การเลือกอาหารถวายพระสงฆ์ อะไรควรอะไรไม่ควร
advertisement
1. เลือกเครื่องดื่มไม่ผสมน้ำตาล น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มไม่ผสมน้ำตาลดีที่สุด เพราะน้ำตาลในเครื่องดื่มไม่ช่วยให้เกิดความอิ่ม และจะทำให้อ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรค หากต้องการรสหวาน ให้เลือกเครื่องดื่มสูตรน้ำตาลเทียม
2. เลือกนมจืดไขมันต่ำ หรือสูตรไร้ไขมันเพื่อลดปริมาณไขมันที่พระสงฆ์จะบริโภค เลือกถวายโยเกิร์ตแบบเป็นถ้วยรสธรรมชาติ เลี่ยงการถวายโยเกิร์ตชนิดดื่ม เพราะมีน้ำตาลสูง[ads]
3. เลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาว เพราะข้าวกล้องผ่านการขัดสีน้อยกว่า มีกากใยมากกว่า ช่วยให้อิ่มนาน ช่วยระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดี และช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลเข้ากระแสเลือดช้าลง เสี่ยงเบาหวานน้อยลง
4. เลือกแกงไม่ใส่กะทิ เช่น แกงจืด แกงส้ม แกงเลียง แกงป่า แทนแกงกะทิ หรือหากต้องการแกงกะทิจริงๆ ให้ใช้นมหรือกะทิธัญพืช
5. เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ทอด ลอกหนังออกด้วยจะยิ่งดี ปรุงด้วยวิธีนึ่ง ย่าง ต้ม ปิ้ง อบ ผัดน้ำมันน้อย แทนการทอด
6. เลือกผักสด เลี่ยงผัดผัก ผักทอด เลือกถวายเมนูผักที่ไม่ผ่านการทอดหรือผัดด้วยน้ำมันปริมาณมาก เช่น ผักและน้ำพริก ผักและหลน หรือหากเป็นผัดผัก ให้เลือกที่ผัดใช้น้ำมันน้อย
7. เลือกผลไม้สด แทนน้ำผลไม้ ผลไม้แปรรูป ผลไม้สดมีประโยชน์มากกว่าน้ำผลไม้เพราะมีกากใยมากกว่า ช่วยให้อิ่มท้องนานกว่า ดีต่อระบบขับถ่ายมากกว่า หลีกเลี่ยงผลไม้แปรรูป เช่น ผลไม้หมักดองเพราะมีปริมาณโซเดียมสูง ส่งผลเสียต่อระดับ ความดันโลหิต หรือผลไม้อบแห้งเพราะมักมีปริมาณน้ำตาลสูง ส่งผลให้น้ำหนักเกิน
8. เลือกขนมน้ำเชื่อมแทนขนมน้ำกะทิ เลือกไอศกรีมผลไม้แทนไอศกรีมไขมันสูง หากต้องการถวายขนม เลือกขนมที่มีส่วนผสมของกะทิและน้ำตาลให้น้อยที่สุด หากต้องการถวายไอศกรีมเพื่อความเย็นสดชื่น เลือกไอศกรีมประเภทไร้ไขมันหรือไขมันต่ำ [ads]
9. เลี่ยงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่มีไขมันและโซเดียมสูงมาก ตัวเส้นบะหมี่ผ่านกระบวนการทอดมาก่อนบรรจุในซอง และเครื่องปรุงรสมีปริมาณโซเดียมสูงมาก เป็นอันตรายต่อทั้งหลอดเลือด ความดันโลหิต ไต และอื่น ๆ อีกมากมาย
ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิหมอชาวบ้าน