อาหารบำบัดโรคตับอักเสบ
advertisement
ผู้ป่วยตับอักเสบอันเกิดจากเชื้อไวรัส พื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้เซลล์ของตับฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ถ้าให้อาหารที่เพียงพอและเหมาะสม ดังนี้
พลังงาน ระยะนอนพักผ่อนก็ต้องให้พลังงานมากเพียงพอ แม้ลุกจากเตียงได้แต่มิได้ออกแรงเหมือนปกติ มักจะให้ พลังงาน 2,500-3,000 กิโลแคลอรี่/วัน ให้เพียงพอกับความต้องการใช้พลังงาน เพื่อการซ่อมแซม ฟื้นฟูเนื้อเยื่อชดเชยกับการเผาผลาญที่สูงขึ้นในระยะมีไข้ ให้ผู้ป่วยฟื้นตัว มีกำลังและสุขภาพดี[ads]
advertisement
คาร์โบไฮเดรต ต้องได้รับเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสร้างและสะสม ไกลโคเจนในตับและเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอ จะช่วยป้องกันมิให้โปรตีนถูกนำมาสลายตัวเพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานแทน จึงควรให้มีคาร์โบไฮเดรต 50-55% ของพลังงานที่ได้รับ หรือวันละประมาณ 300-400 กรัม
ไขมัน ให้ได้รับปานกลาง (ไม่มากเกินไป) จะช่วยให้อาหารมีลักษณะ รสชาติดี ชวนรับประทาน ควรให้ไขมัน 25-40% ของพลังงานที่ได้รับจากอาหาร หรือวันละประมาณ 80-100 กรัม
วิตามิน เสริมทั้งวิตามินที่ละลายในไขมัน และละลายในน้ำของเหลวหรือปริมาณน้ำ ควรให้วันละ 3,000 ซี.ซี. จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นไม่กระหาย และอาจจะมีความอยากอาหารมากขึ้น[ads]
advertisement
การจัดอาหาร
การจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยตับอักเสบต้องจัดอาหารที่ให้สารอาหารมากทุกอย่างในขณะที่ผู้ป่วยเบื่ออาหาร อาจช่วยได้โดยให้อาหารเหลว ในระยะแรกที่มีคุณค่ามาก (ทำด้วยนม ไข่ น้ำตาล ไอศกรีม ฯลฯ) ผสมกันให้ดื่มบ่อยๆ
ระยะต่อมาเมื่อผู้ป่วยดีขึ้น รับประทานอาหารธรรมดาได้จึงให้อาหารธรรมดาที่มีคุณค่าครบถ้วน เลือกจัดอาหารที่ผู้ป่วยชอบ จัดให้น่าดู ปรุงให้รสชาติดี ผู้ดูแลผู้ป่วยควรให้ความสนใจ และพยายามที่จะให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการเพราะอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากโรคและเป็นปกติได้เร็วที่สุด
ข้อควรระวัง
โรคนี้เป็นโรคติดต่อ ภาชนะและอุปกรณ์ ในการกินของผู้ป่วยต้องแยกต่างหาก เมื่อหายแล้วต้องฆ่าเชื้อเครื่องใช้ในการกินทั้งหมด (ต้มในน้ำให้เดือดสักครู่)
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thaihealth.or.th โดย gidanan ganghair , ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข