมีอุปกรณ์ไฟฟ้า/ฉนวนไฟฟ้าแรงสูง เสื่อมสภาพหรือชำรุด เป็นต้น
อันตรายของสายไฟฟ้าแรงสูงขาด
เมื่อมีสายไฟฟ้าขาด บางครั้งอุปกรณ์ป้องกันอาจไม่ตัดไฟเนื่องจากกระแสลัดวงจรมีค่าต่ำ ซึ่งบุคคลทั่วไป มักเข้าใจว่าสายไฟที่ขาดนั้นเป็นสายไฟแรงต่ำที่ใช้ทั่วไปตามบ้าน หรืออาจคิดว่าสายไฟนั้นมีฉนวนหุ้มอยู่สามารถเข้าใกล้หรือจับสายไฟที่มีฉนวนนั้นได้ ข้อเท็จจริงก็คือสายไฟฟ้าแรงสูงที่แขวนบนเสานั้น โดยทั่วไปแล้วไม่อาจเข้าใกล้ หรือสัมผัสสายไฟนั้นได้ ผู้ประสบเหตุจึงมักได้รับอันตรายทั้งที่เกิดจากการสัมผัสสายไฟฟ้าโดยตรง และการไม่สัมผัสสายไฟโดยตรงก็มีทำให้ได้รับบาดเจ็บตั้งแต่สาหัสสูญเสียอวัยวะจนถึงขั้นเสียชีวิต
advertisement
ถ้าพบสายไฟฟ้าขาดควรทำอย่างไร
1. ให้ระลึกอยู่เสมอว่า สายนั้นมีไฟอาจเป็นสายไฟแรงสูง การมีไฟนั้นท่านไม่จำเป็นต้องเห็นประกายไฟ หรือได้ยินเสียงใดๆ
2. พยายามอยู่ให้ไกลไปให้ห่างการได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงนั้น ไม่จำเป็นว่าท่านต้องสัมผัสสายไฟทุก ครั้งหรือสายไฟจะมีฉนวนหรือไม่ ดังนั้น อย่าเข้าใกล้ รั้ว ต้นไม้ รถยนต์ น้ำ หรือสื่อไฟฟ้าใดๆ ที่แตะกับสายไฟฟ้าเป็นอันขาด
3. โทรศัพท์แจ้งการไฟฟ้านครหลวง (1130) หรือ หน่วยงานสาธารณภัยทันที และกันคนไม่ให้เข้าไปใกล้ท่านควรทำอย่างไร ถ้าพบว่าสายไฟฟ้าพาดอยู่กับนถยนต์ของท่าน ขั้นแรกจะต้องควบคุมสติไม่ให้ตกใจ อย่าผลีผลามออกไปนอกรถทันที ให้นั่งอยู่ในรถตรวจ มองดูสภาพภายนอกรถและบนพื้นนอกตัวรถจากในรถว่ามีสายไฟฟ้าพาดหรือแตะสัมผัสส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถหรือไม่ หรือมีสายไฟฟ้าพาดอยู่บนพื้นที่เปียกใกล้ๆ รถหรือไม่
[ads]
ถ้าพบว่ามีสายไฟพาดรถในลักษณะดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. อย่าพยายามลงจากรถจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีสายไฟฟ้าพาดอยู่กับรถ หรือมีสายไฟฟ้าพาดอยู่บนพื้นดินที่เปียกอยู่การอยู่ในรถถือว่าปลอดภัยที่สุด และถ้าโทรศัพท์ได้ให้แจ้งการไฟฟ้านครหลวง (1130) หรือ หน่วยงานสาธารณภัยที่เกี่ยวข้องให้เร็วที่สุด
2. ขณะอยู่ในรถถ้าสามารถทำได้ให้ขับรถให้พ้นจากสายไฟฟ้าที่พาดอยู่นั้น แต่ต้องระวังไม่ให้ทับข้ามสายไฟเพราะสายไฟอาจเกี่ยวติดพันเข้ากับรถและเกิดประกายไฟขึ้นได้
3. ตะโกนบอกผู้ที่อยู่นอกรถหรือผู้ที่ต้องการช่วยเหลืออย่าเข้าใกล้รถให้ออกห่างจากรถและสายไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าการไฟฟ้านครหลวงได้ดับไฟแล้ว (ต้องบอกให้โทรศัพท์แจ้งการไฟฟ้านครหลวง หรือหน่วยงานสาธารณภัยที่เกี่ยวข้องด้วย)
advertisement
กรณีจำเป็นต้องออกนอกตัวรถ เช่น รถกำลังเกิดเพลิงไหม้ มีวิธีลงจากรถให้ปลอดภัยจากไฟฟ้าแรงสูง ดังนี้
1. อย่าก้าวเท้าลงจากรถเป็นอันขาด ต้องใช้วิธี กระโดดลอยตัวลงจากรถให้ห่างจากตัวรถโดยมีวิธีการลงสู่พื้นให้ปลอดภัยดังนี้
– ลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างเดียวหรือ ด้วยเท้าสอง ข้างแต่ต้องให้เท้าชิดกัน
– ขณะเท้าแตะพื้น มือเท้าและร่างกายต้อง ไม่แตะส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถ
2. เมื่อลงจากรถและเท้าแตะพื้นแล้ว ให้ออกห่างจากตัวรถและสายไฟให้มากที่สุด วิธีออกห่างที่ปลอดภัย คือ ให้ค่อยๆ ขยับเดินลากเท้าโดยให้เท้าทั้ง 2 ชิดกัน (อาจใช้วิธีกระโดด 2 เท้าพร้อมกัน) ห้ามเดินก้าวเท้ายาวหรือวิ่ง เพื่อไม่ให้ถูกไฟดูดจากพื้นดินด้วยแรงดันช่วงก้าว (step voltage)
3. เมื่อลงจากรถแล้ว อย่ากลับเข้าใกล้รถอีก (เช่น อย่าพยายามดับไฟไหม้รถหรือไปหยิบของมีค่าในรถ) จนกว่าจะแน่ใจว่าการไฟฟ้านครหลวงได้ดับไฟแล้ว
อันตรายของต้นไม้กับสายไฟ
ต้นไม้ที่มีกิ่งไม้แตะเสียดสีกับสายไฟฟ้าแรงสูง นอกจากจะทำให้ฉนวนสายไฟชำรุดและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สายไฟแรงสูงขาดแล้ว ต้นไม้ที่ใกล้สายไฟฟ้ายังมีภัยอันตรายที่มองไม่เห็น กล่าวคือ กิ่งไม้ที่ใกล้ หรือแตะสายไฟฟ้าแรงสูงอาจจะมีกระแสรั่วไหลลงมาผ่านกิ่งไม้ และลงมาตามลำต้นลงสู่พื้นดิน ผู้ที่ปีนต้นไม้พิง หรือยืนใกล้ต้นไม้ อาจจะถูกไฟฟ้าดูดจากแรงดันช่วงก้าว และแรงดันสัมผัส (Step & touch voltage)
[ads]
ข้อแนะนำเรื่องต้นไม้กับสายไฟฟ้าแรงสูง
1. แจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง เมื่อพบกิ่งไม้แตะสายไฟฟ้าแรงสูง
2. ห้ามปีนต้นไม้พิง หรือยืนใกล้ต้นไม้ที่แตะสายไฟฟ้าแรงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความชื้น หรือมีฝนตก
3. ห้ามยื่นมือหรือวัสดุใดๆ แตะสายไฟฟ้าแรงสูง ไม่ว่าจะยืนอยู่บนต้นไม้หรือบนพื้นดิน
4. อย่าพยายามตัดต้นไม้ที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง เว้นแต่ผู้ที่มีความชำนาญ หรือได้ผ่านการอบรมจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง
5. หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ใต้แนวสายไฟฟ้า หรือเข้าใกล้ หรือแตะสายไฟฟ้าแรงสูง หรือเลือกปลูก เฉพาะต้นไม้ขนาดเล็กเท่านั้น
advertisement
ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด
1. หลีกเลี่ยงการยืนอยู่ที่โคนเสาไฟฟ้าหรือใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและสายไฟฟ้าแรงสูงขาด
2. การเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเมื่อว่าวติดสายไฟให้ทิ้งสายป่านทันทีการดึงสายป่านนอกจากอาจมีไฟแรงสูงวิ่งมากับสายป่านแล้วยังทำให้สายไฟแกว่งเข้าหากันและเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้สายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกลงมาและมีผู้ได้รับอันตรายได้
3. กิ่งไม้ที่แตะและเสียดสีกับสายไฟฟ้าแรงสูงนอกจากจะมีไฟฟ้าวิ่งลงมากับต้นไม้แล้ว ยังอาจทำให้มีไฟฟ้าดับหรือสายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกลงมาและมีผู้ได้รับอันตรายได้
4. หากพบว่ามีเสียงดังคล้ายเสียงผึ้งบินบริเวณอุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าแรงสูงบนเสาไฟฟ้าให้รีบแจ้ง การไฟฟ้านครหลวงที่ใกล้ที่สุดเพื่อดำเนินการแก้ไข
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอบคุณข้อมูลจาก การไฟฟ้านครหลวง