อุดฟันสีเทากับสีเหมือนฟัน แตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี?
advertisement
การอุดฟัน เป็นการรักษาฟันอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ฟันกลับมามีสภาพปกติและใช้งานในการบดเคี้ยวอาหารได้ ซึ่งการอุดฟันนั้นมีวัสดุในการอุดฟันให้เลือกตามความเหมาะสมที่ทันตแพทย์แนะนำว่าฟันของเราเหมาะกับวัสดุตัวไหน วันนี้ kaijeaw.com จึงจะพามารู้จักกับการอุดฟันสีเหมือนฟันกับสีเทากันค่ะ ว่ามีความแตกต่างอย่างไร แล้วควรเลือกแบบไหนค่ะ
อุดฟันสีเหมือนฟันกับสีเทา แตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี
วัสดุอุดฟัน จะมีอยู่ 2 แบบ
1 . วัสดุสีเหมือนฟัน ( composite resin) ทุกวันนี้ มีการพัฒนาจนนำมาใช้อุดฟันหลัง เพื่อรองรับการบดเคี้ยว แต่ความแข็งแรง ก็ยังไม่เท่าอมัลกัม ถึงแม้จะมีการพัฒนาเพื่อใช้ในการอุดฟันหลัง แต่ก็ยังมีการนำมาใช้ไม่นาน เท่าอมัลกัม และวิธีการอุดก็มีขั้นตอนมากกว่า รวมทั้งค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าอมัลกัมด้วยเช่นกัน แต่ในปัจจุบันผมก็พบว่ามีหลายคนนิยมการอุดด้วยวัสดุชนิดนี้มากขึ้น ซึ่งถ้าเราควบคุมความชื้นได้ดี ใช้ระบบสารยึดติดที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้วัสดุชนิดนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
advertisement
ข้อดี
-ไม่มีสารปรอท วัสดุอุดประเภทนี้ประกอบด้วยอคริลิก และผงแก้ว
-ดูแล้วเหมือนสีฟันธรรมชาติ สวยงาม
-สามารถใช้ฟันซี่นั้นได้เลยหลังอุดไม่ต้องรอ
-ทันตแพทย์ไม่ต้องกรอฟันออกมาก [ads]
ข้อเสีย
-ราคาสูงกว่า
-ใช้เวลาในการอุดนานกว่า
-สามารถติดสีจากอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภค เช่น ชา กาแฟ หรือจากการสูบบุหรี่
-ไม่เปลี่ยนสีขาวขึ้นเหมือนฟันธรรมชาติหากฟอกสีฟันขาว
-มีความแข็งแรงไม่เท่าวัสดุสีเงิน (แต่ก็แข็งแรงพอต่อการบดเคี้ยวอาหารในฟันหลัง)
-บริษัทประกันทันตกรรม บางครั้งก็ไม่ครอบคลุมวัสดุอุดประเภทนี้ในฟันหลัง
2 . วัสดุอุดฟันที่เห็นเป็นสีเงิน เรียกว่าอมัลกัม(Amalgam ) เป็นวัสดุที่ใช้กันมานาน และมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ถึงแม้สีจะเป็นสีเงิน แต่การอุดฟันกรามจะต้องใช้วัสดุที่แข็งแรง เพื่อรองรับแรงบดเคี้ยว วิธีการอุดก็ไม่ยุ่งยากเท่าวัสดุสีเหมือนฟัน
advertisement
ข้อดี
-แข็งแรง ทนต่อแรงบดเคี้ยวแรงๆได้ดี และวัสดุนี้มักจะเป็นวัสดุที่ใช้ในฟันหลัง (ฟันกรามน้อยและฟันกราม)
-ราคาไม่แพง ราคาถูกกว่าวัสดุอุดสีเดียวกับฟัน
บริษัทประกันทันตกรรม (Dental Insurance) มักจะครอบคลุมค่ารักษา
– แข็งแรงทนต่อแรงบดเคี้ยวได้ดีส่วนใหญ่จะใช้วัสดุนี้กับฟันหลัง [ads]
ข้อเสีย
– วัสดุนี้มีส่วนผสมของปรอทและโลหะอื่นๆที่อาจจะเป็นพิษต่อร่างกายแม้จะมีปริมาณน้อยมากๆก็ตาม (ถ้าจำๆได้ในสมัยเรียนเราจะได้โรคมินามาตะ) ส่วนหนึ่งก็เพราะวัสดุที่เป็นปรอท
– ทันตแพทย์ต้องกรอฟันออกมากกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุอุดสีเหมือนฟัน
– หลังอุดอาจจะมีอาการเสียวฟันเมื่อฟันถูกความร้อนหรือความเย็น
– หลังอุดต้องรอ 24 ชั่วโมงจึงจะเริ่มใช้ฟันซี่นั้นบดเคี้ยวอาหาร เพราะต้องรอให้วัสดุอุดแข็งตัวแบบสนิทก่อน
จะเห็นได้ว่าการอุดฟันทั้งสองแบบมีทั้งข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะอุดก็ควรศึกษาข้อมูลมาบ้างและฟังคำแนะนำจากหมอฟันด้วยนะคะ และมาพบหมอเพื่อตรวจสุขภาพอยู่เสมอด้วยนะคะ ทางที่ดีคือรักษาสุขภาพฟัน เพื่อสุขภาพฟันที่ดี ยิ้มได้อย่างมั่นใจค่ะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com