อาหารแลกเปลี่ยน ดีต่อสุขภาพ
advertisement
รู้หรือไม่?? ขนมปัง 1 แผ่น ให้พลังงานเท่ากับ ข้าวซ้อมมือ 1 ทัพพี และเส้นบะหมี่ลวก ½ ถ้วยตวง ซึ่งทั้งหมดนี้ให้พลังงานที่ 80 แคลอรี่เท่ากัน แสดงให้เห็นว่า การเลือกกินอาหารแต่ละอย่างควรตระหนักถึงพลังงานที่ได้รับ แม้ว่าขนมปังเป็นของที่กินง่ายในมื้ออาหารเช้าก็จริง แต่พลังงานที่ร่างกายได้รับเข้าไป ก็เท่ากับข้าว 1 ทัพพีเลยทีเดียว
ในแง่มุมด้านโภชนาการ การเลือกกินอาหารนับเป็นสิ่งสำคัญ พอๆ กับการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่ประกอบด้วยโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง ดังนั้น พลังงานของอาหารแต่ละอย่างที่เรากินเข้าไปนั้นจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักให้ตัวเราก่อนจะกินอาหารเหล่านั้นเข้าไป ปัจจุบันมีอาหารที่หน้าตาน่ากินมากมายทั้งของหวาน ของคาว ล่อตาล่อใจผู้บริโภคมาก ถ้าเรากินโดยขาดสติหรือขาดการไตร่ตรองแล้ว แน่นอนว่าพลังงานที่เข้าไปจะเป็นส่วนเกิน และนำมาสู่โรคอ้วนลงพุง โรคไขมันอุดตัน ฯลฯ
advertisement
ดีต่อใคร ดีอย่างไร
นักโภชนาการจากเพจเมื่อวานป้าทานอะไร ยังบอกอีกว่า อาหารแลกเปลี่ยนเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เนื่องจากอาหารที่เลือกกินนั้นจะสามารถจำกัดพลังงานได้ และผู้ป่วยสามารถกำหนดอาหารและพลังงานในแต่ละมื้อตามได้ง่าย เพื่อให้ได้ปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละวัน
สำหรับบุคคลทั่วไป ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) ตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ต้องกังวลในการคำนวณค่าพลังงานของอาหารมากนัก แต่สิ่งที่อยากบอกคือ ควรระวังและตระหนักในการเลือกกินอาหารแต่ละอย่างเข้าไปมากกว่า ถ้าอาหารชนิดนั้นมีความหนาแน่นของพลังงานค่อนข้างเยอะ หรือมีจำนวนพลังงานสูง ควรกินในปริมาณที่น้อยลง เพื่อไม่ให้พลังงานเข้าสู่ตัวเรามากขึ้น และเป็นการป้องกันการเกิดโรค NCDs ในอนาคต
สัดส่วนอาหารแลกเปลี่ยน
advertisement
advertisement
advertisement
กินอาหารกับการรักษามวลกล้ามเนื้อให้คงที่
รุ่งฉัตร อำนวย ให้คำแนะนำว่า เราไม่ควรอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่เราสามารถควบคุมพลังงานได้โดยใช้ความรู้จากอาหารแลกเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์ เพราะเมื่อเกิดภาวะอดอาหารร่างกายเราจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไป ถ้าอยากควบคุมน้ำหนักควรไปโฟกัสที่การออกกำลังกาย ควบคู่กับควบคุมสัดส่วนอาหารไปด้วยก็จะยิ่งช่วยให้มวลไขมันลดลง
เรื่องที่ควรรู้อีกอย่างคือ สิ่งที่ร่างกายจะนำมาสะสมเป็นไขมัน คือ น้ำตาลเชิงเดี่ยว (Simple Sugar) ที่พบในผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำตาลเมเปิ้ล น้ำตาลจากอ้อย นม ฟรักโทส กลูโคส ซูโครส และแล็กโทส ถ้าเราจะควบคุมมวลไขมันให้น้อยลง และสร้างกล้ามเนื้อ ก็ควรควบคุมน้ำตาลที่อยู่ในเครื่องดื่มต่างๆ
advertisement
การจะมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนนั้น รุ่งฉัตร บอกว่า ด้านจิตใจต้องมาก่อน และต้องยอมรับสุขภาพของเราบนพื้นฐานของความจริงให้ได้ ไม่หลอกตัวเองว่าน้ำหนักมาตรฐาน หรือสุขภาพดี โดยเช็คมาตรวัดมาตรฐานของร่างกาย ผ่านการตรวจร่างกายประจำปี จะทำให้เรารู้ว่าสุขภาพพื้นฐานเป็นอย่างไร มีโรคอะไรที่ต้องเผชิญ เพื่อจะได้ดูแลตัวเองและรักษาได้อย่างตรงจุด และการออกกำลังกาย โดยทำตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 วัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือทำกิจกรรมทางกาย คือการเคลื่อนไหวอะไรก็ได้ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยเด็ก อายุ 6-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายวันละ 60 นาที หรือ 420 นาที ต่อสัปดาห์ ผู้ใหญ่ อายุ 18-64 ปี ควรมีกิจกรรมทางกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ กิจกรรมระดับเหนื่อยมาก 75 นาที และผู้สูงอายุ ที่มีอายุเกินกว่า 64 ปี ควรมีกิจกรรมทางกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ควบคู่กับการฝึกการทรงตัว
สสส.สนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน โดยให้ความรู้ คำแนะนำ ผ่านผู้เชี่ยวชาญและโครงการต่างๆ ซึ่งสามารถติดตามได้ผ่านเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thaihealth.or.th โดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์