อาการเหินน้ำ คืออะไร รับมือได้อย่างไร?
advertisement
หน้าฝนมาเยือน สำหรับคนใช้รถใช้ถนนต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่เพิ่มมากขึ้น เพราะอาจทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดน้อยลงเนื่องจากสายฝนที่โปรยปราย หลายๆอุบัติเหตุเกิดจากการขับรถเร็วในขณะที่ฝนตก และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอีกกรณีหนึ่งคือ การเหินน้ำ วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปรู้จักอาการเหินน้ำ และการรับมือกันค่ะ
อาการเหินน้ำ คนส่วนใหญ่ทราบว่า เมื่อพื้นเปียกจะลื่น แต่ไม่ค่อยเข้าใจถึงการอาการเหินน้ำซึ่งเป็นต้นเหตุของการลื่น และถึงรถจะไม่มีอาการลื่นอย่างชัดเจน ขณะที่ยางหมุนผ่านพื้นเปียก ก็เกิดอาการเหินน้ำขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะหน้าสัมผัสย่อมไม่เต็มร้อยแบบพื้นแห้ง การลื่นของคนเดินบนพื้น กับการลื่นของยางรถขณะรถแล่นไป คล้ายกันแค่บางส่วน แต่จริงๆ แล้วต่างกัน คล้ายกันตรงที่จะเกิดการยึดเกาะได้ก็ต่อเมื่อมีหน้าสัมผัสกับพื้นโดยไม่มีน้ำคั่น แตกต่างกันที่รองเท้าเป็นการกดลงจากด้านบน แต่ยางรถเป็นการหมุนไล่ไปเรื่อยๆ
อาการลื่นเมื่อพื้นเปียก เกิดขึ้นจากการมีชั้นหรือฟิล์มของน้ำอยู่บนผิวของพื้นแล้วหน้าสัมผัสที่กดลงไป ไม่สามารถกดหรือกระแทกไล่น้ำออกจากหน้าสัมผัสได้ทั้งหมด กลายเป็นมีฟิล์มน้ำแทรกอยู่ระหว่างกลาง ยิ่งมีน้ำแทรกอยู่ระหว่างกันเป็นพื้นที่มากเท่าไร ก็ยิ่งเกิดอาการลื่นมาก ยางที่หมุนไปบนพื้นเปียก ต้องพยายามกดไล่น้ำออกไปทั้งสองข้าง และน้ำบางส่วนต้องแทรกเข้าไปในร่องของดอกยางให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เหลือหน้าสัมผัสใกล้เคียงตอนถนนแห้งมากที่สุด
advertisement
อาการเหินน้ำ คือ การที่ยางไม่สามารถไล่น้ำออกจากหน้าสัมผัสได้มากพอหรือทันท่วงที กลายเป็นอาการยางหมุนอยู่บนฟิล์มน้ำ ไม่ได้หมุนโดยการสัมผัสกับพื้น หมุนแต่หมุนลอยอยู่บนชั้นของน้ำ โดยอาการเหินน้ำไม่จำเป็นล้อเหินเต็มหน้าจนลื่นไถล แต่เหินแค่บางส่วนของหน้ายางก็ถือว่าเกิดอาการเหินน้ำแล้ว เพียงแต่ผู้ขับจะคิดว่าเมื่อไรที่ลื่นถึงจะเป็นการเหินน้ำ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดอาการเหินน้ำ ในกรณีเมื่อเกิดอาการเหินน้ำคุณจะรู้สึกว่าพวงมาลัยมีน้ำหนักเบากว่าปกติ RPMs หรือหน่วยวัดอัตราการหมุนของเครื่องยนต์อาจเพิ่มขึ้นชั่วขณะ แล้วจู่ ๆ รถก็อาจจะเปลี่ยนทิศทางไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม[ads]
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการเหินน้ำ
1.ความเร็วของรถยนต์
ความเร็วของรถยนต์นั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะรถยนต์ยิ่งวิ่งมาเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่ล้อจะรีดน้ำได้ทันนั้นจะยิ่งน้อยลง ทำให้ชั้นของน้ำนั้นหนามากกว่า และมีโอกาสก่อให้เกิดอาการเหินน้ำได้มากกว่า
advertisement
2.น้ำหนักของรถยนต์
รถยนต์ยิ่งน้ำหนักมาก เมื่อเสียการควบคุมแล้ว แรงเฉี่อยจะยิ่งมากกว่า
3.ดอกยางของรถยนต์
ลักษณะของดอกยาง และ ความลึกของดอกยางนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ดอกยางจะมีการรีดน้ำไปด้านข้างของล้อด้วย ความลึกของดอกยางนั้น ทางทฤษฎีแล้ว หากดอกยางเหลือเพียงครึ่งเดียว ความเร็วจะต้องลดลงจากเดิมประมาณ 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (เทียบกับดอกยางเต็มๆ)
4.ล้อรถยนต์
หากเป็นล้อรถยนต์ที่มีหน้ากว้าง และยาวกว่า(รัศมีมากกว่า) โอกาสเกิดอาการเหินน้ำจะยิ่งน้อยกว่า
5.ลักษณะของพื้นผิวถนน
หากเป็นพื้นคอนกรีตแล้ว โอกาสเกิดเหตุการณ์จะยิ่งง่ายกว่า ถนนที่มียางมะตอยราด เพราะยังมีร่องน้ำ ตามรูของพื้นผิวถนน นอกจากนี้ยังมีความชัน และความเอียงของพื้นผิวถนนที่เป็นปัจจัยเล็กน้อยอีกด้วย[ads]
วิธีลดความเสี่ยง
1. ขับรถให้ช้าลง เมื่อเห็นถนนเปียก หรือขณะที่ฝนกำลังตก
2. ขับรถตามรถคันข้างหน้า เพราะคุณจะสามารถรู้ได้ทันทีว่ามีแอ่งน้ำที่จะทำให้เกิดอาการเหินน้ำหรือไม่ โดยต้องไม่ลืมที่จะเว้นระยะห่างไว้ระยะหนึ่งด้วย เผื่อว่ารถคันหน้าเสียการควบคุม คุณจะได้แก้ไขสถานการณ์ได้ทัน
3. ควรขับรถอยู่ในเลนกลาง เพราะแอ่งน้ำขังส่วนใหญ่มักจะอยู่เลนนอก
4. ตรวจสอบให้แน่ใจว่ายางรถยนต์มีดอกยางที่อยู่ในสภาพดี อีกทั้งควรเติมลมยางให้มีความเหมาะสมกับรถ เพราะถ้าหากยางอ่อนเกินไปจะทำให้เกิดอาการเหินน้ำได้ง่ายขึ้น
5. อย่าเบรกขณะที่อยู่ในโค้ง แต่ควรเบรกก่อนที่จะเข้าโค้ง
advertisement
6. อย่าขับรถไปในที่ที่มีแอ่งน้ำ เพราะจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดอาการเหินน้ำสูงยิ่งขึ้นไปอีก
7.ให้คุณจับพวงมาลัยรถยนต์ให้แน่น และใช้เบรกเบา ๆ หากเกิดอาการเหินน้ำ
8.อย่าเหยียบคันเร่ง ถ้าพวงมาลัยรู้สึกเบา ๆ และปล่อยให้รถชะลอตัวไป และห้ามเหยียบเบรกกะทันหัน
9.อย่าเหยียบเบรกหรือหักพวงมาลัยหนี หากเกิดอาการเหินน้ำ แต่ให้จับพวงมาลัยให้แน่นและค่อย ๆ แตะเบรก คุณอาจจะรู้สึกสั่นสะเทือนที่เท้าเมื่อแตะเบรก แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ตราบใดที่คุณยังค่อย ๆ แตะเบรก
การขับรถยนต์นอกจากจะต้องเคารพกฎจราจร มีความชำนาญในการขับ การขับรถอย่างมีสติก็เป็นเรื่องที่สำคัญ นอกจากจะช่วยไม่เกิดอาการเหินน้ำที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุแล้วยังสามรถลดอุบัติเหตุในท้องถนนได้ ทางที่ดีก่อนที่จะใช้รถควรมีการตรวจเช็คอยู่เสมอด้วยนะคะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com