อาการไอของลูกน้อย ..ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้!!
advertisement
อาการไอของเด็กๆ มักจะมาคู่กับอาการเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจ แล้วก็ไอบ่อยๆ มักมีน้ำมูกและเสมหะมาควบคู่กับการไออีกด้วย เพราะเด็กเล็กยังมีภูมิต้านทานต่ำจึงทำให้ป่วยได้บ่อยๆ สร้างความกังวลใจให้แก่คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างยิ่ง การเข้าใจถึงสาเหตุว่าทำไมลูกไอ จะทำให้หาทางรักษาและบรรเทาอาการได้ง่ายขึ้นค่ะ
1) ไอจากไข้หวัด
เมื่อลูกน้อยเป็นหวัดจากการติดเชื้อไวรัสในอากาศ อาจทำให้ลูกมีไข้ น้ำมูกไหล กระตุ้นให้เกิดอาการไอ ระคายคอได้ ส่วนใหญ่เมื่ออาการหวัดของลูกหายไป (ภายใน 2-3 สัปดาห์) อาการไอก็จะหายไปด้วย
[ads]
2) ไอมีเสมหะ
มักมีอาการอักเสบที่คอร่วมด้วย ยิ่งคออักเสบมากก็ยิ่งกระตุ้นให้ไอได้ง่าย คุณแม่ควรสังเกตลักษณะเสมหะ โดยเสมหะมีสีเหลืองเขียวเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบเป็นไซนัสเสมหะจะใส หรือหากมีสีขาวขุ่นอาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
3) ไอแห้ง ๆ
มักเกิดในช่วงหน้าหนาว อากาศหนาวแห้งเกิดอาการระคายเคืองในหลอดลมจมูก ร่างกายต้องปรับตัวให้เลือดมาเลี้ยงที่เยื่อบุจมูกมากขึ้น ทำให้เยื่อบุจมูกบวม เกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเล็กน้อย รู้สึกระคายคอ ไอแห้งๆ และอาจมีเสียงแหบ
4) ไอเรื้อรัง
อาการไอนานกว่า 3 สัปดาห์ ในลักษณะการไอจะไอติดต่อเป็นชุดๆ อาจเกิดเพราะโรคหอบหืด และอาจเกิดจากหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น ถือเป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือสิ่งกระตุ้น เช่น กลิ่นฉุน ควันต่างๆ ก็จะกระตุ้นให้เกิดการไอได้
5) ไอระคายคอ
การร้องเสียงดังๆ ส่งเสียงตะโกน ก็จะทำให้ระคายคอและไอได้ง่ายๆ
[yengo]
การดูแลบรรเทาอาการไอของลูกน้อย
– ถ้าลูกมีอาการไอ คุณควรป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายโดยการให้ลูกล้างมือด้วยน้ำสบู่ให้สะอาดบ่อยๆ ปิดปากเวลาไอ และใส่ผ้าปิดปาก
– ดื่มน้ำบ่อยๆ โดยดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น จะช่วยให้ชุ่มคอ หรือเป็นน้ำมะนาวผสมกับน้ำผึ้ง ให้ลูกดื่มจิบบ่อยๆ ก็ช่วยบรรเทาลดอาการไอได้ดี
– เลี่ยงสถานที่มีคนพลุกพล่านรวมถึงที่ที่มีมลพิษ เช่น ฝุ่น ควันพิษจากท่อไอเสีย เพราะมีโอกาสที่จะรับเชื้อโรค หรือกระตุ้นให้เกิดอาการไอได้ง่ายยิ่งขึ้น
– งดอาหารประเภทของทอดของมัน หรือของเย็น น้ำแข็งหรือน้ำเย็น
– หากลูกอยู่ห้องแอร์ ก็ควรสวมใส่เสื้อผ้า หรือใช้ผ้าห่มให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ถ้าเปิดพัดลมควรให้ส่ายไปมา เพื่อไม่ให้อากาศเย็นเกินไป และการปะทะของลม จะยิ่งกระตุ้นให้หลอดลมหดตัวทำให้มีอาการไอมากขึ้น
เมื่อลูกไอ คุณพ่อคุณแม่อย่าได้นิ่งนอนใจนะคะ ควรสังเกตอาการและพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียด เพราะอาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อ อาจส่งผลทำให้หลอดลมหรือปอดอักเสบได้ ระวังไม่ควรซื้อยาให้ลูกทานด้วยตนเอง และอย่าลืมนำวิธีการดูแลบรรเทาอาการไอของลูกน้อยไปใช้ด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com