เขลง (หมากเค็ง) ยาดีใกล้ตัว เปี่ยมคุณค่า..ที่ถูกลืม!!
advertisement
เขลง หรือเรียกอีกอย่างว่า บักเค็ง นางดำ ลูกหยี หมากเค็ง เป็นผลไม้พื้นบ้านที่อยู่แทบภาคอีสานและภาคใต้ ปัจจุบันไม่ค่อยได้ยินชื่อผลไม้ชนิดนี้สักเท่าไหร่ เพราะใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง สูงมากถึง 15-30 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ด ใบรูปไข่ถึงรูปรี ขอบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ออกดอกเล็กสีขาวนวล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคลี่ เรียงสลับ ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง ดอกตูมรูปไข่ ผลเขลง รูปกลมรี มีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่ ผลสุกสีดำ ต้นไม้ชนิดนี้มักจะพบได้ในป่าตามชุมชนทั่วไป ชาวบ้านนิยมนำผลมาทาน และมีประโยชน์ดังนี้ค่ะ
advertisement
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อจากผล
สรรพคุณตามตำรายาไทย : นำผลมาต้มสุก รับประทานเป็นยาบำรุงไขข้อ แก้ไข้ร้อนใน
[ads]
advertisement
ประโยชน์ทั่วไป
– ผลสุกรับประทานได้ ปรุงเป็นขนมหวาน ส่วนผลอ่อนนำมาต้มรับประทานได้เลย
– ยอดอ่อนให้รสเปรี้ยวใช้ประกอบอาหาร
– เปลือกและแก่นย้อมสีให้สีน้ำตาลอมแดง และมีผู้ที่นำเปลือกนำมาต้มเคี่ยวใช้ทาแผลด้วย
– เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างทั่วไปได้ ลำต้นใช้ทำเขียง
ลูกเขลงหรือลูกหยี สามารถนำมาทำเป็นของรับประทานเล่นหรือมาทำเป็นขนมได้ เช่น ลูกหยีปั่นสด ลูกหยีกวน ลูกหยีฉาบ ลูกหยีเคลือบน้ำตาลแบบมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด ส่วนต่างๆ ของต้นเขลงยังนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ลูกดิบมาต้มเป็นน้ำดื่มแก้ไข้หวัดและอาการร้อนใน ใบที่มีรสเปรี้ยวใช้เป็นยาช่วยระบาย เปลือกเมื่อนำมาต้มแล้วเอาน้ำที่ต้มไปล้างแผลสามารถใช้เป็นยาช่วยสมานแผลได้ดีทีเดียว ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานจะมีรสชาติมันๆ ถ้าเป็นสีเขียวจะมีรสฝาดนิยมนำมาต้มกินกับเมล็ดอ่อนข้างใน
[ads]
advertisement
ปัจจุบันเขลงหรือลูกหยีนิยมนำมาแปรรูปรับประทาน ทุกวันนี้ทางภาคใต้ยังหาทานได้ง่าย แต่ในภาคอิสานยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก เพราะเป็นต้นไม้ที่หาพบได้ยาก ไม่นิยมปลูก ไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป อาจจะพบได้บ้างตามตลาดป่า ในพื้นที่ชนบท หากว่าใครที่มีโอกาสได้พบเห็นก็อาจจะลองนำมาทานดูกันได้นะคะ ผลไม้ป่ามีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรบำรุงไขข้อ แก้ไข้ร้อนใน ได้ค่ะ (ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลจากผู้รู้ด้วยนะคะ)
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com